DSpace Repository

การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรต่อการปฏิบัติการ ด้านการเงินในส่วนงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author วิภาดา เชื้อหมอ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร th
dc.date.accessioned 2022-06-15T09:09:57Z
dc.date.available 2022-06-15T09:09:57Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4426
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ.2562 th_TH
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการปฏิบัติการด้านการเงินในส่วนงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา และเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรสายคณาจารย์และสายสนับสนุนวิชาการ ที่มีต่อการปฏิบัติการด้านการเงินในส่วนงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการวิจัยสารวจข้อมูลเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรในส่วนงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 226 คน ได้แก่ คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร คณะพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา และคณะสาธารณสุขศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้รับบริการ เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 4 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม คือ .89 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการปฏิบัติการด้านการเงิน ในส่วนงาน ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมบุคลากรมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการด้านการเงินอยู่ในระดับค่อนข้างมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน ด้านระยะเวลา ด้านเอกสารการเบิกจ่าย ด้านข้อมูลทางการเงิน และด้านขั้นตอนการดาเนินงานอยู่ในลำดับสุดท้าย และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรสายคณาจารย์ และสายสนับสนุนวิชาการ ที่มีต่อการปฏิบัติงานด้านการเงิน ในส่วนงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่าบุคลากรสายคณาจารย์และสายสนับสนุนวิชาการมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานด้านการเงิน ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้ว พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือด้านเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน โดยบุคลากรประเภทคณาจารย์มีความคิดเห็นด้านเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินมากกว่าบุคลากรประเภทสนับสนุนวิชาการ ในเรื่องของเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก ให้คาชี้แจงข้อมูลการจ่ายเงินหรือเงินยืม และเจ้าหน้าที่พูดจาด้วยน้าเสียงที่ไพเราะ เอาใจใส่ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้คือ การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานและเอกสารแนะนำวิธีการปฏิบัติงาน การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสื่อสาร การให้ข้อมูล และพัฒนาระบบบริการการเงินต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความคิดเห็น th_TH
dc.title การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรต่อการปฏิบัติการ ด้านการเงินในส่วนงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative The Survey of Personnel’s Opinion on Finance Operation at Health Sciences Faculties, Burapha University en
dc.type Research th_TH
dc.author.email wipadaw@buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative This research was aimed at studying the opinions of personnel on finance operation at Health Sciences Faculties, Burapha University and a comparisons of the opinions of lecturer and academic support personnel. Survey research of quantitative and qualitative data were collected in the sample group of 226 personnel at Health Sciences Faculties; Faculty of Abhaibhubejhr Thai Traditional Medicine, Faculty of nursing, Faculty of Medicine, Faculty of Pharmaceutical Sciences, Faculty of Allied Health Sciences, Faculty of Sport Science and Faculty of Public Health. The instruments used in this study were a 4-rating scale questionnaires with a reliability coefficient of .89. Quantitative data were analyzed by descriptive statistical analysis program through SPSS for Windows. Qualitative data were analyzed by content analysis and objective summary of research results. The results indicated that the opinions of personnel on finance operation at Health Sciences Faculties, Burapha University were at the quite high level. All 5 aspects were found at the quite high level; the financial operations officer, time period, money disbursement documents, financial information and operational procedure. When comparing the opinions of lecturer and academic support personnel, they were not different. When considering each aspect, it was found that there are significant differences at the level of .05 in 1 aspects, which is the financial operations officer. In which the lecturer members have more opinions in terms of financial operations officer than academic support personnel in the matter of facilitating payment explanations or borrowing information and spoke in a voice tone beautiful and attentive. The research recommendations were to have work manual, Standard Operating Procedure (SOP). Technology should be used for communication, information and developing the finance service system. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account