Abstract:
การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริม และพัฒนาในการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กำหนดกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็น นิสิตที่กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีตั้งแต่รหัสนิสิต 59-61 ใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ในรูปแบบความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-Test ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ (Post hoc) ผลการวิจัยเป็นดังนี้
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.30 และเพศหญิง ร้อยละ 40.70 ส่วนใหญ่มีอายุ 21-30 ร้อยละ 49.41 มีสถานภาพสมรส โสด ร้อยละ 67.06 ยังไม่ได้ประกอบอาชีพ
ร้อยละ 31.76 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 58.82 และเลือกสาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม ร้อยละ 41.18 ปัจจัยเกี่ยวกับคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า นิสิต มีระดับการตัดสินใจของ ปัจจัยเกี่ยวกับคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยภาพรวมอยู่ในระดับการตัดสินใจมาก และเมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านอาจารย์ผู้สอน มีระดับการตัดสินใจ
มากที่สุด และด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน ด้านหลักสูตร ด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน ด้านการ
บริหารจัดการ มีระดับการตัดสินใจมาก ข้อมูลเกี่ยวกับการการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า นิสิต มีระดับการตัดสินใจของ ข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ สถานภาพการสมรส อาชีพ รายได้ ไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ คือ นิสิตที่เพศ อายุ สถานภาพการสมรส อาชีพ รายได้ต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ไม่แตกต่างกัน ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านอาจารย์ผู้สอน ปัจจัย ด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ คือ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านอาจารย์ผู้สอน ปัจจัยด้านอุปกรณ์
การเรียนการสอน ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับ
บัณฑิตศึกษาของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา แตกต่าง
กัน