DSpace Repository

การพัฒนาเภสัชภัณฑ์ต้นแบบนาโนอิมัลชั่นสเปรย์จากน้ำมัน Damascenone ในสารสกัดใบผักบุ้งทะเลส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการรักษาอาการแพ้ผื่นคันและพิษจากแมงกะพรุน

Show simple item record

dc.contributor.author ณัฎฐิณี ธีรกุลกิตติพงศ์
dc.contributor.author สุธาบดี ม่วงมี
dc.contributor.author สลิล ชั้นโรจน์
dc.contributor.author มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2022-06-15T08:01:33Z
dc.date.available 2022-06-15T08:01:33Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4420
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ เลขที่สัญญา 45.6/2563 th_TH
dc.description.abstract การเพิ่มประสิทธิภาพของสมุนไพรด้วยนาโนเทคโนโลยีในรูปของอนุภาคนาโนและระบบนำส่งทางผิวหนัง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการนำส่งสารสำคัญเข้าสู่ผิวหนังได้ลึกขึ้น ช่วยลดความเป็นพิษต่อเซลล์ ช่วยเพิ่มความคงตัวของสารสำคัญ และง่ายต่อการเตรียมสูตรตำรับทั้งในส่วนที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาน้ำมัน Damascenone และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอื่น ๆ ที่เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญจากใบผักบุ้งทะเล มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบนาโนอิมัลชันซึ่งทำให้สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น มีความคงตัวสูง เพื่อเพิ่มมูลค่าและนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ โดยการศึกษาวิธีการสกัดต่าง ๆ เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สารสกัดปริมาณสูงและมีฤทธิ์ทางชีวภาพสูง จากนั้นจึงวิเคราะห์ชนิดและปริมาณสารสำคัญในผักบุ้งทะเล เพื่อเลือกสารสกัดจากวิธีการสกัดที่ดีที่สุดในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ ทดสอบลักษณะทางกายภาพและลักษณะทางเคมีของต้นแบบผลิตภัณฑ์ จากการทดสอบพบว่า การสกัดใบผักบุ้งทะเลแห้งด้วยวิธีการพ่นฝอย (spray dry) ให้ปริมาณสารสกัดสูงที่สุด มีฤทธิ์ทางชีวภาพสูง ที่ความเข้มข้น 250 μg/ml สามารถลดปริมาณ NO radical ในเซลล์ Raw264.7 ได้ดี ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ Raw264.7 เซลล์ไตลิง (Vero cell) เซลล์ผิวหนังด้านนอก (Human Keratinocyte Cell Line, HaCaT cells) และเซลล์ไฟโบรบลาสผิวหนัง (Normal Human Dermal Fibroblast, NHDF) และมีสารสำคัญคือ ยูจีนอล (eugenol) (100.17±0.38 μg/mL) เควอซิทินทรีกลูโคไซด์ (Quercetin-3-glucoside) (54.09±0.94 μg/mL) และกรดควินิก (3,5-Di-O-caffeoylquinic acid) (28.61±1.39 μg/mL) ในปริมาณสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการลด NO จากกระบวนการอักเสบ นอกจากนั้นการสกัดเถาสดด้วยสารทำความเย็น R134a (ส่วนของน้ำมัน) ซึ่งให้สารสำคัญคือ ยูจีนอล (eugenol) (10.84±0.97 μg/mL) เควอซิทิน (Quercetin) (0.39±0.15 μg/mL) เควอซิทินทรีกลูโคไซด์ (Quercetin-3-glucoside) (7.57±0.40 μg/mL) เบต้า เดมาสึโนน (β-damascenone) (0.0448±0.1029 μg/mL) และกรดควินิก (3,5-Di-O-caffeoylquinic acid) (9.41±0.32 μg/mL) ซึ่งเบต้า เดมาสึโนนเป็นสารสำคัญในการแก้พิษแมงกะพรุน จึงได้นำสารสกัดจากสองวิธีการสกัดมาใช้ในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้ Tween60 เป็นสารลดแรงตึงผิว พบว่าสารสกัดใบผักบุ้งทะเลสามารถพัฒนาให้เกิดต้นแบบผลิตภัณฑ์อิมัลชั่น โดยมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ที่ประมาณ 4.55±0.06 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบเป็นของเหลวสีน้ำตาล มีความขุ่นเนื่องจากการลดปริมาณเอทานอล ซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดี มีความมันและข้นเล็กน้อย และมีกลิ่นหอมเล็กน้อย อนุภาคอิมัลชั่นมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ผลการศึกษานี้สามารถนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบไปพัฒนาต่อยอดในระดับอุตสาหกรรมต่อไปได้ th_TH
dc.description.sponsorship คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผักบุ้งทะเล th_TH
dc.subject แมงกะพรุน th_TH
dc.title การพัฒนาเภสัชภัณฑ์ต้นแบบนาโนอิมัลชั่นสเปรย์จากน้ำมัน Damascenone ในสารสกัดใบผักบุ้งทะเลส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการรักษาอาการแพ้ผื่นคันและพิษจากแมงกะพรุน th_TH
dc.title.alternative Development of Pharmaceutical nanoemulsion spray from Damascenone oil in Ipomoea pes-caprae (L.) R. Br. leaf extract to promotes local wisdom in the treatment of allergic dermatitis and jellyfish poisoning en
dc.type Research th_TH
dc.author.email nuttinee@go.buu.ac.th th_TH
dc.author.email suthabordee@buu.ac.th th_TH
dc.author.email salil@buu.ac.th th_TH
dc.author.email marutt@buu.ac.th th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative The application of nanotechnological methods for bioavailability enhancement of herbal or delivering vital substances into the deeper skin. Nanotechnology reduces cytotoxicity, increases stability of substances and easy way to prepare formulations in both soluble and insoluble. The aim of this study was to develop Damascenone oil and other bioactive substances of Ipomoea pes-caprae (L.) R. Br. in the form of nano-emulsion. Value-added is the additional features, high stability and contributes to the development of new technology and innovation. Various extraction methods are important to obtain effective bioactive compounds with high yield extraction and were analyzed types and content of the major substances in Ipomoea pes-caprae (L.) R. Br. Choosing the best extraction methods to develop new prototypes for commercialization and test the physical and chemical characteristics. The results show spray dry of leaves was the highest yield and high bioactive compound. The concentration of 250 μg/ml was able to reduce the NO radical content in Raw264.7 cells well. No toxicity to Raw264.7 cells, Vero cells, Human Keratinocyte Cell Line (HaCaT cells), and Normal Human Dermal Fibroblast (NHDF) and active substance was eugenol (100.17 ± 0.38 μg/ml) quercetin-3-glucoside (54.09 ± 0.94 μg/ml) and 3,5-Di-O-caffeoylquinic acid (28.61 ± 1.39 μg/ml). In addition, R134a extraction of fresh aerial parts (oil phase) was active substance eugenol (10.84 ± 0.97 μg/ml), quercetin (0.39 ± 0.15 μg/ml), quercetin-3-glucoside (7.57 ± 0.40 μg/ml), β-damascenone (0.0448 ± 0.1029 μg/ml) and 3,5-Di-O-caffeoylquinic acid (9.41 ± 0.32 μg/ml). The extracts of two extraction methods were used to develop the new prototype using Tween60 as a surfactant to create emulsion particles. Physical properties, pH of the product is approximately 4.55 ± 0.06, color is a brown turbid liquid because ethanol content was reduced due to Thailand Food and Drug Administration criteria. The product is well absorbed through the skin, slightly oily and vicosity, and slight fragrance. The dispersed particles are spread evenly throughout the prototype. The results of this study can be further developed into the prototype into the industrial-based study. en
dc.keyword สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account