dc.contributor.author | ศรสุภา ลิ้มเจริญ | |
dc.contributor.author | อลิสรา วงษ์สุทธิเลิศ | |
dc.contributor.author | ชื่นฤทัย ยี่เขียน | |
dc.contributor.author | ลลิตพรรณ นิมมานเกียรติกุล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ | th |
dc.date.accessioned | 2022-05-27T04:59:40Z | |
dc.date.available | 2022-05-27T04:59:40Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4398 | |
dc.description | งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เลขที่สัญญา ๑๒๑/๒๕๖๑ | th_TH |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: ชุดภาพรังสีช่องท้องมักถูกใช้เป็นอันดับแรกของการวินิจฉัยทางรังสีในผู้ป่วยภาวะปวดท้องเฉียบพลัน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาการใช้ชุดภาพรังสีช่องท้องในผู้ป่วยภาวะปวดท้องเฉียบพลันที่เหมาะสมในผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน วิธีศึกษา: ศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยผู้ใหญ่มีภาวะปวดท้องเฉียบพลันที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุที่ห้องฉุกเฉินที่มีการตรวจด้วยชุดภาพรังสีช่องท้องตั้งแต่ 1 กันยายน 2561 ถึง 31 ตุลาคม 2561 เก็บข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย ข้อบ่งชี้การส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้อง ผลการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้อง การตรวจต่อทางรังสีและผลตรวจ และการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย แบ่งข้อบ่งชี้การส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องเป็นเหมาะสมและไม่เหมาะสม เปรียบเทียบระหว่างการส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมด้วยโปรแกรม R และ SPSS ผลการศึกษา: มีการส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้อง 154 ราย เป็นผู้ชาย 57 ราย ผู้หญิง 97 ราย การส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่เหมาะสมคิดเป็น 33.8% สาเหตุส่วนใหญ่ของการส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่ไม่เหมาะสมคือ ปวดกระเพาะอาหาร ปวดเฉพาะที่ ตับอ่อนอักเสบ กระเพาะและลำไส้อักเสบ และไส้ติ่งอักเสบ ผลการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องเป็นบวก 17 ราย (11%) เป็นลบ 73 ราย (47%) และไม่แน่ชัด 64 ราย (42%) เปรียบเทียบระหว่างการส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ จำนวนผู้ป่วย ผลการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่เป็นลบ ผลการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่ไม่แน่ชัด และผลการตรวจต่อทางรังสีที่เป็นลบ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่จำนวนผู้ป่วยที่มีการตรวจต่อทางรังสี สาเหตุส่วนใหญ่ที่ไม่มีการส่งตรวจต่อทางรังสีคือ ลำไส้อุดตัน (6 ราย) และทางเดินอาหารรั่ว (3 ราย) ผู้ป่วยที่ผลการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องเป็นลบ 16.4% (12/73) และผู้ป่วยที่ผลการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องไม่แน่ชัด 17% (11/64) มีผลบวกในการส่งตรวจต่อทางรังสี สรุป: ชุดภาพรังสีช่องท้องมีบทบาทจำกัดในผู้ป่วยภาวะปวดท้องเฉียบพลันแต่มักถูกใช้เป็นอันดับแรกของการวินิจฉัยทางรังสี การตรวจอื่นๆที่แม่นยากว่าเป็นที่ต้องการไม่ว่าข้อบ่งชี้ในการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องจะเหมาะสมหรือไม่ การส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องทำให้การรักษาเนิ่นนานออกไป เพิ่มค่าใช้จ่าย และทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น สถาบัน ควรเน้นเรื่องส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องตามเกณฑ์ การอบรมให้ความรู้ และทวนสอบ | th_TH |
dc.description.sponsorship | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ภาวะปวดท้องเฉียบพลัน | th_TH |
dc.subject | ชุดภาพรังสีช่องท้อง | th_TH |
dc.title | การตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางช่องท้องชนิดที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุและประโยชน์ของชุดภาพรังสีช่องท้อง | th_TH |
dc.title.alternative | The appropriate use of conventional abdominal radiographs and its usefulness in non-traumatic acute abdomen patients | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | sornupha@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | alisara@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | jayeekian88@gmail.com | th_TH |
dc.author.email | maprangln@hotmail.com | th_TH |
dc.year | 2561 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Objective: Conventional abdominal radiographs (CAR) are often ordered in patients presented with acute abdominal pain. The purpose of this study was to investigate the appropriate use of CAR and its usefulness in the Emergency Department (ED). Patients&Methods: This study was approved by the institutional review board committee. Adult patients who had CAR ordered from ED between 1st September and 31st October 2018 were retrospectively reviewed. Patients' demographics, indications for CAR, CAR results, further imaging, and their results, and final diagnoses were assessed. The appropriate or inappropriate use of CAR was stratified. Comparison between the appropriate group and inappropriate group was made using R and SPSS programs. Results: There were 154 CAR studies, consisted of 57 males and 97 females, mean age 48.3 years (ranged 15-88 years). 33.8% of CAR was considered appropriate use. The five most common inappropriate indications were dyspepsia, localized pain, pancreatitis, gastroenteritis, and acute appendicitis. Of the 154 examinations, 17 (11%), 73(47%) and 64(42%) were reported positive, negative and non-diagnostic results by CAR respectively. Comparison between appropriate and inappropriate groups, number of cases (χ2 goodness of fits; χ21 = 16.234, P < 0.001), CAR negative results (χ2 goodness of fits; χ21 = 11.521, P = 0.001), CAR non-diagnostic result (χ2 goodness of fits; χ21 = 10.563, P = 0.002) and negative further imaging results (χ2 goodness of fits; χ21 = 6.400, P = 0.021) were significantly different. There was no statistical difference in a number of further imaging between both groups (p = 0.291). The common findings of positive results which had no further imaging were bowel obstruction (n=6), followed by bowel perforation (n=3). 12 out of 73 (16.4%) negative CAR results and 11 out of 64 (17%) of non-diagnostic results had positive findings from further imaging. Conclusion: CAR yields limited value in acute abdominal patients but it is still often ordered by a physician. More precise imaging is required whether appropriate indication or not. The use of CAR causes delayed management, added cost and radiation dose to the patient. Strict to the protocols, staff education and internal audit should be performed in the hospital. | en |
dc.keyword | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |