DSpace Repository

การพัฒนาระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรจังหวัดจันทบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ธารารัตน์ พวงสุวรรณ
dc.contributor.author ไพฑูรย์ ศรีนิล
dc.contributor.author สุมิตร คุณเจตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2022-05-24T08:45:38Z
dc.date.available 2022-05-24T08:45:38Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4385
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย เงินรายได้ส่วนงาน เงินกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.description.abstract ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตทางการเกษตร แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อความผันแปรของปริมาณน้ำที่ใช้ในภาคการเกษตรในหลายพื้นที่ของประเทศไทย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสำรวจ รวบรวมข้อมูลแหล่งน้ำจำนวน 22 แหล่งน้ำในจังหวัดจันทบุรี โดยทำการเก็บข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลแหล่งน้ำภาคสนาม จำนวน 2 ครั้งในแต่ละแหล่งน้ำ คือ ครั้งที่ 1 เป็นช่วงเวลาปลายฝน(ส.ค.-ธ.ค.) และครั้งที่ 2 เป็นช่วงเวลาปลายแล้ง(ก.พ.-ก.ค.) ซึ่งข้อมูลที่เก็บประกอบไปด้วย ชื่อและที่ตั้งแหล่งน้ำ พื้นที่แหล่งน้ำ ความลึกเฉลี่ยของแหล่งน้ำ ปริมาตรน้ำของแหล่งน้ำและวันที่เก็บข้อมูล จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลแหล่งน้ำ พบว่า เมื่อพิจารณาปริมาตรของแหล่งน้ำ สามารถแบ่งออกเป็นแหล่งน้ำซึ่งมีปริมาตรน้ำมากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 แหล่ง แหล่งน้ำซึ่งมีปริมาตรน้ำอยู่ระหว่าง 1-100 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวน 6 แหล่ง และแหล่งน้ำซึ่งมีปริมาตรน้ำน้อยกว่า 1 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวน 14 แหล่ง จากการเก็บข้อมูลความลึกของแหล่งน้ำใน 2 ช่วงเวลา ทำให้พบความแตกต่างของระดับความลึกของน้ำ โดยช่วงปลายฝนจะมีแหล่งน้ำที่มีค่าเฉลี่ยความลึกในช่วง 2.29-56.66 เมตร และช่วงปลายแล้งจะมีแหล่งน้ำที่มีค่าเฉลี่ยความลึกอยู่ในช่วง 1.05-35 เมตร ซึ่งทำให้เห็นว่า ปริมาตรน้ำมีค่าลดลงในช่วงปลายแล้ง โดยเฉพาะแหล่งน้ำขนาดใหญ่จะมีปริมาตรลดลงเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ แหล่งน้ำขนาดเล็กจะมีปริมาตรน้ำไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก จากนั้นจะนำข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมดมาหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลน้ำกับภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งพบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรน้ำของแหล่งน้ำกับพื้นผิวน้ำที่สกัดได้จากภาพถ่ายดาวเทียม โดยข้อมูลที่เก็บรวมรวมได้ทั้งหมดจะถูกนำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลแหล่งน้ำและนำเสนอในรูปแบบระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศแบบออนไลน์ th_TH
dc.description.sponsorship คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ th_TH
dc.subject ทรัพยากรทางน้ำ th_TH
dc.title การพัฒนาระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรจังหวัดจันทบุรี th_TH
dc.title.alternative The Development of Water Resource Geographic Information System for Agriculture in Chanthaburi Province en
dc.type Research th_TH
dc.author.email thararat@buu.ac.th th_TH
dc.author.email phaitoon@buu.ac.th th_TH
dc.author.email skunjet@yahoo.com th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative Water is a major factor affecting the growth and agricultural productivity. However, as the current environmental and climate change affects the variation in the amount of water used in agriculture in many areas of Thailand. This research aims to focus on a survey of 22 water resources in Chanthaburi province by collecting satellite images and data on field water resources 2 times for each water resource, the first being the late rainy season(Aug-Dec) and the second time is the drought period (Feb-Jul), which consists of name and location of the water resource, water area, average water depth, water volume and date of data collection. The information of surveyed and collected water resources found that when considering the volume of the water resource, it can be divided into two water resources with a volume of more than 100 million cubic meters, six water resources with a volume of 1-100 million cubic meters, and 14 water resources with a volume less than 1 million cubic meters. From collecting water depth data over two time periods, differences in water depth were found. At the end of the rain, there will be a water resource with a mean depth in the range of 2.29-56.66 meters and at the end of the drought there will be a water resource with a mean depth in the range of 1.05-35 meters. It showed that water volume decreased during the dry season. In particular, large water resources have a nearly 50 percent decrease in volume, while smaller water resources won't change much. All the collected data were then used to find the relationship between the water data and the satellite images, which found the relationship between the water volume of the water resource and the water surface extracted from the satellite images. All the collected data will be compiled into a water resource database and presented in an online geographic information system. en
dc.keyword สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account