DSpace Repository

แนวทางในการพัฒนาระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ขวัญตา เบ็ญจะขันธ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-23T03:53:46Z
dc.date.available 2022-05-23T03:53:46Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4378
dc.description สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2563 th_TH
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง เรื่อง แนวทางในการพัฒนาระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ ประการที่หนึ่งเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี ประการที่สอง เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี และประการที่สาม เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประกอบไปด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งการศึกษาเชิงปริมาณเป็นการแจกแบบสอบถามโดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงใน 5 เขตอำเภอ 8 เขตเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 390 คน และการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานกองคลังและกองสวัสดิการสังคมของเทศบาลตำบล จำนวนทั้งหมด 16 คน ผลการศึกษา พบว่า ในด้านข้อมูลเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของประชาชนผู้สูงอายุเกี่ยวกับระบบ การจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือ ด้านการลงทะเบียน รองลงมาคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการจ่ายเบี้ยยังชีพ ตามลำดับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ด้านการประชาสัมพันธ์ พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาและอุปสรรคในการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากเทศบาลมีการใช้ช่องทางในการสื่อสารที่หลากหลายช่องทาง เช่น เสียงตามสายของชุมชน กลุ่มไลน์แอพลิเคชั่นของชุมชนหรือท้องถิ่น เว็บไซต์ ส่งไปรษณีย์ สื่อออนไลน์ และ มีการสื่อสารผ่านผู้นำชุมชน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพด้านการลงทะเบียน พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาและอุปสรรคในการลงทะเบียน เนื่องจากปัจจุบันมีการลงทะเบียนแบบออนไลน์ ส่วนกลางดำเนินการรวบรวมข้อมูลให้ ทำให้ง่ายและคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในบางกรณีมีการพบปัญหาในการรวบรวมข้อมูลลงทะเบียน กล่าวคือ ปัญหาการยื่นลงทะเบียนช่วงปีงบประมาณ บัตรสมาร์ทการ์ดมีข้อมูลแต่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรืออ่านบัตรอ่านไม่ได้ ปัญหาการย้ายของประชาชนย้ายภูมิลำเนา รวมถึงปัญหาไม่แจ้งความจริงให้กับเจ้าหน้าที่ทราบ ทาให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจสอบ และปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ พบว่า การจ่ายเงินส่วนใหญ่โอนเข้าบัญชีธนาคารทั้งหมด ทำให้ไม่มีปัญหาในการจ่ายเงิน แต่อาจมีบางกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ การจ่ายเงินที่การปรับเปลี่ยนทำให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกิดความสับสนข้อมูล แนวทางในการพัฒนาระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี ผลการศึกษา พบว่า 1) ให้มีการอัพเดตข้อมูลให้ครบถ้วนในกรณีการจัดเก็บข้อมูลของรัฐบาล หรือ Big DATA เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 2) จัดฝึกอบรมให้ความรู้เพื่อทำความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทราบเกี่ยวกับข้อบังคับ กฎระเบียบ หรือแนวทางรูปแบบกิจกรรมที่รัฐมีการปรับเปลี่ยน หรือเงื่อนไข ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง3) รัฐบาลควรประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงและหลากหลาย เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวและรับรู้ถึงข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาสิทธิ์ของตนเอง 4) ให้มีการปรับการจ่ายเงินเป็นเฉลี่ยในอัตราเดียวเท่า ๆ กัน เพื่อลดความล่าช้าหรือลดการตรวจสอบช่วงอายุของผู้สูงอายุของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน (ยกเลิกการจ่ายแบบขั้นบันได) 5) ให้ส่วนกลางรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบ หรือมีเว็บไซต์เป็นข้อมูลในการตรวจสอบ เช่น การผ่านการเกณฑ์ทหาร การรับบำเหน็จบำนาญให้ครอบคลุม เพื่อไม่ให้เกิดการเรียกคืนเงิน 6) ผู้สูงอายุควรมีบัตรเฉพาะและผูกกับบัญชีธนาคาร หรือการมีบัตรเฉพาะที่มีการคีย์ข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการ 7) ให้มีระบบจัดการโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียน โดยให้ได้รับสิทธิ์ตามอายุ 60 ปีบริบูรณ์ 8) จัดทำ one stop service เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นการลดต้นทุนในการเดินทางติดต่อหน่วยงานของรัฐ ทั้งเรื่องของเวลา ค่าใช้จ่ายของประชาชนผู้สูงอายุ และ 9) รัฐควรให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวางและอิสระได้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลแต่ละโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล th_TH
dc.description.sponsorship คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น th_TH
dc.title แนวทางในการพัฒนาระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Guidelines for the development of the elderly allowance payment system in the area of local administrative organization of Chonburi en
dc.type Research th_TH
dc.author.email khwanta_khwan@hotmail.com th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative This study is entitled “guidelines for the development of the elderly allowance payment system in the area of local administrative organization of Chonburi”. The objectives were 1) to study opinions about the payment system of elderly subsistence allowance in local administrative organization areas in Chonburi province, 2) to study problems and obstacles in implementing the payment of elderly subsistence allowance of operation officers in local administrative organization areas in Chonburi province and 3) to study a guideline in developing the payment system of elderly subsistence allowance in local administrative organization areas in Chonburi province. The study was conducted using a mixed method comprising quantitative research and qualitative research approaches. A questionnaire was used in the quantitative research. The sample was 390 female and male elderly from 5 districts and 8 sub-district municipalities in Chonburi province. The qualitative research was conducted using an in-depth interview with 16 officers from Division of Finance and Division of Social Welfare of the sub-district municipalities. The study results showed that overall opinions of the elderly about the payment system of elderly subsistence allowance in local administrative organization areas of Chonburi province were at a high level. Consideration of each aspect from the highest to lowest levels found that registration was the highest, followed by public relations, and payment of elderly subsistence allowance respectively. With regard to problems and obstacles related to implementation elderly subsistence allowance payment with regard to public relations, it was found that most operation officers did not have problems and obstacles in public relations since the municipalities used various channels of communication such as community public address system, community or local LINE application group, website, sending post, online media, and communication through community leaders. In terms of problems and obstacles of the elderly subsistence allowance payment related to registration, it was found that most officers did not have problems and obstacles in registration since at the moment online registration is available and the data were collected by central administration, making the operation is more simple and flexible. However, problems in collecting registered data were found when registration was implemented during a fiscal year. Smart cards contained information but not correct as to fact or smart cards could not be read, problems related to population migration or people did not inform fact to officers, giving rise to a mistake in inspection. Problems and obstacles in implementing the payment of elderly subsistence allowance indicated that most payment was transferred to bank accounts but some problems may arise if they were associated with the principles. Suggestions from the study results are 1) data should be accurately updated, in case of Big DATA collected by the government, so that operation officers will be able to access the data easily, 2) knowledge training should be provided to enable operation officers to learn about rules, regulations or activity patterns or guidelines that are changed by the government including relevant conditions or information, 3) the government should practice public relations thoroughly and variously so that people will be alert and perceive what they should do to protect their rights, 4) the payment should be adjusted to be paid under the same rate in order to reduce delay or checking of age ranges of the elderly by operation officers ( the payment with a sliding scale should be cancelled), 5) the central administration should collect data accurately and completely or have websites as information for checking; for example, military status (conscripted), receiving pension so as to prevent refund request, 6) the elderly should have a specific card to bind to their bank accounts or a specific card that contains complete information for being easy in management, 7) an automatic management system should be available so that the elderly are not required to register when they are granted the rights to subsistence allowance as soon as they are 60 years old, 8) one stop service should be prepare to link information among relevant agencies so as to reduce travelling costs of the elderly when they need to make contact with government agencies as well as their time and expenses and 9) the government should allow people to access internet more widely and independently so as to promote information access of each project or the government policies. en
dc.keyword สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account