DSpace Repository

โครงการ พัฒนาการและการอนุบาลลูกกุ้งมดแดงเบื้องต้น

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริวรรณ ชูศรี
dc.contributor.author วิไลวรรณ พวงสันเทียะ
dc.contributor.author จารุนันท์ ประทุมยศ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2022-05-23T03:42:43Z
dc.date.available 2022-05-23T03:42:43Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4377
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2562 th_TH
dc.description.abstract กุ้งมดแดง (Dancing shrimp) เป็นกุ้งทะเลสวยงามขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม และมีรูปร่างลักษณะที่แปลกตา การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาพัฒนาการของลูกกุ้งมดแดงตั้งแต่แรกฟักจนถึงระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Metamorphosis) พบว่ากุ้งมดแดงใช้เวลาในการพัฒนาจากระยะซูเอียถึงระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 42 วัน มีพัฒนาการ 13 ระยะ คือ ระยะซูเอีย (Zoea) 12 ระยะ และระยะโพสลาร์วา (Postlarva) คือ ระยะซูเอีย 1 ส่วนของตายังติดอยู่กับส่วนหัว (2.18 ± 0.34 มม.) ระยะซูเอีย 2 เริ่มมีส่วนของก้านตา (2.53 ± 0.19 มม.) ระยะซูเอีย 3 แพนหาง (Uropod) แยกออกจากหางอย่างชัดเจน และมีการสร้างแพนหางด้านในขนาดเล็กขึ้น (3.07 ± 0.38 มม.) ระยะซูเอีย 4 เกิดแพนหางด้านใน (Endopod) ขึ้นซึ่งเห็นได้ชัดเจน (3.24 ± 0.63 มม.) ระยะซูเอีย 5 แพนหางด้านในและแพนหางด้านนอกยาวเท่ากับปลายหาง (4.12 ± 0.87 มม.) ระยะซูเอีย 6 หางแคบเล็กลง คล้ายสี่เหลี่ยม (4.86 ± 0.26 มม.) ระยะซูเอีย 7 เริ่มมีติ่งขาว่ายน้ำขนาดเล็ก (5.49 ± 0.58 มม.) ระยะซูเอีย 8 ขาว่ายน้ำพัฒนาชัดขึ้น (6.09 ± 0.44 มม.) ระยะซูเอีย 9 ส่วนของขาว่ายน้ำเริ่มมีการสร้างติ่งที่ 2 (8.29 ± 0.66 มม.) ระยะซูเอีย 10 ขาว่ายน้ายาวเรียวขึ้น (9.19 ± 0.37 มม.) ระยะซูเอีย 11 ขาว่ายน้ำมีการสร้างติ่งส่วนที่ 3 ขนาดเล็กขึ้น (10.03 ± 0.49 มม.) ระยะซูเอีย 12 เกิดขนอ่อนบริเวณแพนขาว่ายน้ำ (10.14 ± 0.27 มม.) ระยะโพสลาร์วา รูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย (11.72 ± 0.85 มม.) และทำการอนุบาลลูกกุ้งมดแดงเบื้องต้นด้วยโรติเฟอร์และอาร์ทีเมียเสริมด้วยแพลงก์ตอนพืชที่แตกต่างกัน 3 ชนิด คือ Chetoceros sp., Isochrysis sp. และ Tetraselmis sp. ต่ออัตรารอด การเจริญเติบโต และระยะเวลาในการพัฒนาการของลูกกุ้งมดแดง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ความหนาแน่นของลูกกุ้งมดแดง 3 ตัวต่อลิตร ผลการศึกษาพบว่าลูกกุ้งมดแดงที่อนุบาลด้วยแพลงก์ตอนพืชต่างชนิดกันไม่มีผลต่ออัตรารอด (p>0.05) คือ 46±8.8%, 56±8.8% และ 46±6.6% ตามลาดับ และการเจริญเติบโตด้านขนาดเมื่อสิ้นสุดการทดลอง (p>0.05) คือ 13.9±0.9 มม., 13.0±0.7 มม. และ 13.1±1.3 มม. ตามลำดับ พัฒนาการของลูกกุ้งมดแดงใช้เวลาในการลงเกาะเร็วที่สุดเมื่ออนุบาลด้วย Chetoceros sp. (อายุ 48 วัน) รองลงมาคือ Tetraselmis sp. (อายุ 62 วัน) และ Isochrysis sp. (อายุ 68 วัน) ตามลำดับ การเจริญเติบโตด้านขนาดของลูกกุ้งมดแดงเมื่อลงเกาะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) มีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 13.4±0.4 มม., 11.5±0.1 มม. และ 12.7±0.3 มม. ตามลำดับ เพื่อการอนุบาลลูกกุ้งมดแดงเบื้องต้นให้มีขนาด และพัฒนาการที่ดีควรอนุบาลลูกกุ้งมดแดงที่เสริมด้วย Chetoceros th_TH
dc.description.sponsorship สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ลูกกุ้งมดแดง th_TH
dc.subject กุ้ง - - การเพาะเลี้ยง th_TH
dc.subject กุ้ง - - การขยายพันธุ์ th_TH
dc.title โครงการ พัฒนาการและการอนุบาลลูกกุ้งมดแดงเบื้องต้น th_TH
dc.title.alternative Development and elementary nursing of Dancing shrimp, Rhynchocinetes durbanensis (Gordon, 1936) en
dc.type Research th_TH
dc.author.email siriwan@bims.buu.ac.th th_TH
dc.author.email wilaiwanp@buu.ac.th th_TH
dc.author.email jarunan@buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative Dancing shrimp (Rhynchocinetes durbanensis Gondon, 1936) is a small beautiful ornamental shrimp and it has a strange appearance. The objective of the present study was the development and growth of Camel Shrimp over hatching period of metamorphosis. The results showed that Camel shrimp larva developed from zoea stage to postlarva stage in 42 days. The larval development consisted of 12 zoea stages and 1 postlarva stage, first zoea : eyes compound with carapace (2.18 ± 0.34 mm.), second zoea : beginning with eyes stalked (2.53 ± 0.19 mm.), third zoea : uropod be explicitly separated from telson and from a small endopod (3.07 ± 0.38 mm.), fourth zoea : endopod well, obviously developed (3.24 ± 0.63 mm.) Fifth zoea : endopod and exopod were as long as the telson (4.12 ± 0.87 mm.), sixth zoea : telson slightly narrower and almost rectangular shaped (4.86 ± 0.26 mm.), seventh zoea : appeared as small pleopod (5.49 ± 0.58 mm.), eighth zoea : pleopods well, obviously developed (6.09±0.44 mm.), ninth zoea : biramous buds (8.29±0.66 mm.), tenth zoea : pleopods have elongated shape (9.19 ± 0.37 mm.), eleventh zoea : pleopod was a third small appendixinterna (10.03 ± 0.49 mm.), twelfth zoea : pleopods adorned with plumose setae (10.14 ± 0.27 mm.), postlarva stage : conformable into the juvenile (11.72 ± 0.85 mm.). And the present study was elementary nursing of Dancing shrimp with different phytoplankton 3 species, Chaetoceros sp., Isochrysis sp. and Tetraselmis sp. enriched in rotifers (Brachionus rotundiformis) and Artemia. Their effect on survival, growth and the period of development of Dancing shrimp. The experimental design was CRD (Completely Randomized Design). The density of 3 larvae per liter. The results showed that the survival rate of Dancing shrimp with different phytoplankton were no significant differences (p>0.05) 46±8.8%, 56±8.8% and 46±6.6% respectively and growth was no significant differences (p>0.05) 13.89±0.9 mm., 13.03±0.7 mm. and 13.11±1.3 mm. respectively. The development of Dancing shrimp took the fastest time to completing their metamorphosis should feeding with Chaetoceros sp. (48 days) followed by those fed Tetraselmis sp. (62 days) and Isochrysis sp. (68 days) respectively.Growth of Postlarva stage was significant differences between treatments (p>0.05) 13.44±0.4 mm., 11.54±0.1 mm. and 12.66±0.3 mm. respectively. Elementary en
dc.keyword สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account