DSpace Repository

การพัฒนาและทดสอบอุปกรณ์วัดองศาการเคลื่อนไหวข้อต่อ เพื่อคัดกรองและติดตามภาวะข้อติดด้วยตัวเอง

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์
dc.contributor.author สราวุธ เวชกิจ
dc.contributor.author นงนุช ล่วงพ้น
dc.contributor.author พรลักษณ์ แพเพชร์ เสือโต
dc.contributor.author ฉวีวรรณ ธงเจริญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-22T11:26:25Z
dc.date.available 2022-05-22T11:26:25Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4373
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมอุปกรณ์วัดองศาการเคลื่อนไหวข้อต่อเพื่อคัดกรองและติดตามภาวะข้อติดด้วยตัวเอง ที่มีลักษณะพิเศษคือผู้ใช้งานสามารถใช้ได้เอง ใช้ง่าย อ่านและแปลผลได้เองทันที สามารถบอกการเปลี่ยนแปลงองศาการเคลื่อนไหวเพื่อรายงานต่อผู้ให้การรักษาได้ และสามารถตรวจการเคลื่อนไหวข้อต่อรยางค์ทั้งบนและล่างได้ โดยสามารถตรวจองศาการเคลื่อนไหวทุกทิศทางหลักของข้อต่อเหล่านั้น โดยดำเนินการศึกษา ออกแบบ ประดิษฐ์ ทดสอบ และปรับปรุงการประดิษฐ์นวัตกรรม และทดสอบความเที่ยงตรงและความแม่นยำภายในและระหว่างผู้วัด (concurrent validity, intra-rater and interrater reliability) ในการวัด standardized angle โดยเปรียบเทียบกับ goniometer และ inclinometer ในนักวิจัยที่เป็นนักกายภาพบำบัด 3 คน และศึกษาความพึงพอใจของนักกายภาพบำบัดต่อการใช้งาน ผลการศึกษาพบว่า BUU ROM test kit: self-assess goniometry ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากการศึกษานี้ มีส่วนประกอบได้แก่ แผ่น calibrate ซึ่งมีส่วนยึดติดกับผู้ใช้ทางด้านหลัง แผ่นตรวจ/ แปลผลซึ่งมีสเกลองศาและแถบสีซึ่งสัมพันธ์กับค่าองศาการเคลื่อนไหวปกติของแต่ละทิศทางการเคลื่อนไหวของข้อต่อ โดยในชุดมี 4 แผ่นสำหรับตรวจ ข้อใหล่ ข้อศอก-ข้อมือ ข้อสะโพก ข้อเข่า-ข้อเท้า และแผ่นอ่านผลซึ่งมี weighted pendulum indicator ติดอยู่ ทั้ง 3 แผ่นเชื่อมกันที่จุดกึ่งกลางด้วยแกนหมุน (axis) ซึ่งสามารถปรับให้หลวมเมื่อตรวจและปรับให้แน่นเมื่อวัดองศาแล้วหรือจัดเก็บ ทำให้อุปกรณ์มีคุณสมบัติวัดองศาการเคลื่อนไหวข้อต่อได้โดยใช้สามารถใช้ได้เอง ใช้ง่าย อ่านและแปลผลได้เองทันทีจากภาพและแถบสี ด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) เลือกแผ่นตรวจ (2) ติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับร่างกาย (3) ตั้งค่า 0 เมื่ออยู่ในท่าเริ่มต้น และ (4) อ่านและแปลผลเมื่อเคลื่อนไหวสู่ท่าสุดท้าย อุปกรณ์สามารถบอกการเปลี่ยนแปลงองศาการเคลื่อนไหวจากสเกลองศาหรือสเกลแถบสีเพื่อรายงานต่อผู้ให้การรักษาได้ การทดสอบประสิทธิภาพในการวัด standardized angle พบ Intra-rater reliability ของผู้วัดทั้ง 3 คนมีค่า ICC=0.996-1.000 Inter-rater reliability ของการวัดทุกช่วงองศาการเคลื่อนไหวมีค่า ICC=0.994-0.999 concurrent validity ของการวัดทุกช่วงองศาการเคลื่อนไหวมีค่า ICC=0.997-1.000 เมื่อเทียบกับ universal goniometer และ inclinometer ค่า 95%CI of limit of agreement อยู่ในช่วง -4.535 ถึง 4.196 องศา ระดับความพึงพอใจต่อการใช้งานของนักกายภาพบำบัด 4.87/5 ดังนั้น BUU ROM test kit มี Intra-rater reliability และ Inter-rater reliability อยู่ในระดับสูงมาก มี concurrent validity ในระดับ reasonable validity โดยความคาดเคลื่อนเป็นระดับที่ยอมรับได้ทางคลินิก จึงสามารถนำมาใช้แทน universal goniometer หรือ inclinometer ในทางคลินิกเพื่อใช้คัดกรองและติดตามภาวะข้อต่อติดด้วยตัวเองได้ อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นข้อมูลในการใช้งานทางคลินิกควรมีการศึกษาปริมาณความคาดเคลื่อนที่เกิดจากปัจจัย patient-specific เพิ่มเติมต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject นวัตกรรมโกนิมิเตอร์ th_TH
dc.subject ข้อต่อ - - โรค th_TH
dc.subject กายภาพบำบัด th_TH
dc.subject การเคลื่อนไหว th_TH
dc.title การพัฒนาและทดสอบอุปกรณ์วัดองศาการเคลื่อนไหวข้อต่อ เพื่อคัดกรองและติดตามภาวะข้อติดด้วยตัวเอง th_TH
dc.title.alternative Development and Testing of Range of Motion Tool for Self-Screening and Monitoring of Joint Stiffness en
dc.type Research th_TH
dc.author.email siriratk@buu.ac.th th_TH
dc.author.email sarawoot.wat@mahidol.co.th th_TH
dc.author.email nongnuchl@buu.ac.th th_TH
dc.author.email bhornluck@buu.ac.th th_TH
dc.author.email mtikimmidea@hotmail.co.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study, design and invent innovative range of motion tool for self-screening and monitoring of joint stiffness (called BUU ROM test kit: self-assess goniometry) that has special characteristics, namely the user can be used by themselves, provide simple resulting report and automatically interpretation. The innovation can provide objective data for user and therapist. Additionally, it can be applied to assess all major movements of peripheral joint. Education, design, fabrication, testing and improvement of innovative inventions will be conducted. After that the test of accuracy and reliability was carried out. The concurrent validity of BUU ROM test kit was compared with universal goniometer and inclinometer which was performed to measure standardized angle. The intra-rater reliability and inter-rater reliability of 3 physical therapy researchers were examined. The satisfaction of physical therapists for using the BUU ROM test kit was studied. The result of this study showed that the BUU ROM test kit consisted of calibration plate with adjustable strap for connecting to user, examination/interpretation plate and result reading plate with weighted pendulum indicator. The set of examination/interpretation plate contained 4 sets: shoulder, elbow-wrist, hip and knee-ankle joint. Each examination/interpretation plate showed degree scale and color band corresponding to the normal degree of motion of each joint motion direction. At the center of all 3 plates were connected with adjustable axis. These composition of the invented BUU ROM test kit deliver user friendly which process of applications were 4 steps included (1) select evaluation plate, (2) connect the assessment tool to the user, (3) set zero for starting position and (4) reading the ROM result for final position. Therefore, the invention can be executed to monitor and report the progression of joint ROM. The intra-rater reliability and inter-rater reliability to assess standardized angle ranged from 0-180 degrees of the 3 physical therapy researchers showed excellent (ICC=0.996-1.000 and 0.994-0.999). The concurrent validity of the BUU ROM test kit when compared with goniometer and inclinometer presented excellent (ICC=0.997-1.000). The 95%CI of limit of agreement ranged from -4.535 to 4.196 degrees. The satisfaction of physical therapists for using the BUU ROM test kit was 4.87/5. It can be concluded that the BUU ROM test kit was reasonable validity and have the capacity to act as a substitute for a universal goniometer or inclinometer for self-screening and monitoring joint stiffness disorder. However, the research in participant should be further to measure that how the patient specific factor effect to measurement error. en
dc.keyword สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account