dc.contributor.author |
ชวนา อังคนุรักษ์พันธุ์ |
|
dc.contributor.author |
ณัฎฐกานต์ พฤกษ์สรนันทน์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-22T08:34:19Z |
|
dc.date.available |
2022-05-22T08:34:19Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4360 |
|
dc.description |
งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2562 คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.description.abstract |
งานวิจัย เรื่อง การประเมินหลักสูตรและวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการจัดการการโรงแรม คณะการจัดการและ การท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) และวิเคราะห์ต้นทุน การผลิตบัณฑิต ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินหลักสูตรด้านบริบท ประเด็นปรัญชา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร พบว่า นิสิตปัจจุบัน ศิษย์เก่า (บัณฑิต) และผู้ใช้บัณฑิต มีความเห็นโดยภาพรวมว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ประกอบกับในการพัฒนาหลักสูตร ได้นาความเห็นจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมวิเคราะห์ด้วย สำหรับประเด็นความต้องการของสังคม พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตให้ความสำคัญกับคุณลักษณะของบัณฑิตในด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ในระดับมากเป็นสองลำดับแรก ซึ่งสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และต่อสังคม มีวินัย ซื่อสัตย์ อดทน มีจิตบริการ มีภาวะผู้นำ สามารถทำงานเป็นทีม แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนผลิตบัณฑิตให้มีทักษะและสมรรถนะตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ (Demand Driven) ในระดับประเทศและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
2. ผลการประเมินหลักสูตรด้านปัจจัยเบื้องต้น ประเด็นโครงสร้างหลักสูตร พบว่า นิสิตปัจจุบัน และศิษย์เก่า (บัณฑิต) มีความเห็นว่า โครงสร้างและรายวิชาในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากโครงสร้าง จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร และระยะเวลาการศึกษา มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ โดยเฉพาะรายวิชาเฉพาะบังคับมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นวิชาเฉพาะเลือก วิชาประสบการณ์วิชาชีพ วิชาภาษาต่างประเทศเพื่อวิชาชีพ อาจเนื่องมากจากเป็นรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของผู้เรียน และเป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพโดยตรง นิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่า (บัณฑิต) จึงให้ความสำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งแตกต่างจากวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาแกนบริหารธุรกิจ ที่มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่า วิชาศึกษาทั่วไป เป็นความรู้ทั่วไปที่นิสิตสามารถศึกษาด้วยตนเองได้ ในขณะที่วิชาแกนบริหารธุรกิจ ส่วนใหญ่เน้นทักษะในการคำนวณที่ไม่ได้บูรณาการตัวอย่างในบริบทของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ นิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่า (บัณฑิต) มีความเห็นตรงกันว่า วิชาแกนบริหารธุรกิจ ควรปรับปรุงเนื้อหารายวิชา เพื่อให้สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยอาจรวมเนื้อหา หรือปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับธุรกิจท่องเที่ยวและบริการมากขึ้น ในขณะที่ผู้ใช้บัณฑิต ให้ความเห็นว่า วิชาคำนวณควรเน้นที่นำไปใช้ได้จริง โดยเฉพาะเพื่อให้ผู้ที่สนใจจะเป็นเจ้าของกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมในอนาคต
3. ผลการประเมินหลักสูตรด้านกระบวนการ ประเด็นด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า นิสิตปัจจุบัน และศิษย์เก่า (บัณฑิต) มีความเห็นว่ากระบวนการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก โดยผู้สอนมีการแจ้งให้ผู้เรียนทราบถึงวัตถุประสงค์การเรียนการสอนเป็นลำดับแรก ผู้สอนและผู้เรียนมีโอกาสซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอยู่เสมอ ผู้เรียนมีโอกาสค้นคว้าด้วยตนเอง ผู้สอนใช้อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม กิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับสาขาวิชา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ สามารถสร้างความชัดเจนในการเรียนการสอน และสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ อาจเนื่องมากจากผู้สอนมีความเข้าใจในหลักสูตรและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชา ประกอบกับผู้สอนมีประสบการณ์ตรง ทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น นิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่า เห็นตรงกันว่า กระบวนการสอนควรเน้นการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี อาจเนื่องมากจากการจัดการศึกษาในรูปแบบสหกิจศึกษา เน้นการปฏิบัติงานจริงซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีที่เรียน และการทำงานในอนาคตเน้นทักษะมากกว่า ดังนั้น ประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติจะเป็นสิ่งที่น่าจดจามากกว่าเรียนภาคทฤษฎี เช่นเดียวกับผู้ใช้บัณฑิต มีความเห็นว่า การปฏิบัติสหกิจศคึกษา 2 ครั้ง สามารถพัฒนาศักยภาพและความพร้อมในการทางานในอนาคตได้เป็นอย่างดี สาหรับประเด็นด้านการวัดและประเมินผล นิสิตปัจจุบันเห็นว่า สัดส่วนการให้คะแนน ควรเพิ่มในส่วนของคะแนนเก็บมากขึ้น และลดในส่วนของคะแนนสอบลง ทั้งนี้ อาจเนื่องมากจากวิชาของสาขาส่วนใหญ่มีการมอบหมายงาน และมีการฝึกปฏิบัติที่หลากหลาย ซึ่งสามารถวัดและประเมินผลได้เช่นกัน จึงอาจให้น้ำหนักในส่วนนี้เพิ่มขึ้นในการประเมินศักยภาพของผู้เรียนด้วย
4. ผลการประเมินหลักสูตรด้านผลผลิต ประเด็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ พบว่า ศิษย์เก่า (บัณฑิต) เห็นว่า ทักษะที่บัณฑิตได้รับจากเรียนหลักสูตรนี้ ได้แก่ การบริหารจัดการ และหลักการบริหารธุรกิจที่ดี ทักษะทางการบัญชี สถิติ และการคิดคำณวนเบื้องต้น ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบระเบียบ การปรับตัวและการวางตัวในการทางานร่วมกับผู้อื่น มีความกล้าแสดงออก การพูดการสื่อสาร ทัศนคติ มุมมองความเข้าใจในเรื่องงานบริการ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ การปฏิบัติงานในธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมและสายการบินจากการปฏิบัติสหกิจศึกษา การพลิกแพลงการทำงาน เพื่อเผชิญโลกแห่งความจริงในการทำงาน ซึ่งเป็นไปตามกับคุณลักษณะเฉพาะของบัณฑิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร ตามมาตรฐานการเรียนรู 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความรู้ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนั้น ผู้ใช้บัณฑิตยังมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานตามคุณลักษณะทั้ง 5 ด้านในระดับมากด้วย
5. ผลการวิเคราะห์ต้นทุนผลิตบัณฑิต สรุปได้ว่า ต้นทุนรวมของคณะการจัดการและ การท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา ในการจัดการเรียนการสอนนิสิต สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 คิดเป็นต้นทุนทั้งสิ้น 46,609,257.10 บาท โดยเป็นต้นทุนของสาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม จำนวน 11,353,765.50 บาท จำนวนนิสิตถัวเฉลี่ยของคณะการจัดการในช่วงเวลาเดียวกับปีงบประมาณ มีจำนวน 3,001 คน ในขณะที่จำนวนนิสิตถัวเฉลี่ยของสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ มีจำนวน 710 คน ดังนั้น ค่าใช้จ่ายสำหรับนิสิตสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ต่อหัวต่อปี คิดเป็นคนละ 16,002.49 บาท หรือ 8,001.24 บาท ต่อภาคเรียน และค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (4 ปี) ต่อหัว คิดเป็นคนละ 64,009.95 บาท ซึ่งสูงกว่าค่าใช้จ่ายสำหรับนิสิตต่อหัวของคณะร้อยละ 3 ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายของนิสิตต่อหัวของสาขา ไม่รวมค่าใช้จ่ายกิจกรรมสนับสนุนการเรียนการสอนบางส่วนที่นิสิตต้องรับผิดชอบเอง เช่น ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง เป็นต้น อย่างไรก็ตามต้นทุนต่อหัวที่คำนวณสามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดค่าเรียนเหมาจ่าย สำหรับการบริหารจัดการหลักสูตรได้อย่างเหมาะสมในอนาคต |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การประเมินหลักสูตร |
th_TH |
dc.subject |
ต้นทุนการผลิต |
th_TH |
dc.title |
การประเมินหลักสูตรและวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการจัดการการโรงแรม คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.title.alternative |
Curriculum Evaluation and Cost Analysis in Producing the Undergraduate Students: B.B.A. (Tourism & Hotel Management), Faculty of Management and Tourism, Burapha University |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
chavana@buu.ac.th |
th_TH |
dc.author.email |
thitimar@go.buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2563 |
th_TH |
dc.keyword |
สาขาการศึกษา |
th_TH |