DSpace Repository

อัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังและผลของการตัดกระดูกต้นขาทางด้านหน้าระหว่างระบบการอ้างอิงด้านหน้าและระบบการอ้างอิงด้านหลังในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

Show simple item record

dc.contributor.author ออมทรัพย์ พิกุลณี
dc.contributor.author ธนศักดิ์ ยะคำป้อ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-22T08:19:24Z
dc.date.available 2022-05-22T08:19:24Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4359
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 th_TH
dc.description.abstract บทนำและวัตถุประสงค์: การวัดขนาดของข้อเทียมส่วนประกอบกระดูกต้นขาและกำหนดจุดตัดกระดูก ระหว่างการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมี 2 ระบบคือระบบการอ้างอิงด้านหน้าและระบบการอ้างอิงด้านหลัง ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าอัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังหรือผลของการตัดกระดูกต้นขาทางด้านหน้าหลังการผ่าตัดในแต่ละระบบเป็นอย่างไร ผู้วิจัยต้องการศึกษาเปรียบเทียบผลของการผ่าตัดดังกล่าวในสองระบบ วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมชนิดทดแทนเอ็นไขว้หลัง จำนวน 331 คน (443 เข่า) ในรูปแบบย้อนหลัง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือระบบการอ้างอิงด้านหน้าและระบบ การอ้างอิงด้านหลัง ต่อมาทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบเลือกกลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 104 เข้า ศึกษา อัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังและผลของการตัดกระดูกต้นขาทางด้านหน้า จากนั้น ทำการเปรียบเทียบภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด ผลการศึกษา: การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งระบบการอ้างด้านหน้าและระบบการอ้างอิงด้านหลังมี อัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังก่อนและหลังผ่าตัดคือ 0.47 (SD 0.04) โดยอัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังหลังการผ่าตัดทั้งสองกลุ่มคือ 0.47 (SD 0.04) ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.43) และผลของการตัดกระดูกต้นขาทางด้านหน้าคือช่องระหว่างส่วนปลายปิด ด้านหน้าของข้อเทียมส่วนประกอบกระดูกต้นขากับกระดูกต้นขาส่วนหน้าพบในระบบการอ่างอิงด้านหน้า 24.04% และพบในระบบการอ้างอิงด้านหลัง 28.85% ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.43) และไม่พบรอยบากทางด้านหน้าของกระดูกต้นขาในทั้งสองกลุ่มตัวอย่าง สรุป: การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยใช้ระบบการอ้างอิงด้านหน้าหรือระบบการอ้างอิงด้านหลัง ทำให้ อัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังหลังการผ่าตัดไม่เปลี่ยนแปลงและไม่แตกต่างกัน รวมทั้งผลของการตัดกระดูกต้นขาทางด้านหน้าก็ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ th_TH
dc.description.sponsorship คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ข้อเข่าเทียม th_TH
dc.subject กระดูกโคนขา th_TH
dc.title อัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังและผลของการตัดกระดูกต้นขาทางด้านหน้าระหว่างระบบการอ้างอิงด้านหน้าและระบบการอ้างอิงด้านหลังในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม th_TH
dc.title.alternative Posterior Condylar Offset Ratio and Anterior Femoral Cut between Anterior and Posterior Referencing Systems in Total Knee Arthroplasty en
dc.type Research th_TH
dc.author.email aomsub@buu.ac.th th_TH
dc.author.email ThanasakMD@gmail.com th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative Background: The postoperative posterior condylar offset ratio (PCOR) and the anterior femoral cut (AFC) after total knee arthroplasty in anterior referencing system (ARS) and posterior referencing system (PRS) were controversy. This study was designed to compare the PCOR and the AFC in both referencing systems. Methods: The retrospective study was included 331 patients (443 knees) undergoing primary PS-TKA. The patients were divided in 2 groups according the referencing system. For the ARS 104 knees and the PRS 104 knees were selected by systematic sampling method. The preoperative PCOR, the postoperative PCOR and the AFC were measured and compared in each group and between groups. Results: The preoperative PCOR and postoperative PCOR in ARS and PRS were 0.47 (SD 0.04). The postoperative PCOR in ARS and PRS were not statistically significant difference (p=0.43). The gaps between tip of anterior flange of femoral component and anterior femoral cortex were in ARS 24.04% and in PRS 28.85%, no statistically significant difference (p=0.43). The anterior femoral notching was not found in both groups. Conclusion: Both ARS and PRS could preserve the PCOR, and showed no statistically significant difference in the AFC after total knee arthroplasty. en
dc.keyword สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account