DSpace Repository

การรวบรวมองค์ความรู้ ศักยภาพและแนวทางการพัฒนาวัดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางพุทธธรรมในเขตอำเภอเมืองชลบุรี และอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
dc.contributor.author สุรัติ สุพิชญางกูร
dc.contributor.other วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.date.accessioned 2022-05-21T13:52:55Z
dc.date.available 2022-05-21T13:52:55Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4354
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณกองทุนวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาประจำปี 2562 th_TH
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัด ศึกษาศักยภาพของวัด แนวทางในการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ศึกษาพฤติกรรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวทางพุทธธรรมที่พึงประสงค์ของนักท่องเที่ยว และจัดทำโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงพุทธธรรมในเขตอำเภอเมืองชลบุรี และ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เก็บข้อมูลโดยใช้การสำรวจ แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวจำนวน ๓๘๕ คน และ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารวัด ที่ผู้วิจัยนำเสนอในโปรแกรมท่องเที่ยว จำนวน ๒๐ แห่ง ผลการวิจัย พบว่า วัดในรัศมีไม่เกิน ๒๐ กิโลเมตรจากหาดบางแสน มีจำนวน ๔๕ วัด มีเกณฑ์การคัดเลือก ได้แก่ ความสวยงามของสถาปัตยกรรม ความสวยงามของจิตรกรรม ประวัติความเป็นมาเก่าแก่ โบราณ กิจกรรมทางประเพณีที่มีเอกลักษณ์ สิ่งที่ดึงดูดใจ (พระพุทธรูป/ พระเกจิ) การเปิดให้สาธารณชนเข้าไปเยี่ยมชมโบสถ์ได้ ทัศนียภาพ และความสะดวกในการเดินทางเข้าถึง พบว่า มีวัดที่ผ่านเกณฑ์ในการคัดเลือกจากผู้วิจัย โดยจำนวน ๒๐ วัด สามารถนำมาพัฒนาเพื่อส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพุทธธรรม รูปแบบการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสนใจมากที่สุด คือ การท่องเที่ยวตามรอย โดยจะเป็นพุทธศาสนิกชนหรือผู้เยี่ยมเยือนศาสนาอื่นที่ต้องการเพียงเที่ยวชมสถานที่ ให้ได้รับความเพลินเพลินและความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม โดยใช้เวลาไม่เกิน ๑ วัน และการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสนใจกิจกรรมไหว้พระมากที่สุด รองลงมาการเที่ยวชมสถานที่สำคัญในวัด มีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวพุทธธรรมและแนวโน้มความต้องการในการท่องเที่ยวทางพุทธธรรมในเขตอำเภอเมืองชลบุรี และ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก แนวทางในการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว คือ การรักษาความปลอดภัยในวัด การปรับปรุงด้านการบริการของบุคลากรที่ การปรับปรุงด้านบรรยากาศ การเพิ่มการประชาสัมพันธ์ภายในวัดเกี่ยวกับวัดที่สามารถเป็นสถานที่เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และพุทธธรรม และการสร้างเครือข่ายท่องเที่ยวเชิงพุทธธรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน th_TH
dc.description.sponsorship วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การท่องเที่ยวพุทธธรรม th_TH
dc.subject การท่องเที่ยว th_TH
dc.title การรวบรวมองค์ความรู้ ศักยภาพและแนวทางการพัฒนาวัดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางพุทธธรรมในเขตอำเภอเมืองชลบุรี และอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative The Collection of Knowledge, Potential, and Development Direction of Temple for Promoting Buddhism-Based Tourism in Muang Chonburi and Sriracha, Chonburi en
dc.type Research th_TH
dc.author.email sarunyal@buu.ac.th th_TH
dc.author.email surats@buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative The objective of this research were to gather information about temples, study the potential of the temple, and develop guidelines for promoting tourism in Buddhism, to study the behavior and desired Buddhist tourism activities of tourists who come to visit Chonburi and Sriracha, and organize Buddhist Dhamma tourism programs in Mueang Chonburi District and Srichara District, Chonburi Province. Data were collected by using 385 surveys of Thai tourists and in-depth interviews of 20 leaders of temples or temple administrators. The temples in Muang Chonburi Districts and Sriracha District which were selected at first stage must be located no further than 20 kilometers from Bangsaen beach. Researchers found that there were 45 temples matching this criterion. The criteria for selection were the beauty of architecture, the beauty and meaning of painting, ancient history, unique cultural activities, attraction (Buddha image or famous monk), permission for public access to churches, scenery/ environment, and ease of access which can attract tourists to visit the temple. From 45 temples, there were 20 temples with potential to be tourist destinations. The form of tourism which tourists were interested in were “Tracing Buddhist tourism” by being Buddhists or visitors who just want to visit the site to have fun and get knowledge about history, art and culture by travelling on a 1 day program. Tourists were interested in paying respect to image of buddha, followed by the observing of important things in temples. Tourists had a high level of motivation and demand to travel Chonburi Province for visiting temples. The development guidelines for tourism promotion were to improve security, the service of personnel, atmosphere, and to increase public relations by using media that do not require a large budget as well as to develop a Buddhist tourism network together with government agencies, private sector, and communities. en
dc.keyword สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account