Abstract:
คณะผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมกิจกรรมทางกายเป็นเวลา 12 สัปดาห์สำหรับผู้ใหญ่เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ เราตั้งสมมติฐานว่าโปรแกรมกิจกรรมทางกายนี้จะช่วยให้ระดับการออกกำลังกายเป็นนิสัย สูงขึ้นและคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (HRQoL) ดีขึ้น
วิธีการ ได้ทำการทดลองมีกลุ่มควบคุมแบบไม่สุ่ม ที่มีการติดตามผลใน 12 สัปดาห์ ผู้สมัครใจเข้าร่วมเป็นบุคลากรทางการศึกษา 186 คน โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกโปรแกรมกิจกรรมทางกาย (PA) จำนวน 109 คน กับกลุ่มควบคุม จำนวน 77 คน วัตถุประสงค์หลักคือการประเมินผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายระยะกลาง (12 สัปดาห์) ต่อสมรรถภาพทางกายเมื่อทดสอบด้วย The ALPHA-FIT Test Battery for Adults Aged 18-69 European Union Thai version ที่ใช้วัดได้ในผู้ใหญ่ที่อายุตั้ง 18-69 ปีวัตถุประสงค์รองคือการประเมินผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายที่มีต่อ HRQoL ผลกระทบจาก PA ด้านต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของ HRQoL หรือไม่ วิธีการทางสถิติที่ใช้คือการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มสองกลุ่มที่มีการกระจายตัวของข้อมูลไม่ปกติด้วยสถิติ mann-whitney U test เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนหลังภายในกลุ่มที่มีการกระจายตัวของข้อมูลไม่ปกติด้วยสถิติ Wilcoxon matched pairs และสำหรับข้อมูลประชากรซึ่งเป็นตัวแปรการจัดกลุ่มอิสระเปรียบเทียบด้วยสถิติ student t test
สรุปผลและอภิปราย เปรียบเทียบความแตกต่าง EQ-5D-5L score ระหว่าง 2 กลุ่ม ด้วยการกระจายตัวของข้อมูลแบบ non parametric พบว่า หลังการทดลองค่าอรรถนิยม (EQ-5D-5L score) เพิ่มขึ้นทั้ง 2 กลุ่มโดย กลุ่มควบคุมดีกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
เปรียบเทียบความแตกต่าง EQ-5D-5L score ก่อนหลังทดลอง ภายในกลุ่ม การกระจายแบบ non parametric ด้วย สถิติ Wilcoxon matched pairs ผล ค่าอรรถประโยชน์ไม่ต่างกัน แต่ ค่า EQ-5D-5L score และ VAS เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 2 กลุ่ม
ผลการดำเนินโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษา กรณีวิเคราะห์ค่าคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ก่อนหลังระหว่างกลุ่มพบว่าความแตกต่าง EQ-5D-5L score ระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่า หลังการทดลองค่าอรรถประโยชน์ (EQ-5D-5L score ) เพิ่มขึ้นทั้ง 2 กลุ่มโดย กลุ่มควบคุมดีกว่า อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ดังแสดงในตารางที่ 2 ซึ่งไม่ตรงตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ว่ากลุ่มที่ได้รับ intervention น่าจะมีค่าคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ดีกว่า อย่างไรก็ตามอาจจะวิเคราะห์ได้ว่า ทั้ง 2 กลุ่มได้รับ คู่มือ และเข้าร่วมกิจกรรมช่วงที่ได้รับความรู้ ด้าน Health literacy เรื่องกิจกรรมทางกายและอาหาร และสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้นกว่าเดิม ประกอบกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเพราะมีเพื่อน ๆ เข้าร่วมกิจกรรม โปรแกรมกิจกรรมทางกายเกินครึ่งหนึ่งของบุคลากรทั้งหมด และได้มีการออกกำลังกายกันมากขึ้นกว่าเดิม ผลการดำเนินโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษา กรณีวิเคราะห์ค่าคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ก่อนหลังกลุ่มเดียวกัน พบว่าความแตกต่าง EQ-5D-5L score ก่อนหลัง ภายในกลุ่ม ค่าอรรถประโยชน์ (EQ-5D-5L score ) ไม่ต่างกัน แต่ ค่า EQ-5D-5L score VAS เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทั้ง 2 กลุ่ม จะเห็นได้ว่าการสร้างเสริมกิจกรรมในที่ทางานโดยที่ผู้บริหารเข้าร่วมด้วยมักก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดี ส่งเสริมด้าน social determinants คือปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพ ด้าน สังคม และใจ ได้ การมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ถึงแม้โปรแกรมจะเทียบได้กับกิจกรรมระดับเบาถึงปานกลางแต่สามารถสร้างแรงจูงใจให้ปรับจากพฤติกรรมเนือยนิ่งมากระฉับกระเฉงเพิ่มขึ้นได้
ผลการดาเนินโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษา กรณีวิเคราะห์ค่าสมรรถภาพทางกายก่อนหลังระหว่างกลุ่ม พบว่าความแตกต่างสมรรถภาพทางกาย โดยเทียบก่อนการทดลองพบว่ามีค่ารอบเอวต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยกลุ่มควบคุมมีค่ามากกว่า หลังการทดลองเปรียบเทียบค่าระหว่างกลุ่ม ที่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของกลุ่มทดลองเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความอ่อนตัว การดันพื้น การลุกนั่งและรอบเอว แม้จะพบว่าหลายด้านดีขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าในสมรรถภาพบางด้านกลับแย่ลงเช่นแรงบีบมือ เวลาที่ใช้ในการเดินระยะ 2 กิโลเมตร อย่างไรก็ตามความแตกต่างนี้ก็ไม่มีนัยสาคัญทางสถิติเช่นกัน ผลการดาเนินโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษา กรณี วิเคราะห์ค่าสมรรถภาพทางกายก่อนหลัง กลุ่มเดียวกัน พบว่าความแตกต่างสมรรถภาพทางกาย ก่อนหลัง ภายในกลุ่ม ทดลองพบว่า ผลที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติคือ ความอ่อนตัว ดันพื้น ค่า BMI น้าหนัก และรอบเอวลดลงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ส่วนในกลุ่มควบคุมพบว่า ผลที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติคือ แรงบีบมือ ดันพื้น ค่า BMI น้าหนัก ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังตารางที่ 6 จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 กลุ่มมีค่าสมรรถภาพทางกายก่อนหลัง กลุ่มเดียวกัน ดีขึ้นเป็นส่วนใหญ่ซึ่งถือว่าสำคัญในช่วงเริ่มแรกของการสร้างแรงจูงใจในการปรับพฤติกรรมถึงแม้จะไม่มีนัยสำคัญ
ทางสถิติก็ตาม ถ้าสามารถดำรงกิจกรรมเหล่านี้ไว้ในองค์กรได้อย่างต่อเนื่องอาจก่อให้บุคลากรในองค์กรการศึกษามีสมรรถภาพทางกายดีเหมาะสมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตต่อไป
เนื่องจากงานวิจัยกิจกรรมทางกายในปัจจุบันมักพบในกลุ่ม เด็กและสูงอายุ ส่วนในกลุ่มวัยผู้ใหญ่หรือวัยทำงานนั้นค่อนข้างน้อยซึ่งผู้วิจัยวิเคราะห์ว่าเป็น gap of knowledge เมื่อได้ดำเนินการจนเสร็จพบว่า ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างเกิดปัญหา จากเรื่อง วันเวลาสถานที่ การลงข้อมูลต่าง ๆ ในช่วงวิจัยนำร่อง ถึงแม้จะปรับโดยนำวิธี การนำองค์กร ให้เห็นประโยชน์ของกิจกรรม และเอื้อต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกทางก็ยังเกิดปัญหาการออกจากงานวิจัยได้ค่อนข้างสูง จึงขอแนะนำเพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่จะดำเนินการในงานต่อไปว่า ถ้าสามารถออกแบบที่ยืดหยุ่น และมีทางเลือกให้ผู้ร่วมวิจัย หรืออาจปรับช่วงอายุที่แคบลง หรือออกแบบเพื่อให้เหมาะหรือ จัดกิจกรรมที่เหมาะเป็นรายบุคคลได้ อาจจะเกิดประโยชน์ในแง่ของความสนใจ ตลอดจนความร่วมมือที่ดีขึ้น เพราะบางกิจกรรม บางคนรู้สึกไม่สนุก หรืออาจไม่ท้าทายสมรรถภาพทางกาย และถ้าออกแบบให้ติดตามได้ต่อเนื่อง มากกว่า 12 สัปดาห์ เช่นที่ 24 สัปดาห์ อาจเห็นประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้นได้