DSpace Repository

การประเมินความต้องการที่จำเป็นเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลบนฐานวิถีชีวิตใหม่ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author พัชรี ทองอำไพ
dc.contributor.author วิไลวรรณ พวงสันเทียะ
dc.contributor.author วิราวรรณ บุญช่วยแล้ว
dc.contributor.author จิรศักดิ์ แช่มชื่น
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2022-05-14T08:20:30Z
dc.date.available 2022-05-14T08:20:30Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4343
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประเภทงบประมาณเงินอุดหนุนการวิจัยจากเงินรายได้ส่วนงาน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 th_TH
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการที่จำเป็นและแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล บนฐานวิถีชีวิตใหม่ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 186 คน ที่เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล พ.ศ. 2560-2562 และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอนและผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีการศึกษาและฝึกอบรม รวมจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความคิดเห็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เกี่ยวกับความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล บนฐานวิถีชีวิตใหม่ และแบบสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล เกี่ยวกับความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการที่จำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัย พบว่า 1. หัวข้อการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่เหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คือ หัวข้อสิ่งแวดล้อมทางทะเล หัวข้อความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล และหัวข้อการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชทะเล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะและกระบวนการเรียนรู้ การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ และการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล 2. เนื้อหาสาระของหลักสูตรฝึกอบรม ควรเชื่อมโยงเนื้อหาการเรียนรู้กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสรุปเป็นองค์ความรู้ที่ชัดเจน เรียงลำดับการเรียนรู้จากง่ายไปยาก เน้นให้ผู้เรียนได้ทดลองและปฏิบัติจริง 3. การฝึกอบรม ณ ที่ตั้ง ควรใช้ระยะเวลา 3 วัน และการฝึกอบรมผ่านระบบ Tele conference ควรใช้ระยะเวลา 15-20 นาที โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ 4. วิทยากรควรผสมผสานเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ที่หลากหลาย ทั้งรูปแบบการบรรยาย การเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายร่วมกัน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การทัศนศึกษานอกสถานที่ และการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่าง ๆ 5. ควรดำเนินการติดตามและประเมินผลโครงการ อย่างน้อย 2 ครั้ง คือ หลังสิ้นสุดการฝึกอบรมโดยทันที และหลังจากสิ้นสุดการฝึกอบรมไปแล้ว ประมาณ 3-6 เดือน th_TH
dc.description.sponsorship สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การฝึกอบรม th_TH
dc.title การประเมินความต้องการที่จำเป็นเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลบนฐานวิถีชีวิตใหม่ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative A Need Assessment to Develop Training Curriculum in Marine Science on New Normal for Junior High School of the Institute of Marine Science, Burapha University en
dc.type Research th_TH
dc.author.email phatchareet@buu.ac.th th_TH
dc.author.email wilaiwanp@buu.ac.th th_TH
dc.author.email virawan@buu.ac.th th_TH
dc.author.email jirasak112@buu.ac.th th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative The purpose of this research were to study the needs and suggest development guidelines for the development of marine science training curriculum on new normal for junior high school students of the Institute of Marine Science, Burapha University. Sample groups which were used in this study included 186 junior high school students who had participated in the training project of the Institute of Marine Science during 2017-2019, and a group of informants which included the deputy director of academic affairs, teacher of science and technology learning subject group, expert in science, expert in curriculum and teaching, and expert in educational and training technology, 5 people in total. The research tools used in this study were opinion assessment form for junior high school students regarding needs for the development of marine science training curriculum on new normal, and interview form for informant group regarding needs for the development of the previously stated training curriculum. Statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation, and Modified Priority Needs Index (PNIModified). Based on the research, it was found that; 1. Appropriate training topics of marine science learning for junior high school students were; marine environment, marine biodiversity, and aquaculture and marine plants. The objectives of learning were; enhancing knowledge and understanding, improving skills and learning progressions, utilizing knowledge, and raising awareness regarding marine resources conservation and cherish. 2. Content of learning were; summarize to be clear knowledge, organizing learning from easy to difficult, linking learning content with core fundamental education of science subject, emphasizing on students to conduct the tangible experiment and practice, and conducting learning activities with research process. 3. Appropriate training duration of learning curriculum were 3 days for onsite training and approximately 15-20 minutes for each content if using teleconference, divide content into sections for simply learning. 4. Training techniques to encourage learning of trainees should combine training techniques of lecture, offer opportunities for students and teachers to discuss together, workshop and field trip, and including adopting technology to assist in transferring knowledge, such as infographic multimedia, learning video, etc. 5. Monitoring and evaluation should be accomplished at least twice, immediately after finish training and approximately 3-6 months after finish training to follow up on knowledge utilization. en
dc.keyword นิวนอร์มัล th_TH
dc.keyword สาขาการศึกษา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account