dc.contributor.author |
สมคิด ใจตรง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-09T00:57:23Z |
|
dc.date.available |
2022-05-09T00:57:23Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4333 |
|
dc.description |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
th_TH |
dc.description.abstract |
ส่วนต่าง ๆ ของกล้วย เช่น ผล และปลี สามารถใช้เป็นอาหาร ในขณะที่ส่วนอื่น ๆ รวมทั้งใบ ลำต้นเทียม และเครือกล้วยกลายเป็นสิ่งเหลือทิ้ง งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในกลุ่มสารประกอบฟีนอล คอนเดนซ์แทนนิน ไฮโดรไลซ์แทนนิน ในลาต้นเทียม ใบ และปลีของพันธุ์กล้วย 3 กลุ่มจีโนม รวม 7 พันธุ์ คือ กลุ่มจีโนม 2 ชุด (2n) จำนวน 2 พันธุ์ คือ กล้วยน้าไท (AA group) และกล้วยตานี (BB group) กลุ่มจีโนม 3 ชุด (3n) จำนวน 4 พันธุ์ คือ กล้วยหอมเขียวค่อม (AAA group) กล้วยสามเดือน (AAB group) กล้วยน้ำว้า (ABB group) และกล้วยหิน (BBB group) และกลุ่มจีโนม 4 ชุด (4n) จำนวน 1 พันธุ์ คือ กล้วยเทพรส (ABBB group) พบว่ากล้วยเทพรส มีปริมาณคอนเดนซ์แทนนิน (174.60 มก.คาเทชิน/มล.) ไฮโดรไลซ์เซเบิลแทนนิน (57.74 มก.แกลโลแทนนิน/มล.) และสารประกอบ ฟีนอลทั้งหมด (45.40 มก.กรดแกลลิก/มล.) สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทั้ง 7 พันธุ์ และพบสูงที่สุดในใบ รองลงมา คือ ปลี และลำต้นเทียม ตามลำดับ จากนั้นคัดเลือกกล้วยเทพรสที่มีปริมาณคอนเดนซ์- แทนนินสูงที่สุด มาเสริมในอาหารแพะเนื้อ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการเสริมกล้วย ในอาหารและการฉีด Ivermectin ต่อการขับไข่พยาธิตัวกลมในแพะเนื้อ โดยศึกษาผลต่อการลดลงของไข่พยาธิในมูลและอัตราการเจริญเติบโตในแพะเนื้อลูกผสมพันธุ์พื้นเมืองและแองโกลนูเบี้ยน อายุประมาณ 1-2 ปี จำนวน 16 ตัว ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) แบ่งเป็น 4 กลุ่มการทดลอง ประกอบด้วย กลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุม กลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุมและได้รับการฉีด Ivermectin กลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุมและได้รับการเสริมกล้วยเทพรส 40 และ 80 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 74 วัน แพะทุกตัวได้รับอัลฟาฟ่าอัดเม็ดชนิดแห้งและฟางข้าวเป็นอาหารหยาบแบบเต็มที่ ผลการทดลองพบว่า การเสริมกล้วยเทพรสในอาหารให้ผลคล้ายกับการฉีด Ivermectin กล้วยเทพรสมีผลทำให้เกิดการลดลงของจำนวนไข่พยาธิตัวกลมที่พบในมูล และยังกระตุ้นให้อัตราการเจริญเติบโตแพะเพิ่มขึ้นตามระดับการเสริมกล้วยเทพรส (P<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามพบว่าค่าที่เพิ่มขึ้นนี้ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการฉีด Ivermectin เมื่อทดสอบผลต่ออัตราการเจริญเติบโตพบว่า กลุ่มที่ได้รับการฉีด Ivermectin ไม่มีผลกระทบเชิงลบต่ออัตราการเจริญเติบโตเช่นเดียวกับการเสริมกล้วยเทพรส แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าการเสริมกล้วยเทพรสในอาหารกระตุ้นให้เกิดการขับไข่พยาธิออกมากับมูลแพะที่มากกว่าปกติของระบบทางเดินอาหารเมื่อเทียบกับกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุม ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยนี้ใช้เป็นแนวทางในการนาสิ่งเหลือทิ้งจากใบกล้วยมาเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการผลิตอาหารสัตว์ ในแง่ของการลดปริมาณเชื้อปรสิตและยับยั้งการเจริญเติบโตของพยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง รวมถึงช่วยลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะเทคโนโลยีการเกษตร. มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว |
th_TH |
dc.subject |
กล้วย - - การใช้ประโยชน์ |
th_TH |
dc.subject |
แพะเนื้อ |
th_TH |
dc.title |
แหล่งของแทนนินในกล้วย Diploid (2n) triploid (3n) tetraploid (4n) และการใช้ประโยชน์ในการขับไข่พยาธิในแพะเนื้อ |
th_TH |
dc.title.alternative |
Source of tannins in diploid (2n), triploid (3n), tetraploid (4n) bananas and utilize on fecal nematode egg excretion in crossbred meat goats |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
somkit@buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2560 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Parts of the banana plant such as the fruit and the inflorescence can be used in food, while the other parts including the leaves, pseudostem and stalks are considered waste materials. This report aims to study the bioactive compounds in the group of phenolic compounds, condensed tannins, and hydrolysable tannins in the pseudostem, leaves and inflorescence of three chromosomal genome groups within 7 cultivars. Two cultivars of chromosomal diploids (2n) namely Nam Thai (Musa AA group) and Ta Nee (Musa BB group). Four cultivars of chromosomal triploids (3n) namely Hom Kiew Kom (Musa AAA group), Sam Doen (Musa AAB group), Namwa (Musa ABB group) and Hin (Musa BBB group). One cultivar of chromosomal tetraploid (4n) namely Thep Parod (Musa ABBB group). The results showed that the highest condensed tannin (174.60 mg Catechin equivalent (CE)/ml), hydrolysable tannin (74 mg Gallotannin equivalent (GE)/ml) and total phenolic compounds contents (45.40 mg Gallic acid equivalent (GAE)/ml) were found in Thep Panome compared with 7 cultivars. The tannin content was highest within leaves, followed by inflorescence and pseudostem, respectively. Then, to compare the effect of Musa (ABBB Group) ‘Thep Parod’ supplementation and Ivermectin administration on nematode egg excretion meat goat. The effects on the nematode egg excretion and average daily gain were determined. Twelve and twenty-four months old of sixteen crossbred meat goats (Native x Anglo Nubian) were equally divided into 4 groups using Randomized Complete Block Design experimental protocol. The diet of control feed group (16%Crude protein; 2%BW). The second group had Ivermectin injection and was supplemented without Thep Parod banana. The last group was supplemented with 40 and 80 Thep Parod banana of total feed respectively, followed by 74 days experimental period. All goats received ad libitum alfalfa dehydrated pellet and rice straw and were individually fed each treatment. The results show that the effects of Thep Parod banana supplementation and Ivermectin administration were similar. Thep Parod banana supplementation induced fecal nematode egg excretion. In addition, it was found that Thep Parod banana supplementation significantly increased average daily gain (ADG) (P<0.05). However, increases in the ADG were lower than that of Ivermectin administration. As with Ivermectin, Thep Parod banana supplementation had no effect on ADG. However, it is interesting to note that Thep Parod banana supplementation induced nematode eggs excretion of small intestine. This is probably due to an unknown irritating compound present in Thep Parod banana. The usefulness of waste utilization from banana leaves could increase a potential animal feeds production system in terms of a reduction parasites and inhibition the growth of nematode eggs in gastrointestinal tract of ruminants, including saving cost of production |
th_TH |
dc.keyword |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
th_TH |