DSpace Repository

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพอเพียงของผู้สูงวัยไทยในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
dc.contributor.author เวธกา กลิ่นวิชิต
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2021-11-19T03:02:46Z
dc.date.available 2021-11-19T03:02:46Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4288
dc.description โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.description.abstract วัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต ศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกและ พัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพอเพียงของผู้สูงวัยบนพื้นฐานแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสภาพปัญหา กลุ่มตัวอย่าง 384 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 50 คน จากประชากรผู้สูงอายุ 4,143,750 คน และกลุ่มผู้ดูแล 334 คน จากประชากร จำนวน 14,142,060 คน พื้นที่ภาคตะวันออกใน 3 จังหวัด คือ ชลบุรี จันทบุรีและสระแก้ว เครื่องมือ กลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) แบบวัดระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (WHOQOL-BREF-THAI) และ 2) แบบประเมินศักยภาพในการดูแลตนเองของ ผู้สูงอายุกลุ่มผู้ดูแล ใช้แบบประเมินศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 1) แบบวัดการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 2) แบบประเมินปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ และ 3) แบบประเมินความสามารถตนเองในการดูแลผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย โดยการสนทนากลุ่ม แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ อภิปรายร่วมกันเพื่อหาแนวทางและรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลรูปแบบ โดยการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบ ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มผู้สูงอายุ ระดับคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับดี ร้อยละ 44 ด้านร่างกาย จิตใจ และ สัมพันธภาพทาง สังคมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54, 56 และ 54 ตามลำดับ ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับ ดี ร้อยละ 76 ศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุค่อนข้างเหมาะสม แต่ยังพบปัญหาด้านโภชนาการ และการออกกำลังกายที่ยังไม่เหมาะสม 2. กลุ่มผู้ดูแล การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับ ปานกลาง (X = 3.18, SD=0.69) ปัญหา สุขภาพของผู้สูงอายุที่ดูแล พบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 76.39) โรคเบาหวาน (ร้อยละ 70.03) และ ข้อเสื่อม เก๊าต์ รูมาตอยด์ ปวดข้อ (ร้อยละ 55.17) การประเมินความสามารถตนเองในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแล อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าคะแนนเฉลี่ย 6.31/10) 3.รูปแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ใช้แนวคิดของภาพ “บ้าน” ที่มีสิ่งยึดเหนี่ยวและนำทาง คือ หลักปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัฐกาลที่ 9 ที่เปรียบเสมือนหน้าจั่วของบ้าน และตัวบ้าน คือ ฐานของความรู้ คู่คุณธรรม โดยผู้สูงอายุเปรียบเสมือนผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน ที่ประกอบด้วย ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ ที่แวดล้อมด้วยสังคมและสิ่งแวดล้อม 4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า ในภาพรวม ผู้สูงอายุ และผู้ดูแล มีความคิดเห็นว่า รูปแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพอเพียง อยู่ในระดับ มากที่สุด (X =4.62, SD=0.70/ X =4.55, SD=0.64) สรุป การสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ต้องคำนึงถึงกรอบแนวคิดของบ้านอันอบอุ่นเพื่อ สร้างสังคมผู้สูงวัยให้มีความรัก การแบ่งปันและความเอื้อเฟื้อเอื้ออารีต่อกันเปรียบเสมือนเพื่อนบ้านที่ดี ที่มาร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมและชุมชนร่วมกัน th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ - - คุณภาพชีวิต - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพอเพียงของผู้สูงวัยไทยในภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative Participation Action Research of the Community on Sufficiency health and quality of life in elderly, The eastern region of Thailand en
dc.type Research th_TH
dc.author.email pisit@buu.ac.th th_TH
dc.author.email wethaka@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to evaluate quality of life, Self-care potential of the elderly in the eastern region of Thailand, And develop sufficiency health and quality of life in elderly model under the Sufficiency economy philosophy and community participation. Participation Action Research were used in 3 phases; First phase, Situation and problem evaluation consisted of 384 samples that divided into 2 groups (50 elders and from 4,143,750 elder population and 334 caregivers from 14,142,060 population) in 3 provinces of the eastern region of Thailand such as Chonburi, Chantaburi and Sa kaeo. Instruments for the elderly group were 1) The World Health Organization Quality of Life (WHOQOL) –BREF 2) Self-care Assessment of elderly, The caregivers group used Self-care potential of elderly care assessment consisted of 1) Perception of elderly health status 2) perception of elderly health problems 3) Self-assessment of elderly care. Reliability of these instruments were 0.93 and 0.87. Statistics were frequency, percentage, mean and standard deviation. It was found that; 1. Elderly: Quality of life of the elderly was at the moderate level (44%), Physical health, Psychological and Social relationships domain were at moderate level in 54%, 56% and 54% ordinary. Environment domain was in good level (76%). Self-Care Potential of the Elderly quite reasonable, but there are also nutritional problems and exercise was not appropriate. 2. Caregivers: Perceived health status of the elderly was at a moderate level (X = 3.18, SD = 0.69). The health problems of the elderly were found to be hypertension (76.39%), Diabetes mellitus (70.03%) and rheumatoid arthritis pain (55.17%). The self-care assessment of the caregivers was moderate. (Average score 6.31 / 10) 3. Development of quality of life for the elderly used the idea of a "home" that is anchored and guided by the philosophy of the Sufficiency Economy philosophy of the King Rama IX, as the gable of the house and the home is the base of knowledge of moral merit. The elderly are living in a home that is composed of the body, mind and spirit that surrounds society and the environment. 4. The elderly and caregivers had the same opinion of using the quality of life sufficiency model ,the scores were in the highest level (Edlerly X = 4.62, SD = 0.70 / Caregivers X = 4.55, SD = 0.64). Summarize, the creation and development of the quality of life for the elderly consider the concept of a warm home to create an older society with love, sharing and caring to be a good neighbor to develop the quality of life of society and community together. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account