Abstract:
ที่มาของปัญหา อัตราความสําเร็จของการกลืนแร่ครั้งแรกในผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษชนิด Graves ยังไม่สูงมากนัก นอกจากปริมาณของสารกัมมันตรังสีไอโอดีนที่ใช้ปัจจัยทางคลินิกและทางเศรษฐกิจสังคมอาจส่งผลต่อความสําเร็จของการกลืนแร่ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทางคลินิกและทางเศรษฐกิจสังคมที่มีอิทธิพลต่อผลการกลืนแร่โรคต่อม
ไทรอยด์เป็นพิษชนิด Graves ด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน
วิธีการดําเนินการวิจัย การศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลังในผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษชนิด Graves
สัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและมีข้อบ่งชี้สําหรับการกลืนแร่ จํานวน 322 ราย
ผลการศึกษา อายุผู้ป่วยเฉลี่ย 38.0 ปี (11.5 ปี) และเป็นเพศหญิงร้อยละ 67.8 พบผู้ป่วยกลุ่มกลืนแร่
ไม่สําเร็จร้อยละ 35.4 (114 ราย) ผู้ป่วยที่มีขนาดต่อมไทรอยด์ที่ใหญ่กว่า 60 กรัมจะสัมพันธ์กับอัตราการกลืนแร่ไม่สําเร็จ 3.1 เท่า (aOR, 3.1; 95% CI, 1.9-5.1) และผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อต้นแขนต้นขาอัมพาตชั่วคราวจะ สัมพันธ์กับอัตราการกลืนแร่ไม่สําเร็จ 1.8 เท่า (aOR, 1.8; 95% CI, 0.6-5.7)
สรุป อัตราการกลืนแร่ครั้งแรกสําหรับผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษชนิด Graves สําเร็จ
เพียงร้อยละ 64.6 ขนาดต่อมไทรอยด์ที่ใหญ่กว่า 60 กรัมและอาการกล้ามเนื้อต้นแขนต้นขาอัมพาตชั่วคราว สัมพันธ์กับการกลืนแร่ไม่สําเร็จ ส่วนถิ่นพํานักอาศัยและการย้ายถิ่นเข้ามาทํางานต้องมีการศึกษาปัจจัยเสี่ยงอื่นที่เกี่ยวข้องและพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนเพิ่มเติม