dc.contributor.author |
ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์ |
|
dc.contributor.author |
นงนุช ล่วงพ้น |
|
dc.contributor.author |
พรลักษณ์ แพเพชร์ เสือโต |
|
dc.contributor.author |
ประเสริฐ โศภน |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-23T05:26:59Z |
|
dc.date.available |
2021-09-23T05:26:59Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4283 |
|
dc.description.abstract |
ที่มาและความสำคัญ: การออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปเป็นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีความสนุกสนานสามารถเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้ และมีการศึกษาพบว่าสามารถเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อแกนกลางทั้งชั้นลึกและชั้นตื้นและเพิ่มระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนล่างได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาใดทำการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูป (hula hoop exercise: HE) การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงแก่แกนกลางลำตัว (core stability exercise: SE) ต่อระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนล่าง (MIST) การทำงานของกล้ามเนื้อ transversus abdominis (TrA) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ในผู้ที่ระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนล่างระดับต่ำ วิธีการศึกษา: การศึกษานี้ทำการศึกษาทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในอาสาสมัครสุขภาพดีที่ ระดับ MIST 1-2 (จาก 6 ระดับ) จำนวน 45 คน ซึ่งถูกสุ่มเข้าสู่กลุ่ม HE, SE และกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้ออกกำลังกายใด ๆ (กลุ่มละ 15 คน) โดยกลุ่ม HE และกลุ่ม SE ออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ อาสาสมัครทุกคนจะได้รับการวัดระดับความมั่นคงของกระดูกหลังส่วนล่างด้วยวิธี modified isometric stability test (MIST) การทำงานกล้ามเนื้อ TrA โดย pressure biofeedback unit ด้วยเทคนิค prone test ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังชั้นตื้นโดย dynamometer ก่อนและหลังออกกำลังกายสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบความแตกต่างของระดับ MIST ระหว่างก่อนและหลังออกกำลังกายใน กลุ่ม SE (p<0.001) และ HE (p<0.001) และระหว่างกลุ่มในสัปดาห์ที่ 3 (p=0.007) และ 4 (p<0.001) โดยในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 กลุ่ม HE และกลุ่ม SE มีระดับ MIST มากกว่าก่อนออกกำลังกาย (p<0.005) และมากกว่ากลุ่มควบคุม (p<0.017) พบผลของระยะเวลาในการฝึก (time) ต่อการทำงานของ TrA (p<0.001) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง (p<0.001) พบผลกระทบร่วมระหว่างระยะเวลาในการฝึกและกลุ่ม (time x group) ต่อการทำงานของ TrA (p=0.023) แต่ไม่พบผลของกลุ่ม (group) ต่อตัวแปรใด และไม่พบผลของ time และ time x group ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง (p>0.005) โดยกลุ่ม SE และ HE มีการทำงานของ TrA มากกว่าก่อนออกกำลังกายและมากกว่ากลุ่มควบคุมในสัปดาห์ที่ 4 ขณะที่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังในสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ลดลงน้อยกว่าก่อนออกกำลังกาย ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของทุกตัวแปรในกลุ่มควบคุมตลอดการศึกษาและไม่พบความแตกต่างของทุกตัวแปรระหว่างกลุ่ม HE และกลุ่ม SE สรุป: การออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปและหลังออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงแก่แกนกลางลำตัว สามารถเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ TrA และเพิ่มระดับความมั่นคงของหลังส่วนล่างในผู้ที่ระดับความมั่นคงของหลังส่วนล่างระดับต่ำได้แม้จะไม่สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังชั้นตื้นก็ตาม |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
กระดูกสันหลัง |
th_TH |
dc.subject |
การรักษาด้วยการออกกำลังกาย |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
ผลของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปต่อระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลัง : การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม |
th_TH |
dc.title.alternative |
Effects of hula hooping exercise on lumbar stability level: a randomized controlled trial |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
siriratk@go.buu.ac.th |
th_TH |
dc.author.email |
nuch26216@go.buu.ac.th |
th_TH |
dc.author.email |
eiffel_l@hotmail.com |
th_TH |
dc.author.email |
prasert.sob@mahidol.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2561 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Background: Hula hoop exercise has been popular exercise. It is enjoyable exercise that can be done individual or group exercise. Previous study showed that hula hoop exercise was able to enhance function of deep and superficial core muscles and improve lumbar stability level. However no previous study has been randomized controlled trial. Objective: The purposes of this study were to compare the effects of hula hoop exercise (HE) and core stability exercise (SE) on lumbar stability level, transversus abdominis (TrA) function, back muscle strength and abdominal muscle strength in participant with lower lumbar stability. Method: A randomized single-blinded controlled design was applied in this study. The 45 healthy participants who presented MIST level as 1-2 (from 6 level) were randomly allocated into HE group (15 subjects), SE group (15 subjects) and non-training control group (15 subjects). The HE and SE group attended 3 times per week for period of 4 weeks. The testing of lumbar stability level was assessed by modified isometric stability test (MIST), TrA function was measured in prone test using pressure biofeedback unit, abdominal muscle and back muscle strength were tested by dynamometer. The data were collected from baseline and at 1st, 2nd, 3rd and 4th week. Result:The results showed the MIST level was significant differences between baseline and post-training in SE group (p<0.001) and HE group (p<0.001) and between group at 3rd (p=0.007) and 4th week (p<0.001). During 3rd and 4th week the MIST level of SE and HE group was greater than baseline (p<0.005) and control group (p<0.017). There were significant effect of time on TrA function (p<0.001) and back muscle strength (p<0.001) and time by group interaction (p=0.023) on TrA contraction (p<0.023). However, there were no significant effect of group on all parameter and effect of time and time by group interaction on abdominal muscle strength (p>0.05). The TrA function of SE and HE group at 4th week was greater than baseline and control group. The back muscle strength at 1st, 2nd, 3rd and 4th week were less than baseline. There were no change of all parameter in control group during time interval and no difference of all parameter between HE group and SE group. Conclusion: The program of hula hoop exercise and core stability exercise was able to enhance TrA function and increase lumbar stability level in people with lower lumbar stability, nevertheless no effect on abdominal muscle strength and back muscle strength. |
en |