Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทบทวนยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่สีเขียวในจังหวัด นครนายกที่ผ่านมา และวิเคราะห์การเคลื่อนไหวเพื่อปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่สีเขียวใน จังหวัดนครนายก รวมถึงนำเสนอทางเลือกทางยุทธศาสตร์ใหม่ในการคงไว้ของพื้นที่สีเขียวให้เป็นแบบ ยั่งยืน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพผ่านการศึกษากรณีเฉพาะของจังหวัดนครนายก ผลการศึกษา พบว่า ยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่สีเขียวที่สำคัญในจังหวัดนครนายก ประกอบด้วย นโยบายการ พัฒนาเมือง (นโยบายเมืองน่าอยู่ นโยบายเมืองใหม่ และนโยบายจังหวัดอัจฉริยะ) และการจัดการผัง เมือง โดยยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่สีเขียวทั้งสองเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นจากการ กำหนดโดยรัฐส่วนกลางในลักษณะแบบบนลงล่าง จึงทำให้การพัฒนาและการบริหารจัดการพื้นที่สี เขียวในจังหวัดนครนายกที่ผ่านมา เกิดปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในระดับพื้นที่ และปัญหาแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นที่ขาดความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ การเคลื่อนไหวที่สำคัญของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การ จัดการพื้นที่สีเขียวในจังหวัดนครนายก เกิดขึ้นในช่วงหลังผังเมืองรวมจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2555 โดยมีทิศทางการพัฒนาและการจัดการพื้นที่สีเขียวในจังหวัดนครนายกแบ่งอออกเป็น 2 แนวทาง สำคัญ ประกอบด้วย แนวการพัฒนาและกำหนดพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและการ ขยายตัวของเมือง และแนวทางการพัฒนาบนฐานการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติของ จังหวัดด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวของจังหวัด ส่วนข้อเสนอเสนอทางเลือกทางยุทธศาสตร์ใหม่ในการคงไว้ของพื้นที่สีเขียวให้เป็นแบบยั่งยืน แบ่งออกเป็น ส่วนที่หนึ่ง ข้อเสนอจากพื้นที่ พบว่า ต้องมีการปรับปรุงกระบวนการในการกำหนด การ ดำเนินการ และการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องกับแผนการพัฒนาและการจัดการผังเมือง ด้วยการเปิด โอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ และมีการคำนึงถึงการกลไกหรือระบบที่เข้ามา บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และส่วนที่สอง ข้อเสนอจากการพิจารณาเชิงทฤษฎี พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้กระบวนการพัฒนา ต้องมีการแก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยนค่านิยมและ แนวคิดในการพัฒนาร่วมกัน โดยควรมีการสร้างความร่วมมือเชิงสถาบันในรูปแบบใหม่ และสร้าง กลไกขึ้นมาจัดการเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน