DSpace Repository

ลักษณะงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
dc.contributor.author กาญจนา พิบูลย์
dc.contributor.author ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์
dc.contributor.author พวงทอง อินใจ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-06-23T09:08:35Z
dc.date.available 2021-06-23T09:08:35Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4257
dc.description.abstract บริบท ครูเป็นอาชีพที่พบว่า มีความเครียดจากการทำงานสูง เนื่องจากความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้นและภาระงานที่ต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด ที่ผ่านมาพบว่า มีงานวิจัยจำนวนไม่มากนักที่ศึกษาเกี่ยวกับความเครียดจากการทำงานของครูในประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของงาน ความเครียดจากการทำงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี โดยใช้แนวคิดของ Karasek วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบ โลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า ครูส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 72.0) อายุเฉลี่ย 39 ปี ประกอบอาชีพครูมาแล้ว โดย เฉลี่ย 13.43 ปี สอนในโรงเรียนที่อยู่ปัจจุบันมาแล้วโดยเฉลี่ย 7.88 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งครูชำนาญการ (ร้อยละ 30.0) จากคะแนนประเมินองค์ประกอบของงาน (คะแนนเต็ม 4) องค์ประกอบด้านอิสรภาพในเชิงทักษะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 การควบคุมหรืออำนาจในการตัดสินใจ 3.06 ข้อเรียกร้องจากงาน 2.68 และการสนับสนุน ทางสังคม 3.20 โดยส่วนมากมีความเครียดจากการทำงานต่ำ ร้อยละ 32.7 ทำงานในเชิงรับ ร้อยละ 30.3 ทำงานในเชิงรุกร้อยละ 20.7 และมีความเครียดจากการทำงานสูง ร้อยละ 16.3 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความเครียดจากการทำงานพบว่า ครูเพศหญิงมีความเสี่ยงที่จะมีความเครียดจากการทำงาน มากกว่าครูเพศชาย 2.65 เท่า (adjusted odds ratio [ORadj] 2.65, 95% CI 1.29 to 5.46) และครูที่มีตำแหน่ง ชำนาญการขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะมีความเครียดจากการทำงานมากกว่าครูที่มีตำแหน่งครูผู้ช่วยและครูระดับปฏิบัติการ 2.63 เท่า (ORadj 2.63, 95% CI 1.30 to 5.33) ทั้งนี้เมื่อควบคุมตัวแปรด้านระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนปัจจุบัน โรคประจำตัว และการสูบบุหรี่ สรุป ถึงแม้สัดส่วนของครูที่มีความเครียดจากการทำงานสูงมีเพียงร้อยละ 16.3 แต่ก็เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามผู้วิจัยขอเสนอแนะว่าควรมีการเฝ้าระวังปัญหาความเครียดจากการทำงาน ในครูเพศหญิงที่มีตำแหน่งชำนาญการขึ้นไป โดยปรับองค์ประกอบของงานด้านการควบคุม โดยเฉพาะในเรื่องการเพิ่มอิสระในการตัดสินใจว่าจะทำงานอย่างไร และจัดโปรแกรมการจัดการความเครียดที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลเพื่อให้ครูสามารถนำไปปรับ ใช้ในชีวิตประจำวันได้ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ครู -- ความเครียดในการทำงาน th_TH
dc.subject ความเครียดในการทำงาน th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ลักษณะงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Job aspects and factors related to job stress among secondary school teachers in Chonburi Province en
dc.type Article th_TH
dc.issue 1 th_TH
dc.volume 7 th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative Introduction Teaching is a highly stressful occupation, due to increased responsibilities and demanding deadlines. Despite the high priority of this issue, there are few studies of workrelated stress among teachers in Thailand. Objective This research aimed to apply the Karasek Model of job aspects and to identify factors related to job stress among secondary school teachers in Chonburi Province. Materials and Methods Data was collected through a questionnaire and analyzed by descriptive statistics and logistic regression analysis. Results The results revealed that most teachers in the sample were female (72%), with an average age of 39 years old. They had been teaching for an average of 13.4 years (with 7.9 years at their current school). Data on specific job components (with maximum scores of 4) revealed these mean scores: Skills Discretion at 3.46, Control at 3.06, Job Demands at 2.68 and Social Support at 3.20. Low strain jobs accounted for 32.7% of the variance – passive jobs: 30.3%. Active jobs accounted for 20.7%, and high strain jobs was significant at 16.3%. The regression analysis revealed that female teachers had a higher risk of job stress than their male counterparts (adjusted odds ratio [ORadj] 2.65, 95% CI 1.29 to 5.46) and teachers at the professional level or higher were more at risk of job stress than teachers with lower positions (ORadj 2.63, 95% CI 1.30 to 5.33) – i.e., after setting controls for educational attainment, years taught at the current school, personal illness and smoking. Conclusion Although the proportion of teachers indicating high strain was only 16.3 percent, it should not be overlooked. The researcher recommends that surveillance of job stress should be monitored among female teachers as well as those with professional levels, by increasing job control or decision latitude. Stress management programs suitable for each individual should be introduced. en
dc.journal บูรพาเวชสาร th_TH
dc.page 32-46. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account