dc.contributor.author |
มณทิรา จรรยาภรณ์พงษ์ |
|
dc.contributor.author |
ณรงค์ชัย คุณปลื้ม |
|
dc.contributor.author |
อลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ |
|
dc.contributor.author |
วัลลภ ใจดี |
|
dc.contributor.author |
พัชนา เฮ้งบริบูรณ์พงศ์ ใจดี |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-06-23T08:41:06Z |
|
dc.date.available |
2021-06-23T08:41:06Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4255 |
|
dc.description.abstract |
บทนำ การดำเนินงานตามโครงการชายหาดปลอดบุหรี่ถือว่าเป็นการทำงานที่ทำให้เกิดสุขภาวะของประชาชนที่อยู่ในบริเวณชายหาดและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งนี้ผู้ประกอบการถือว่าเป็นกลุ่มบุคคลสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานดังกล่าวประสบความสำเร็จ
วัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจการรับรู้และความร่วมมือของผู้ประกอบการชายหาดบางแสนหลังการรณรงค์งดสูบบุหรี่บริเวณชายหาดบางแสน
วิธีการศึกษา การศึกษาแบบเชิงสำรวจผู้ประกอบการบริเวณชายหาดบางแสน จำนวน 293 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญโดยผู้เข้าร่วมโครงการตอบแบบสอบถามด้วยความสมัครใจ การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะก่อนการรณรงค์ (เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561) และระยะหลังการรณรงค์ (เดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2561) เครื่องมือในการศึกษาคือแบบสอบถามชนิด application google form โดยผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำแบบสอบถามโดยสแกนรหัสคิวอาร์ รายงานข้อมูลด้วยความถี่และร้อยละ
ผลการศึกษา หลังการรณรงค์งดสูบบุหรี่บริเวณชายหาดบางแสนพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการรับรู้ว่าชายหาดบางแสนเป็นชายหาดปลอดบุหรี่และรับรู้มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการห้ามสูบบุหรี่อยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 80 ขึ้นไป) ผู้เข้าร่วมโครงการให้ความร่วมมือไม่สูบบุหรี่ทุกครั้งเมื่อพบเห็นป้ายเขตปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50.0 เป็นร้อยละ 79.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.028) และสูบบุหรี่ในบริเวณเขตสูบบุหรี่ที่กำหนดเท่านั้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.0 เป็นร้อยละ 86.2 ผู้เข้าร่วมโครงการเพิกเฉยเมื่อพบเห็นผู้สูบบุหรี่บริเวณชายหาดลดลงจากร้อยละ 48.5 เป็นร้อยละ 16.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.000) โดยวิธีการที่ผู้เข้าร่วมโครงการเลือกใช้มากที่สุดคือแนะนำให้ผู้สูบบุหรี่ดูป้ายประชาสัมพันธ์ (ร้อยละ 74.2) วิธีการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลมากที่สุดสองอันดับแรกคือ การประกาศเสียงตามสาย (ร้อยละ 85.3) และกิจกรรมการเดินรณรงค์ (ร้อยละ 83.7)
สรุป ผู้ประกอบการบริเวณชายหาดบางแสนรับรู้กฎหมายการห้ามสูบบุหรี่บริเวณชายหาดบางแสนเพิ่มขึ้นหลังการรณรงค์ การบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านการประกาศเสียงตามสายและการจัดกิจกรรมเดินรณรงค์เป็นกลยุทธ์หลักของเทศบาลเมืองแสนสุขที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการบริเวณชายหาดบางแสนให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎหมายเพิ่มขึ้น |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การสูบบุหรี่ -- การป้องกันและควบคุม |
th_TH |
dc.subject |
การสูบบุหรี่ -- การป้องกันและควบคุม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
การรณรงค์งดสูบบุหรี่บริเวณชายหาดบางแสน : ผลต่อการรับรู้และความร่วมมือของผู้ประกอบการชายหาดบางแสน |
th_TH |
dc.title.alternative |
A smoke-free Bangsaen beach: Impacts and perceptions of complying with anti-smoking laws by Bangsaen beach entrepreneurs |
en |
dc.type |
Article |
th_TH |
dc.issue |
1 |
th_TH |
dc.volume |
7 |
th_TH |
dc.year |
2563 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Introduction The implementation of the smoke-free beach is considered to be a good work
for both the healthy people who living on the beach and the environment improvement to
be suitable for being a healthy tourist area. Entrepreneurs are the important person group that
will make the successful operation.
Objective To survey the perception and compliance of Bangsaen beach entrepreneurs after a
smoke-free campaign at Bangsaen beach.
Methods The survey studied 293 Bangsaen beach capitalists through random sampling. The
participants voluntarily responded to the study’s questionnaire. The study was divided into
2 phases, namely a pre-phase (January to February 2018) and a post-campaign period (March
to August 2018). The tool of this study was a Google application questionnaire form, in which
participants could access via the QR code. The data was analyzed by using descriptive statistics.
Results After a smoke-free campaign at Bangsaen beach, the participants perceived that
Bangsaen Beach was a non-smoking beach. The perception of laws related to banning smoking
at the beach were very good (80% and above). Participants did not smoke within the presence
of no-smoking signs – an increase from 50.0% to 79.3%, with statistical significance (p = 0.028).
Furthermore, participants increasingly utilized designated smoking areas up from 60.0% to
86.2%. The two most effective methods of raising awareness of anti-smoking laws were voice
announcements (85.3%) and campaign activities (83.7%).
Conclusions Bangsaen beach entrepreneurs increasingly perceived the smoking prohibitions
throughout the beach after the campaign. As a result, enforcing the legal aspects of prohibiting
smoking at the beach through voice announcements and campaign activities are the main
strategies of the Saensuk Municipality to help Bangsaen beach entrepreneurs comply with the
law. |
en |
dc.journal |
บูรพาเวชสาร |
th_TH |
dc.page |
63-75. |
th_TH |