DSpace Repository

สตรีในการพัฒนาสังคม

Show simple item record

dc.contributor.author ธัญญธร บุญอภัย
dc.contributor.author พักตร์วิภา โพธิ์ศรี
dc.contributor.author สมหมาย แจ่มกระจ่าง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สาขาการศึกษา
dc.date.accessioned 2021-06-22T07:12:48Z
dc.date.available 2021-06-22T07:12:48Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4227
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพ บทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม 3) วิเคราะห์แนวโน้มบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคมในอนาคต ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) จากการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์คณะกรรมการสตรี จำนวน 21 คน และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม 1) ด้านสังคม ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.1) การมีจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคม 1.2) การมีความสามัคคีและความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน 1.3) การมีอำนาจต่อรองโดยการจัดตั้งกลุ่มเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 2.1) การบริหารจัดการเศรษฐกิจของครอบครัวทั้งรายรับรายจ่าย 2.2) การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ 2.3) ความสามารถในการเจรจาต่อรองด้านธุรกิจเพื่อสร้างความเป็นธรรมด้านเศรษฐกิจของชุมชน 3) ด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3.1) ด้านคุณลักษณะที่เอื้อต่อความเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมด้านวัฒนธรรม 3.2) การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและส่งเสริมศีลธรรมแก่ครอบครัวและชุมชน 3.3) การอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ด้านการเมืองและการปกครอง ประกอบด้วย 4.1) การเปิดโอกาสและสนับสนุนให้สตรีเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานต่าง ๆ มากขึ้น 4.2) การมีความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองทำให้สังคมยอมรับบทบาทสตรีมากขึ้น 4.3) การมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้นเพื่อสร้างความตระหนักถึงสิทธิ บทบาทหน้าที่พลเมืองที่ดีของสังคม 5) ด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 5.1) การเป็นผู้นำการพัฒนาและส่งเสริมโครงการต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์และเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน 5.2) การรณรงค์ให้ชุมชนและสังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากร 5.3) การประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน 3. แนวโน้มบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม “ตามกรอบ 5 ส” ประกอบด้วย ส. 1: เสริมสร้างพลังจิตอาสา เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งสู่ชุมชน ประกอบด้วย ด้านจิตอาสา ด้านการศึกษา การได้รับการยอมรับในความสามารถ ส. 2: เสริมสร้างพลังสตรี นวัตวิถีสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การบริหารจัดการเศรษฐกิจของครอบครัว ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี การเจรจาต่อรองในด้านธุรกิจของชุมชน ส. 3: เสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทยรวมจิตใจ สืบสานภูมิปัญญาสู่สากล ประกอบด้วย เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์วัฒนธรรม บทบาทในการถ่ายทอด จริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม บทบาทในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ส. 4: เสริมสร้างความสมานฉันท์เพื่อสร้างสรรค์ความปรองดอง ประกอบด้วย การพัฒนาความรู้และเรียนรู้ด้านกฎหมายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาตนเอง บทบาทการเป็นผู้นำด้านสิทธิมนุษย์ชน การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน ส. 5: เสริมสร้างความตระหนัก รักษ์ทรัพยากรตามวิถีพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย การศึกษาเรียนรู้และเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมการเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเป็นผู้นำในการรณรงค์ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สตรีกับการพัฒนา th_TH
dc.subject การพัฒนาสังคม th_TH
dc.subject ผู้นำสตรี th_TH
dc.title สตรีในการพัฒนาสังคม th_TH
dc.title.alternative Trends of women leadership role for social development en
dc.type Article th_TH
dc.issue 2 th_TH
dc.volume 15 th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative The objectives of this mixed-method research were 1) to study status and leadership roles of women in social development, 2) to study factors influencing leadership roles of women in social development, 3) to analyze trends of leadership roles of women in social development. In order to determine the status and leadership roles of women in social development, the researcher used a questionnaire to survey opinion of 384 women living in the East of Thailand. To confirm and conclude the research findings, 9 experts took part in a focus group. Data collection instruments in this study were a questionnaire, and a structured interview guide. The collected data was analyzed through descriptive statistics and a content analysis technique. This study reports that 1) On average, status and leadership roles of women in social development were rated at a high level. The most considered roles were respectively rated as their roles in 1) society, 2) culture, and 3) environment. 2) Roles of women in social development could be seen as follows: In the society: doing volunteer job, working collaboratively with other people in a community, exercising a power in negotiations, forming groups enhancing quality of life of others. In the economy: monitoring and managing domestic expenses, developing creative economy and the use of technology, negotiating a business to ensure the fairness of the economy in the community. In culture: possessing characteristics facilitating leadership work and encouraging others to take part in cultural activities, becoming a good role model and raising awareness concerning ethical practices in family and community, protecting and maintaining local wisdoms. In Politics: opening up possible opportunities for women to enter work in local government organizations and other government organizations, promoting women knowledge concerning politics, laws and regulations so that human’s rights, roles and responsibility of women in society could be greatly aware. In environment: becoming leaders developing environmental protection projects, encourage people in society to aware of values of environment and the environmental sustainable development, promoting environmental activities and encouraging people in the community to take part. en
dc.journal วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม th_TH
dc.page 291-301. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account