dc.contributor.author |
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-06-14T08:00:44Z |
|
dc.date.available |
2021-06-14T08:00:44Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4143 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีนและอาการแสดงที่มีสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานของพนักงานขับรถโดยสารธรรมดาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 252 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 152 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 100 คน กลุ่มศึกษามีอายุเฉลี่ย 44.16 ปี และ 41.52 ปี สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มศึกษามีสภาพการทำงานในแต่ละวันในหน้าที่หลักในการขับรถโดยสารธรรมดา 8 ชั่วโมง และ 10 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 69.8 และทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 98.7 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้งร้อยละ 13.8 โดยส่วนใหญ่มีการใช้ผ้าปิดจมูก ร้อยละ 74.8 และมีอาการแสดงหลังสิ้นสุดการทำงาน โดยพบว่า รู้สึกเมื่อยล้าเฉพาะแขนและขา (ร้อยละ 66.4) เมื่อยล้าทั่วร่างกาย (ร้อยละ 64.5) ปวดข้อเข่า (ร้อยละ 62.5) และไอ (ร้อยละ 53.3) และพบว่ามีความสามารถในการทำงาน อยู่ในระดับดี ร้อยละ 62.5 ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า มีค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของปริมาณความเข้มข้นของสารโทลูอีนในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคล 33.65 (8.39) ppb และสารโทลูอีนในปัสสาวะ 0.01 (0.01) mg/l และกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของปริมาณความเข้มข้นของสารโทลูอีนในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคล 0.02 (0.05) ppb และสารโทลูอีนในปัสสาวะ 0.20 (0.81) mg/l และระดับความสามารถในการทำงานของกลุ่มศึกษา (n = 152) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 62.5 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นของสารโทลูอีนในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคลและในปัสสาวะระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 (p < 0.001, p = 0.017 ตามลำดับ) และความสามารถในการทำงานและอาการแสดงระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 (p < 0.001 และ p = 0.018 ตามลำดับ) และเมื่อหาความสัมพันธ์พบว่าปริมาณความเข้มข้นของสารโทลูอีนในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคลและในปัสสาวะกับความสามารถในการทำงาน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่พบว่า อาการแสดงมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.034) จากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่ากลุ่มศึกษามีการสัมผัสสารโทลูอีนในขณะปฏิบัติงานและทางหน่วยงานควรให้ความสำคัญกับโปรแกรมการป้องกัน ควบคุมและส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
โทลูอีน |
th_TH |
dc.subject |
สมรรถภาพในการทำงาน |
th_TH |
dc.subject |
คนขับรถประจำทาง |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
การศึกษาการประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีนและอาการแสดงที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานของพนักงานขับรถโดยสารธรรมดาในเขตกรุงเทพมหานคร |
th_TH |
dc.title.alternative |
The evaluation of toluene exposure and symptoms related to work ability among bus drivers in Bangkok |
en |
dc.type |
Article |
th_TH |
dc.issue |
2 |
th_TH |
dc.volume |
15 |
th_TH |
dc.year |
2563 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This research was a cross-sectional study. The objectives were to evaluate toluene exposure, symptoms and work ability among bus drivers in Bangkok. We sampled 252 persons; 152 cases who worked as bus drivers and 100 comparisons. The mean age of the study group was 44.16 years old, whereas 41.52 years old for the comparisons. The majority (69.8%) of the study group worked 8 and 10 hours per day, 6 days per week (98.7%). A few subjects (13.8%) always used respiratory protection; however, most of them used only cotton masks (74.8%). After finishing the work, the symptoms of the study group found that fatigue at arm and leg (66.4%) fatigue whole body (64.5%) knee pain (62.5%) and cough (53.3%). Work ability was mostly at a good level (62.5%). Collecting of personal toluene exposure was conducted using “Organic Vapor Monitor (3M 3500)”, attached to the lapel of each of the cases (n=152). Results of the study and comparison groups showed an average toluene concentration of 33.65 (8.39) ppb and 0.02 (0.05) ppb, respectively and urinary toluene 0.01 (0.01) mg/l and 0.20 (0.81) mg/l, respectively. The average comparison of toluene concentration in the atmosphere was significantly different between the study and comparison groups at 0.01 and 0.05 significant level (p < 0.001, p = 0.017, respectively). The average comparison of work ability and symptoms was significantly different between the study and comparison groups at 0.01 and 0.05 significant level (p < 0.001 and p = 0.018, respectively). The relationship between toluene in the atmosphere and in urine and work ability among the study group was not significant. However, the relationship between symptoms and work ability was significantly at 0.05 significant level (p=0.034). Based on the results of this study, toluene exposure among bus drivers were detected. Health promotion and protection programs should be emphasized. Respiratory protective equipment should also be provided. |
en |
dc.journal |
วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.page |
50-61. |
th_TH |