DSpace Repository

ความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน

Show simple item record

dc.contributor.author วิไลภรณ์ สว่างมงคล
dc.contributor.author เขมารดี มาสิงบุญ
dc.contributor.author วัลภา คุณทรงเกียรติ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-06-14T02:44:30Z
dc.date.available 2021-06-14T02:44:30Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4127
dc.description.abstract การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล โดยใช้กรอบแนวคิดการจัดการอาการของดอดด์และคณะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ญาติผู้ป่วยที่นำผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันมารับการรักษา ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชลบุรี ช้ากว่า 210 นาที (3.5 ชั่วโมง) จำนวน 85 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและญาติ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามความตระหนักในการเกิดโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และแบบสอบถามการจัดการอาการโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ระยะเวลาที่ญาติผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ตั้งแต่เริ่มเกิดอาการของโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน เฉลี่ย 1,768 นาที (ประมาณ 29.5 ชั่วโมง) การจัดการอาการเมื่อญาติพบผู้ป่วยมีอาการของโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน คือ 1) รอให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นหรือหายไปเองจึงไม่พาไปโรงพยาบาล (ร้อยละ 48.3) 2) พยายามให้ผู้ป่วยผ่อนคลายด้วยการนอนพัก (ร้อยละ 32.9) 3) หายามาให้ผู้ป่วยรับประทาน เช่น แอสไพลิน หรือ พาราเซตตามอล (ร้อยละ 9.4) 4) บอกใครบางคนที่อยู่ใกล้ (ร้อยละ 3.5) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคสมองขาดเลือดอยู่ในระดับต่ำ (M = 17.5, SD = 3.20) ความตระหนักในการเกิดโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันอยู่ในระดับต่ำ (M = 1.68, SD = 0.47) และการรับรู้ความรุนแรงของโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันอยู่ในระดับต่ำ (M = 29.29, SD = 24.69) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรส่งเสริมให้ญาติผู้ป่วยมีความรู้ ความตระหนักและรับรู้ความรุนแรงของโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และมีการจัดการอาการที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยมารับการรักษาได้ทันเวลา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การส่งต่อผู้ป่วย th_TH
dc.subject โรคหลอดเลือดสมอง th_TH
dc.subject โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน th_TH
dc.title.alternative Pre-hospital delay in family members of patients with acute ischemic stroke en
dc.type Article th_TH
dc.issue 3 th_TH
dc.volume 28 th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative This descriptive study aimed to explore the pre-hospitalization delay caused by family members of patients with acute ischemic stroke, and its related factors. The sample was 85 family members of patients with acute ischemic stroke who arrived a hospital in Chonburi after 210 minutes (3.5 hours). The sample was recruited using inclusion criteria and a random time frame from October 2018 to February 2019. The research instruments included a demographic questionnaire, the stroke knowledge questionnaire, the stroke awareness questionnaire, the perception of stroke severity questionnaire, and the response to stroke symptoms questionnaire. Reliability scores of the questionnaires were .77, .63, .95 and .86 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics. The results revealed that the mean hospital arrival time was 1,768 minutes (approximately 29.5 hours). Symptom management strategies included: 1) doing nothing and waiting for the patient recovery by him/herself (48.3%); 2) letting the patient sleep (32.9 %); 3) giving medication such as aspirin or paracetamol (9.4 %), and; 4) telling someone (3.5 %). The subjects had low scores on stroke knowledge (M = 17.5, SD = 3.20), stroke awareness (M = 1.68, SD = 0.47), and perceived stroke severity (M = 29.29, SD = 24.69). The findings indicate that health care professionals should provide more information about stroke to enhance family members’ stroke knowledge, awareness, and perception of stroke severity. Consequently, this would promote appropriate symptom management in order to decrease pre-hospitalization delay, resulting in more patients receiving more timely treatment en
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.page 90-101. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account