Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมตัวกันเป็นเครือข่ายที่มีการพัฒนาวิชาชีพแบบ PLC เพื่อประเมินสมรรถนะการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและครูผ่านกระบวนการ PLC เพื่อประเมินความร่วมมือ และการเป็นหุ้นส่วนทางวิชาการและวิชาชีพระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ภาคเอกชนและหน่วยงานทางการศึกษากับคุรุสภา และเพื่อประเมินองค์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการ PLC สรุปผลวิจัย นวัตกรรมการสอน ซึ่งเป็นผลการดำเนินงาน PLC พบว่า ส่วนใหญ่นวัตกรรมการสอนเป็น BBL (Brain-Based Learning) (ร้อยละ 61.01) สำหรับผลเกิดกับผู้เรียนเป็นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัยมากที่สุด (ร้อยละ 44.09) บรรลุวัตถุประสงค์การสอนโดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 77.96) จำนวนครูสมาชิกเครือข่ายส่วนใหญ่กลุ่มละ 0-5 คน (ร้อยละ 60.06) จำนวนนักเรียนแต่ละกลุ่มส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 21-50 คน (ร้อยละ 66.77) และพบว่าจำนวนชั่วโมง PLC ครูส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 51-75 ชั่วโมง (ร้อยละ 81.79) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของนวัตกรรมการสอนที่นำมาใช้ในกระบวนการ PLC กับผลสัมฤทธิ์หรือผลอื่นๆ ของนักเรียน โดยการทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-square) พบว่า ชนิดของนวัตกรรมการสอนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 การศึกษาความสัมพันธ์ โดยสูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (rxy) พบว่าจำนวนชั่วโมง PLC
ที่ได้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การสอนในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวนนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายมีความสัมพันธ์กับจำนวนชั่วโมง ประโยชน์ที่ได้รับจาก PLC และผลประเมินรวมในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวนชั่วโมง PLC มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับประโยชน์ที่ได้รับจาก PLC และผลประเมินรวม และประโยชน์ที่ได้รับมีความสัมพันธ์กับผลประเมินรวมในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05