DSpace Repository

การศึกษาความคงทนด้านความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครูของนิสิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา หลังเข้าร่วมกิจกรรม CREAM

Show simple item record

dc.contributor.author สุกัลยา สุเฌอ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-05-22T11:13:47Z
dc.date.available 2021-05-22T11:13:47Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4077
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคงทนด้านความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครูของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลังเข้าร่วมกิจกรรม CREAM ไปแล้ว 1 ปี และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตต่อประสิทธิผล ความเหมาะสม และการประยุกต์ใช้กิจกรรม CREAM เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านความรัก และความศรัทธาในวิชาชีพครู กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรม CREAM ในขณะที่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินตนเองด้านความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครู ซึ่งมีตัวบ่งชี้ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงบันดาลใจในการเป็นครูปฐมวัย ด้านความตระหนักถึงคุณลักษณะที่ดีของครูปฐมวัยด้านเป้าหมายในการเป็นครูที่รักและศรัทธาในวิชาชีพครูปฐมวัย และด้านการที่จะเป็นครูที่รักและศรัทธาในวิชาชีพครูปฐมวัย และ 2) แบบสำรวจความคิดเห็นของนิสิตต่อกิจกรรม CREAM การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการประเมินตนเองของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า ความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครูของนิสิตหลังเข้าร่วมกิจกรรม CREAM ไปแล้ว 1 ปี ยังคงอยู่ในทุกตัวบ่งชี้ และผลรวมของทุกตัวบ่งชี้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.59, σ = 0.56) เมื่อเปรียบเทียบกับผลการประเมินตนเองของนิสิตหลังเข้าร่วมกิจกรรม CREAM ไปแล้ว 1 สัปดาห์ (μ = 4.28, σ = 0.52) ที่อยู่ในระดับมาก 2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยต่อกิจกรรม CREAM พบว่า กิจกรรม CREAM มีประสิทธิผลต่อการเสริมสร้างความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครู เหมาะสมต่อการเสริมสร้างความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครู และควรนำกิจกรรม CREAM ไปใช้เป็นกิจกรรมเสริมความเป็นครูของหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความรัก th_TH
dc.subject ศรัทธา th_TH
dc.subject ครูปฐมวัย th_TH
dc.subject นักศึกษาครู th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การศึกษาความคงทนด้านความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครูของนิสิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา หลังเข้าร่วมกิจกรรม CREAM th_TH
dc.title.alternative A study of retention of compassion in teaching profession of pre-service teachers in early childhood education at the Faculty of Education, Burapha University, Thailand en
dc.type Article th_TH
dc.issue 3 th_TH
dc.volume 13 th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative The present study aimed 1) to investigate the retention of compassion in teaching profession of pre-service teachers majoring in early childhood education (ECE) a year later after participating in CREAM-based activities and 2) to explore the pre-service ECE teachers’ attitudes towards the effectiveness, suitability and application of the CREAM-based activities with regard to teaching compassion enhancement. A total of 30 second year pre-service ECE teachers at the Faculty of Education, Burapha University, Thailand, were selected as the participants of the study. The participants joined the CREAM-based activities when they were first year students. The tools used for data collection included 1) a self-evaluation questionnaire of retention of compassion in teaching profession towards four aspects (i.e., motivation for being an ECE teacher, awareness of prospective ECE teacher characteristics, goals of being a passionate ECE teacher, and self development for being a passionate ECE teacher) and 2) a questionnaire on pre-service teachers’ attitudes towards the CREAM-based activities. Then the research data were analyzed using mean, standard deviation and a content analysis. The findings of the study showed that: 1. After one year, the results of the participants’ self-evaluation showed that the retention of compassion in teaching profession of the ECE pre-service teachers still remained consistent across the four aspects at the highest level (μ = 4.59, σ = 0.56), when compared to the results of teaching compassion enhancement one week after the use of a set of CREAM-based activities in the first year at a high level (μ = 4.28, σ = 0.52). 2. The pre-service ECE teachers pointed out that the set of CREAM-based activities used was of great effectiveness and suitability in enhancing compassion in teaching profession, since it was well-designed and suitable for their context. They further recommended that such CREAM based activities be included in the ECE curriculum for teacher identity development among ECE pre-service teachers. en
dc.journal วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of education, Burapha University th_TH
dc.page 36-51. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account