Abstract:
CAX (Vacuoles Ca2+/H+antipoter) เป็นยีนที่ควบคุมให้เกิดการสมดุลของ Ca2+ เมื่อพืชอยู่ในสภาวะเค็มหรือความแห้งแล้ง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาลาดับนิวคลีโอไทด์ของยีน CAX ในอ้อย 3 พันธุ์ พันธุ์การค้า KPS 94-13 อ้อยป่า (Saccharum sapontaneum) และอ้อยลูกผสมระหว่างอ้อยปลูกและอ้อยป่า (พันธุ์ไบโอเทค 2) พบว่า มีขนาด 1254 นิวคลีโอไทด์ เมื่อแปลรหัสเป็นกรดอะมิโนได้ 417 หน่วย เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลาดับนิวคลีโอไทด์พบว่ามี 12 ตาแหน่งที่แตกต่างกัน แต่กรดอะมิโนจะมีเพียง 4 ตาแหน่งเท่านั้นที่แตกต่างกัน ความแตกต่างกันของลาดับนิวคลีโอไทด์และกรดอะมิโนรวมทั้งระดับการแสดงออกของยีนอาจมีความเกี่ยวข้องกัน และอาจจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลชนิด gene targeted marker เพื่อใช้ช่วยคัดเลือกอ้อยที่ทนทานต่อดินเค็มได้เมื่อเปรียบเทียบการแสดงออกของยีนนี้ในอ้อย 3 พันธุ์ที่ได้รับโซเดียมคลอไรด์ 100 และ 200 มิลลิโมลาร์ เป็นเวลา 5 วัน พบว่าพันธุ์ที่ได้รับโซเดียมคลอไรด์ 100 มิลลิโมลาร์ การแสดงออกของยีนที่รากจะมีมากกว่าที่ใบ และพบว่าที่โซเดียมคลอไรด์ 200 มิลลิโมลาร์ การแสดงออกของยีนดังกล่าวที่ใบมากกว่าที่ราก โดยจะมีการแสดงออกสูงสุดในวันแรก การแสดงออกของยีนจะแสดงออกสูงสุดในพันธุ์ป่า โดยจะมีการแสดงออกสูงที่สุดเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นที่ 1 วัน หลังได้รับโซเดียมคลอไรด์