Abstract:
ทำการสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชนิดและประชาคมของเอคไคโนเดิร์มในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยกาหนดจุดสำรวจและเก็บข้อมูลตามพื้นที่เกาะที่คัดเลือกเป็นตัวแทนจำนวน 4 สถานี ได้แก่ 1) สถานีเกาะปลาหมึก 2) สถานีหาดเตย เกาะแสมสารทิศตะวันตก 3) หาดเทียน เกาะแสมสารทิศตะวันออก และ 4) สถานีเกาะจาน ทิศเหนือ ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม 2560 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2560 รวม 6 ครั้ง ได้ผลการศึกษาคือ พบเอคไคโนเดิร์มในแนวสำรวจ 9 ชนิดจาก 5 วงศ์ ได้แก่ กลุ่มดาวทะเล 1 ชนิด กลุ่มเม่นทะเล 3 ชนิดและกลุ่มปลิงทะเล 5 ชนิด เอคไคโนเดิร์มมีความชุกชุมหนาแน่นเฉลี่ยในรอบปี 21.36 ตัวต่อ 100 ตารางเมตร เม่นดำหนามยาว Diadema setosum เป็นเอคไคโนเดิร์มที่มีความชุกชุมหนาแน่นมากที่สุด พบเอคไคโนเดิร์ม 2 ชนิดที่มีแบบแผนการกระจายแบบสม่ำเสมอ 1 ชนิดมีการแพร่กระจายแบบสุ่ม และ 6 ชนิดที่มีแบบแผนการกระจายแบบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นกระจุก ความมากชนิดของเอคไคโนเดิร์มในพื้นที่ศึกษามีค่าเฉลี่ยในรอบปีเท่ากับ 4.25 ชนิด ดัชนีความสม่ำเสมอมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.189 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.181 ค่าดัชนีทั้งสองค่านี้มีค่าน้อยมาก แสดงให้เห็นว่าเอคไคโนเดิร์มในพื้นที่ศึกษามีโอกาสพบน้อยมากรวมทั้งความหลากหลายทางชนิดน้อยและพบเอคไคโนเดิร์มชนิดใดชนิดหนึ่งคือ เม่นดำหนามยาวเป็นจำนวนมากกว่าเอคไคโนเดิร์มชนิดอื่น ๆ สูงมาก เอคไคโนเดิร์มอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นดินทราย กินอินทรียวัตถุในดินตะกอนพื้นทะเลเป็นอาหาร โดยมีการกินอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน องค์ประกอบภายในทางเดินอาหารของเม่นดำหนามยาวประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ดินตะกอนพื้นทะเล (ทราย เศษซากปะการัง ซากของเปลือกหอย) 99.76% รองลงมาเป็นกลุ่มพืชทะเล ได้แก่ สาหร่ายทะเลต่าง ๆ 0.22% และซากสัตว์ทะเลซึ่งส่วนมากเป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มต่าง ๆ 0.01% ในขณะที่ปลิงดำแข็ง Holothuria atra และปลิงดานิ่ม Holothuria leucospilota มีองค์ประกอบภายในทางเดินอาหารซึ่งประกอบด้วยดินตะกอนพื้นทะเล (ทราย เศษซากปะการัง ซากของเปลือกหอย) 100% ปริมาณสารอินทรีย์ในตัวอย่างดินตะกอนหมู่เกาะแสมสารในปี 2560 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.63% ปริมาณสารอินทรีย์ในทางเดินอาหารและมูลของของเม่นดำหนามยาวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.40% และ 1.68% ตามลาดับ ส่วนปริมาณสารอินทรีย์ในทางเดินอาหารและมูลของปลิงดำแข็งและปลิงดำนิ่มมีค่าใกล้เคียงกันคือ 1.78%, 0.75%, 1.35% และ 0.70% ตามลาดับ เอคไคโนเดิร์มในบริเวณหมู่เกาะแสมสารมีบทบาทของการเป็นสัตว์ที่ช่วยในการหมุนเวียนสารอินทรีย์ในดินตะกอนซึ่งอาจอยู่ในรูปของการรวบรวมสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่เข้าสู่การขบวนการย่อยและดูดซึมแล้วปรับเปลี่ยนให้สารอินทรีย์โมเลกุลขนาดเล็กลงเหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตหน้าดินอื่น ๆ ได้ ใช้ประโยชน์ต่อไป ลักษณะเนื้อดินตะกอนพื้นทะเลเป็นดินทราย ประกอบด้วยสัดส่วนของดินทราย ดินโคลนและดินร่วนเท่ากับ 91.84%, 5.95% และ2.21% ตามลาดับคุณภาพน้ำทะเลในบริเวณพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 1 คุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ