Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุและปัจจัยความต้องการใช้น้ำในครัวเรือนพื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยความต้องการใช้น้ำในครัวเรือนพื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และ เพื่อศึกษาพื้นที่ต้องการใช้น้ำในครัวเรือนพื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามีข้อมูลเชิงพื้นที่และ
ข้อมูลเชิงบรรยายโดยกำหนดปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยโครงสร้างเศรษฐกิจ รวมถึงโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โปรแกรม ArcGIS ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแผนที่ (Map Layout) เพื่อจำแนกระดับความต้องการน้ำและโปรแกรมวิเคราะห์เชิงสถิติ SPSS เพื่อศึกษาความสัมพันธ์แต่ละปัจจัย ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานของพื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.75 อายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 48.51 ระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย/เทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 55.63 และมีอาชีพ
เกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 43.5
2. ปัจจัยโครงสร้างเศรษฐกิจของพื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง พบว่าส่วนใหญ่มีขนาดครัวเรือนขนาดเล็ก (1-4 คน) คิดเป็นร้อยละ 75.83 มีจำนวนแท็งก์น้ำ 1 ลูก คิดเป็นร้อยละ 57.25 มีฝักบัว คิดเป็นร้อยละ 68.75 มีจำนวนห้องสุขา (1-2 ห้อง) คิดเป็นร้อยละ 93.74 มีก๊อกสนามคิดเป็นร้อยละ 77.42 และปริมาณการใช้น้ำ 800 ลิตร คิดเป็นร้อยละ 75.75
3. ความสัมพันธ์แต่ละปัจจัยพื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวนห้องสุขา (𝑥1) เป็นตัวแปรอิสระที่สามารถนำมาพยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (0.05) โดยมีสมการการทำนาย คือ 𝑦 = 384.615 + 340.641𝑥1 ซึ่งมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.388 และความสัมพันธ์แต่ละปัจจัยพื้นที่ชนบทจังหวัดชลบุรี จำนวนสุขา (𝑥1) เป็นตัวแปรอิสระที่สามารถนำมาพยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (0.05) โดยมีสมการการทำนาย คือ 𝑦 = 0.245 + 1.003𝑥1 ซึ่งมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.365 อีกทั้งความสัมพันธ์แต่ละปัจจัยพื้นที่ชนบทจังหวัดระยอง จำนวนสุขา (𝑥1) และ ฝักบัว (𝑥2) เป็นตัวแปรอิสระที่สามารถนำมา
พยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (0.05) โดยมีสมการการทำนาย คือ
𝑦 = 0.075 + 1.382𝑥1 + (−0.157)𝑥2 ซึ่งมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.524 และ 0.184
4. พื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่มีพื้นที่ความต้องการน้ำน้อย พบว่าบริเวณ 11 คิดเป็นร้อยละ 77.67 และพื้นที่ชนบทจังหวัดระยอง ส่วนใหญ่มีพื้นที่ต้องการน้ำมาก พบบริเวณอำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมาและอำเภอบ้านค่าย คิดเป็นร้อยละ 52.48 อีกทั้งพื้นที่ชนบทจังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่มีพื้นที่ต้องการน้ำมาก พบว่าบริเวณอำเภอบ่อทอง อำเภอบ้านบึงและอำเภอหนองใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 50"