DSpace Repository

การทบทวนและการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียน

Show simple item record

dc.contributor.author สกฤติ อิสริยานนท์
dc.contributor.author โอฬาร ถิ่นบางเตียว
dc.contributor.author รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข
dc.contributor.author เมทินา อิสริยานนท์
dc.contributor.author ชัยณรงค์ เครือนวน
dc.contributor.author ธัชชนก สัตยวินิจ
dc.contributor.author จิรายุทธ์ สีม่วง
dc.contributor.author จุฑามาศ ชูสุวรรณ
dc.contributor.author วราภรณ์ ช่วยประคอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-04-25T07:06:33Z
dc.date.available 2021-04-25T07:06:33Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4045
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ หนึ่ง ประเมิน ทบทวนการพัฒนาที่ผ่านมาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเตะวันออก สอง ผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาที่ผ่านมาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก และสามนำเสนอทางเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียน ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์มีดังนี้ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกมีพัฒนาการมาทั้งหมด 3 ระยะด้วยกันคือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกในอดีต บนพื้นฐานอุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมที่ทดแทนการนำเข้า ยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกในช่วงก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกบนพื้นฐานอุตสาหกรรมเป็นฐานหลักในการพัฒนา จากพื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา และกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกในช่วงการเป็นประเทศอาเซียน ภายใต้การเกิดขึ้นของเขตเศรษฐกิจพิเศษ และโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่สอง พบว่า ผลจากการพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเตะวันออกมีผลทางด้านเศรษฐกิจได้แก่ รายได้ต่อหัวของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นแต่ไม่กระจาย เกิดความเหลื่อมล้ำและช่องว่างของรายได้ การเกิดอาชีพใหม่ ๆ ที่สืบเนื่องมาจากการเติบโตของการพัฒนาอุตสาหกรรม การล่มสลายของอาชีพเกษตรกรรม และปัญหาความยั่งยืนมั่นคงทางอาหาร ผลทางด้านสังคม ได้แก่ การผูกขาดของระบบการเลือกตั้งประชาธิปไตยแบบตัวแทน การแตกตัวทางสังคม การเกิดขึ้นของชนชั้นนำทางเศรษฐกิจการเมือง ผู้คนในชุมชนเริ่มมีวิถีชีวิตแบบปัจเจกบุคคลมากขึ้น การสูญเสียที่ดินทพกิน การล่มสลายของชุมชนดั้งเดิมและการสูญหายของมรดกทางวัฒนธรรม และปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ผลทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเกิดปัญหามลพิษ ทั้งทางน้ำ ดิน อากาศ และทางทะเล การเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการแย่งชิงทรัพยากร ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่สาม พบว่า การพัฒนาในพื้นที่ภาคตะวันออกควรอยู่ภายใต้แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กาหนดการพัฒนาตามความต้องการและสภาพความพร้อม ความเหมาะสมของพื้นที่โดยการจัดแบ่งกลุ่มพื้นที่ (zone) ในการพัฒนา การยอมรับความหลากหลายของการพัฒนาทางเลือกอื่น ๆ ที่นอกเหลือจากภาคอุตสาหกรรมและระบบทุนนิยม การให้ความสำคัญของการกระจายรายได้ควบคู่กับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ลงสู่ประชาชนฐานรากและการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนในท้องถิ่น ข้อเสนอในการจัดการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีข้อเสนอดังนี้ ควรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่บนฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนและใส่ใจสิ่งแวดล้อม การกระจายอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะให้กับประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีพื้นที่สีเขียวเป็นพื้นที่กันชนระหว่างอุตสาหกรรมกับชุมชน รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน การสร้างจิตสานึกร่วมในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการสิ่งแวดล้อม th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ชายฝั่งทะเลตะวันออก th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.title การทบทวนและการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียน th_TH
dc.title.alternative Review and development strategy adjustment of Eastern Seaboard Development program toward Asean Country en
dc.type Research th_TH
dc.author.email sakrit@buu.ac.th th_TH
dc.author.email olarn@buu.ac.th th_TH
dc.author.email yrungnapa2002@hotmail.com th_TH
dc.author.email methina_p@hotmail.com th_TH
dc.author.email chainarong49@buu.ac.th th_TH
dc.author.email Jirayoot.See@gmail.com th_TH
dc.author.email praw_ziza@hotmail.com th_TH
dc.author.email juthamatc@buu.ac.th th_TH
dc.author.email varaporn.buu@gmail.com th_TH
dc.year 2560 th_TH
dc.description.abstractalternative This qualitative research has three objectives. Firstly, the assessment and review of the past developing project in the coastal area of the Eastern Region is conducted. Secondly, the consequence and the final result of the past developing project in the coastal area of the Eastern Region is conducted. Thirdly, the proposal of optional strategy for developing in the coastal area of the Eastern Region is provided as a part of the ASEAN. The research result is categorized in three objectives as stated above. Based on the first objective, it has found that there are three stages of development in the coastal area of the Eastern Region. The first is the past development focused on agricultural industry and other replacing imported industries. The second is the development of the coastal area as a part of the ASEAN under the project of industrial-based principle mainly in Chonburi, Rayong, and Chachongsao and other nearby cities. The third is the current development as an ASEAN member under the formation of the Eastern Economic Corridor (EEC). Based on the second objective, there is a number of economic implications in the coastal area of the Eastern Region. These are the increase of people’s income but not cover to a wide range of ordinary citizens, the gap of income, new profession in response to industrial development, the decrease of agriculture and food sustainability. The social implications are monopolized of representative democracy, social cracking, the new born of political economy elites, individualism in the community, the loss of land, the dissolution of indigenous community and cultural heritage, and the local people’s health problem. The environmental implications are air, soil, water, sea pollution, the deterioration of natural resources and the usurpation of natural resources. Based on the third objective, the development in the Eastern region is under the sustainable development in the area of economic, social, and environmental arena. The requirement and readiness of the area should be categorized into zone areas. It is important to accept the diversity and different dimensions of development other than industrial sectors and capitalism. The consideration of the three interrelated issues is essential: these are income distribution, the economic growth, and the allocation of income into the local people in order to create the economic stability. There are further suggestions on the natural resources and environmental management. The change of paradigm in sustainable development can lead to environmental protection. The decentralization in setting up public policy to people participation in decision-making process is necessary. The green area and the increase of green area should be created in order to use as a buffer zone between industry and community. Public awareness in waste management from the beginning to the end as well as economic means is helpful to manage environment. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account