Abstract:
ในการวิจัยเรื่อง “เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วยยา Rivastigmine และยา Galantamine ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2560” กาหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วยยา Rivastigmine และยา Galantamine ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2560 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วยยา Rivastigmine และยา Galantamine ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2560 และ 3) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์หลังได้รับการรักษาด้วยยา Rivastigmine และยา Galantamine ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2560 การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informant) ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์โรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานครและจังหวัดชลบุรีโดยใช้สัมภาษณ์แบบเจาะลึกตัวต่อตัว (in-depth interview) คณะผู้วิจัยได้กาหนดจานวนของผู้ให้ข้อมูลหลัก จานวน 30 คน แบ่งเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ที่ใช้ยา Rivastigmine จานวน 15 คน และผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ที่ใช้ยา Galantamine จานวน 15 คน ภาพรวมผลการวิจัยพบว่า ยา Rivastigmine มีผลช่วยด้านการนอนหลับและสุขภาวะทางอารมณ์ ความใส่ใจ ความจา ลดความเครียดหรืออารมณ์ซึมเศร้าอาจจะได้ดีกว่าผลที่พบในตัวยา Galantamine แต่ยา Rivastigmin มักพบปัญหา คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายท้องบ่อยจากการใช้ยา หรือปัญหาการดึงแผ่นแปะโดยตัวผู้ป่วย ในขณะที่ ยา Galantamine แทบไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้ยา ดังนั้นการรับประทานยางทั้ง 2 ตัวดังกล่าวช่วยให้ผู้ป่วยมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านการทางานของจิตประสาท การนอนหลับ ช่วยยืดอายุของผู้ป่วยให้อายุยาวนานขึ้นถึงประมาณ 14 ปีเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักพบความบกพร่องในด้านความจา ภาษา ทักษะ ความรู้สึก ความใส่ใจ ทักษะการตีความ การรู้กาลเทศะและบุคคล การแก้ปัญหา และความสามารถในการทาหน้าที่ความเครียด ทาให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจาวันได้ยากลาบากขึ้น การได้รับยาทั้ง Rivastigmine และ Galantamine จะช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ดีขึ้นเช่น ชะลอตัวของการสูญเสียความทรงจา ปรับปรุงการทางานกับความรู้ความเข้าใจ ช่วยให้คนที่ทุกข์ทนทรมานนอนไม่หลับสามารถหลับได้เร็วขึ้นและเพลิดเพลินกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของการนอนหลับ ทาให้เพิ่มศักยภาพในการนอนหลับ พร้อมกันนี้ควรมีกิจกรรมที่ใช้ทักษะทางปัญญาเช่น อ่านหนังสือ เล่นหมากกระดาน เล่นดนตรี ตามที่ ชุติมา ทองวชิระ (บทคัดย่อ: 2553) ได้ทาการศึกษาเรื่อง ผลของบาบัดทางการพยาบาล โดยใช้ดนตรีร่วมกับการจัดสิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรมกระวนกระวายของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม พบว่า การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการบาบัดทางการพยาบาล โดยใช้ดนตรีร่วมกับการจัดสิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรมกระวนกระวายของผู้สูงอายุที่ภาวะสมองเสื่อมโดยใช้แนวคิดสองแนวคิดได้แก่ แนวคิดในการใช้ดนตรีบาบัดของ Gardner (1997) และแนวคิดในการจัดการสิ่งแวดล้อม ของผู้สูงอายุที่มีภาวะของสมองเสื่อมของ Hall (1988) พบว่า พฤติกรรมกระวนกระวายเริ่มลดลงตั้งแต่เข้าร่วมกิจกรรมบาบัดดังกล่าว การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ผสมผสานกับการออกกาลังกาย และรับประทานอาหารครบทุกหมู่ การบาบัดและดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะบทบาทของผู้ดูแล ซึ่งมักจะเป็นญาติหรือคู่สมรสอาจจะช่วยชะลอความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์ได้ การพูดได้หลายภาษาก็อาจจะชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้เนื่องจากต้องใช้ความจา ความคิด ความอ่าน ผสมผสานกัน นอกจากนี้ควรปรับเปรียบสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตช่วยให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากขึ้นและช่วยลดภาระของผู้ดูแลได้ดีขึ้น การเอาใจใส่ดูแลเรื่อง การรับประทานยาอย่างตรงเวลาคือ สิ่งที่จาเป็นในการชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์พร้อมกันนี้การดูแลที่ใกล้ชิดและอบอุ่นจะเป็นการเพิ่มความสุขและสภาวะอารมณ์ที่ดีให้กับผู้ป่วยพร้อมทั้งปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่สร้างความสดชื่นเบิกบานให้กับผู้ป่วยบางครั้งควรนาผู้ป่วยออกไปเที่ยวนอกสถานที่เพื่อสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ป่วยเป็นครั้งคราว การรับประทานอาหารพวกผักและผลไม้ ข้าวสาลี ธัญพืช ปลา และไวน์ สามารถลดช่วงเวลาการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้