DSpace Repository

กลไกการออกฤทธิ์ของโอมิพราโซลยับยั้งการดูดซึมแมกนีเซียมในลำไส้เล็กของหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-dawley

Show simple item record

dc.contributor.author ณรงค์ฤทธิ์ ทองอุ่น
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-04-07T01:34:16Z
dc.date.available 2021-04-07T01:34:16Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4018
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.description.abstract Acid peptic disorders คือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอันเนื่องมาจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารที่มากเกินไป รายงานทางการแพทย์บ่งชี้ว่าประชากรหลายล้านคนทั่วโลก การรักษาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือยากลุ่มโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ (proton pump inhibitors; PPIs) จึงทำให้ยากลุ่ม PPIs นี้เป็นหนึ่งในยาที่ขายดีที่สุดทั่วโลก และมีผู้ใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายล้านคนทั่วโลกเช่นกัน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 จนปัจจุบันมีรายงานทางการแพทย์หลายฉบับบ่งชี้ผลข้างเคียงของการใช้ omeprazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม PPIs ติดต่อกันมากกว่า 1 ปี ทำให้ระดับ Mg2+ ในกระแสเลือดต่ำอย่างรุนแรง โดยสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการดูดซึม Mg2+ ผิดปกติ แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัย การศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาผลของการให้ omeprazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม PPIs ในหนูขาว ผลการทดลองจากโครงการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการให้ยา omeprazole ซึ่งเป็นยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพราะอาหาร ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมีผลทำให้ปริมาณ Mg2+ ในกระแสเลือดของหนูลดต่ำลงกว่าปกติจริง คล้ายคลึงกับที่พบเจอในมนุษย์ เมื่อศึกษาระดับ Mg2+ ในปัสสาวะก็พบว่ามีระดับต่ำเช่นเดียวกัน บ่งชี้ว่าไม่มีการสูญเสีย Mg2+ ในปัสสาวะ จึงน่าจะมาจากการลดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ และเมื่อทำการศึกษาการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ก็พบว่า omeprazole มีฤทธิ์กดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้จริง เป็นการยืนยันสมมุติฐานคือ omeprazole มีฤทธิ์กดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ สัตว์กลุ่มที่มีระดับ Mg2+ ต่ำยังมีระดับ Vitamin D และ FGF-23 ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น แต่มีระดับ EGF ในกระแสเลือดลดลง แต่เมื่อศึกษาฤทธิ์ของฮอร์โมนต่อการดูดซึม Mg2+ พบว่า Vitamin D มีฤทธิ์เพิ่มการดูดซึม แต่ FGF-23 มีฤทธิ์กดการดูดซึม เป็นการศึกษาครั้งแรกที่บ่งชี้ว่าฮอร์โมนมีฤทธิ์ควบคุมการดูดซึม Mg2+ โดยตรง ควรศึกษาต่อเนื่องเกี่ยวกับกลไกควบคุมการดูดซึม Mg2+ ของ Vitamin D และ FGF-23 ต่อลำไส้เล็กต่อไป จากนั้นผู้วิจัยทำการศึกษากลไกที่ omeprazole กดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ โดยศึกษาการขับ HCO3¯ ในลำไส้เล็กส่วน duodenum และยังศึกษาในแผ่นเซลล์เพาะเลี้ยง Caco-2 พบว่า omeprazole มีฤทธิ์เพิ่มการขับ HCO3¯ ในลำไส้เล็กส่วน duodenum และในแผ่นเซลล์เพาะเลี้ยง Caco-2 ทั้งนี้ HCO3¯ จะมีฤทธิ์ลดความเป็นกรดด้านโพรงลำไส้ ทำให้เกิดการตกตะกอนของ MgCo3 ทาให้ free Mg2+ ลดปริมาณ ส่งผลให้การดูดซึม Mg2+ ลดลง นอกจากนั้นจากการศึกษาก่อนหน้านี้ผู้วิจัยพบว่าลำไส้เล็กของหนูขาวที่ได้รับ omeprazole มีการหดสั้นลงของ villous การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงศึกษาการแสดงออกของ CD3 protien ซึ่งเป็น T cell receptor เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ พบว่า omeprazole เพิ่มการแสดงออกของ CD3 บ่งชี้ว่ามีการอักเสบ และเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้มีการหดสั้นลงของ villous และส่งผลให้ลดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject หนูขาว -- ปริมาณแมกนีเซียม th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title กลไกการออกฤทธิ์ของโอมิพราโซลยับยั้งการดูดซึมแมกนีเซียมในลำไส้เล็กของหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-dawley th_TH
dc.title.alternative Mechanism of omeprazole suppressed intestinal magnesium absorption in male Sprague-Dawley rats en
dc.type Research th_TH
dc.author.email narongritt@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative Acid peptic disorders are the result from either excessive gastric acid secretion or diminished mucosal defense that affects millions people worldwide. The most effective therapeutic agents for these disorders is proton pump inhibitors (PPIs), which are the fifth best-selling drug that has been taken by millions of chronic users worldwide. However, since 2006, there is a growing body of evidence indicating that omeprazole, a PPIs, induced hypomagnesemia is a serious side effect of PPIs in chronic users. The mechanism of PPIs induced systemic Mg2+ deficit is currently unclear. The present study aimed to elucidate the direct effect long-term omeprazole administrations in male rats. Our result showed omeprazole significantly suppressed plasma Mg2+ level and urinary Mg2+ excretion. Thus, omeprazole induced hypomagnesemia in rats. By using Ussing chamber techniques, it was shown that omeprazole markedly suppressed duodenal Mg2+ absorptions. Omeprazole increased vitamin-D and FGF-23, but decreased EGF, in plasma of rats. Vitamin-D and FGF-23 could modulate duodenal Mg2+ transport in control, but not omeprazole-treated, animal. Omeprazole markedly enhanced duodenal HCO3¯ secretion. We hypothesized that a higher luminal HCO3¯ secretion could lead to a suppression of small intestinal Mg2+ absorption. Secreted HCO3¯ could increased luminal pH and decreased Mg2+ solubility, since luminal soluble Mg2+ decreased from 79.61 to 8.71% when luminal pH increased from ~ 5 to 7.8. Histological study revealed that omeprazole increased T-cell receptor CD3 expression. Indicated omeprazole induced duodenal inflammation. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account