Abstract:
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์และมีแหล่งเพาะปลูกอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ ในเมล็ดข้าวสีดำและแดงมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการรักษาโรคเรื้อรังและมีฤทธิ์ยับยั้งการรุกรานของเซลล์มะเร็งโดยการไปยับยั้งเอนไซม์คอลลาจิเนส ปัจจุบันจึงมีการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในข้าวที่มีสีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาข้าวเหนียวสังข์หยดหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าข้าวเหนียวแดงซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ที่มีการเพาะปลูกอยู่เฉพาะพื้นที่ในเขตจังหวัดสงขลา โดยทำการศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดข้าวกล้องข้าวเหนียวสังข์หยดและทดสอบฤทธิ์การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์คอลลาจิเนส โดยนำข้าวกล้องข้าวเหนียวสังข์หยดมาสกัดด้วย 75% เอทิลแอลกอฮอล์ จากนั้นหาปริมาณแอนโทไซยานินและสารประกอบฟีนอลรวมด้วยวิธี pH differential และ Follin Ciocalteu reagent assay ตามลำดับ ทาการทดสอบความสามารถในการรีดิวซ์เหล็กด้วยวิธีการ Ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay จากนั้นทดสอบความสามารถในการกาจัดอนุมูลอิสระด้วยวิธี Diphenyl-2-picryl-hydrazyl radical (DPPH) assay และ hydrogen peroxide assay และทดสอบฤทธิ์การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ collagenase ด้วยวิธี collagenase assay การทดลองพบว่าสารสกัดจากข้าวกล้องเหนียวสังข์หยดมีปริมาณแอนโทไซยานินและสารประกอบฟีนอลรวมเฉลี่ย 19.566 ไมโครกรัม และ 0.295 มิลิกรัมต่อน้ำหนักแห้งของผงข้าวเหนียวสังข์หยด 1 กรัม มีความสามารถในการรีดิวซ์เหล็กเฉลี่ย 1.761 ± 0.121 มิลิกรัมต่อน้ำหนักแห้งของผงข้าวเหนียวสังข์หยด 1 กรัม และมีความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระชนิดต่าง ๆ ได้แตกต่างกันเมื่อเทียบกับสารละลายมาตรฐาน ascorbic acid จากการศึกษาความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส พบว่าสารสกัดข้าวกล้องข้าวเหนียวสังข์หยดที่ความเข้มข้น 6 mg/mL มีค่าเฉลี่ยของการยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนสสูงสุดคือร้อยละ 49.31 และ 28.08 ในช่วงเวลา 4 และ 8 นาที ตามลำดับ ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้อาจนำไปศึกษาสารออกฤทธิ์ที่สำคัญและพัฒนาผลิตภัณฑ์เช่นอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อมของผิวหนังต่อไป