DSpace Repository

ประสิทธิภาพของเว็บไซต์รายการอาหารแลกเปลี่ยนในรูปแบบภาพหมุน 360 องศา ต่อการควบคุมพลังงานและสารอาหาร ในกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

Show simple item record

dc.contributor.author อุไรภรณ์ บูรณสุขสกุล
dc.contributor.author อลงกต สิงห์โต
dc.contributor.author นริศา เรืองศรี
dc.contributor.author กนกนุช นรวรธรรม
dc.contributor.author เพชรรัตน์ ตรงต่อศักดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-12-29T07:10:22Z
dc.date.available 2020-12-29T07:10:22Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3998
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์รายการอาหารแลกเปลี่ยนในรูปแบบภาพหมุน 360 องศา สำหรับการควบคุมพลังงานและสารอาหาร และศึกษาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ที่ผลิตขึ้นต่อ การควบคุมพลังงานและสารอาหารในกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยเป็นผู้ใหญ่ตอนต้นจำนวน 66 คน ได้รับการสอนรายการอาหารแลกเปลี่ยน โดยแบ่งเป็น กลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยเอกสารจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 32 กลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยโมเดลรายการอาหารเสมือนจริง จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 38 และกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยเว็บไซต์รายการอาหารแลกเปลี่ยนในรูปแบบภาพหมุน 360 องศา จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 30 และทำการศึกษาตัวแปร 5 ด้าน ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักและสัดส่วนของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ และการประเมินความพึงพอใจต่อเครื่องมือและวิธีการสอน ผลการศึกษาพบว่า ผลการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักและสัดส่วนของร่างกายไม่มีความแตกต่างภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ผลค่าเฉลี่ยของการบริโภคอาหารต่อวันพบว่า หลังการทดลองของกลุ่มที่สอนด้วยเว็บไซต์มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับก่อนทดลอง แต่อีก 2 กลุ่มพบว่ามีค่าเพิ่มขึ้น ผลคะแนนความทดสอบความเครียด พบว่า กลุ่มที่สอนด้วยเอกสารมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01) แต่อีก 2 กลุ่มไม่พบความแตกต่างภายในกลุ่ม ผลการทดสอบทางด้านความรู้พบว่าทั้ง 3 กลุ่มเพิ่มความรู้หลังการทดลองได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p=0.00) และสุดท้ายผลของการประเมินความพึงพอใจต่อเครื่องมือและวิธีการสอน พบว่ามีความพึงพอใจในระดับดี และไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า เว็บไซต์รายการอาหารแลกเปลี่ยนในรูปแบบภาพหมุน 360 องศา ต่อการควบคุมพลังงานและสารอาหารในกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน มีประสิทธิภาพในการให้คำปรึกษาได้เทียบเท่ากับวิธีที่สอนด้วยเอกสารและโมเดลอาหาร การศึกษาในอนาคตควรพัฒนากระบวนการให้ความรู้และเนื้อหา การส่งเสริมการออกกาลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคู่ไปกับการพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ในการสอนด้านอาหารแลกเปลี่ยน เพื่อให้กระบวนการควบคุมน้ำหนักและป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject โรคอ้วน th_TH
dc.subject บุคคลน้ำหนักเกิน th_TH
dc.subject การควบคุมน้ำหนัก th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ประสิทธิภาพของเว็บไซต์รายการอาหารแลกเปลี่ยนในรูปแบบภาพหมุน 360 องศา ต่อการควบคุมพลังงานและสารอาหาร ในกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน th_TH
dc.title.alternative An Effectiveness of 360-Degree-View Food Items on Web-Based Food Exchange Lists for Controlling Nutrients and Energy Intake in Early adulthood with Overweight and Obesity en
dc.type Research th_TH
dc.author.email uraiporn@go.buu.ac.th th_TH
dc.author.email alongkote@go.buu.ac.th th_TH
dc.author.email narisa.nr@gmail.com th_TH
dc.author.email kanoknuch@buu.ac.th th_TH
dc.author.email petchara@buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative This study aimed to develop a 360-degree view of food exchange lists website for controlling energy intake and to study the efficacy of this website on energy restriction among early adults with overweight and obesity. The sixty-six adult participants were taught an exchange meal program, divided into a group that was taught by documents (21 participants, 32%), a group that was taught by a virtual food model (25 participants, 38%), and the group that was taught by the website (20 participants, 30%). Five parameters were assessed as follows: weight change and body composition, dietary consumption, emotion, knowledge, and satisfaction of tools and methods. The results found that weight change and body composition did not differ within the group and between the groups. The average daily food intake was found that after the intervention, the website group tended to decrease daily food intake compared to before the intervention, but the other 2 groups found that the daily food intake tended to increase. The stress test scores showed that the documented group showed significant changes in stress mood within group (p = 0.01), but the other two groups found no differences within group. The results of the knowledge assessment showed that all three groups had significantly increased their knowledge after the intervention (p = 0.00). Finally, the results of the satisfaction assessment of tools and methods found that all three groups had a good level of satisfaction and no differences were found between the groups. This study suggests that 360-degree view of food exchange lists website has efficiency on self-monitoring of energy restriction in early adults with overweight and obesity. It is as effective as counseling as documented and food model methods. For further studies, food exchange lists education should be developed the processes and its content. In addition, physical activity promotion and behavior modification along with the development of tools for teaching food exchange lists should be integrated to make the strategy of weight control and prevention of overweight and obesity more efficient. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account