dc.contributor.author |
วัชรพงษ์ แจ่มสว่าง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-05-01T06:57:04Z |
|
dc.date.available |
2020-05-01T06:57:04Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3920 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษานี้เป็นการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ภาพดิจิตอล ( digital image
processing) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณตัวยาสำคัญ Rifampin ในผลิตภัณฑ์ยาเพื่อรักษาโรควัณโรคเนื่องจากเทคนิค digital image processing เป็นเทคนิคที่ยังไม่เคยมีการนำมาใช้วิเคราะห์ยาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคมาตรฐานเพื่อใช้เป็นวิธีการอ้างอิงในการหาปริมาณ rifampin ในตัวอย่าง โดยตามข้อกำหนดของ the United States Pharmacopeia 39 (USP 39) กำหนดให้ใช้เทคนิค High Performance Liquid Chromatography (HPLC) ในการวิเคราะห์ ดังนั้นเทคนิคดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เป็นวิธีอ้างอิงในการวิเคราะห์หาปริมาณที่แท้จริงของตัวยา Rifampin เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ด้วยเทคนิค digital image processing ต่อไป โดยเทคนิค HPLC ที่นำมาใช้ในการศึกษานี้ได้มีการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ให้มีความเหมาะสมกับเครื่องมือและสารเคมีที่มีอยู่ ซึ่งมีการพัฒนาและเปรียบเทียบชนิดของวัฏภาคเคลื่อนที่ (mobile phase) รวมทั้งอัตราเร็วการไหลของวัฏภาคเคลื่อนที่ (flow rate) วิธีวิเคราะห์ที่มีความถูกต้องแม่นยำที่สุดคือ การใช้ column ชนิด Hypersil C18 ขนาด 250 x 4.6 mm ขนาดอนุภาค 5 um อัตราส่วนวัฏภาคเคลื่อนที่คงที่คือ Monosodium phosphate (NaH2PO4) ความเข้มข้น 0.01 M ต่อ Acetonitrile (ACN) เท่ากับ 60:40 โดยมีอัตราเร็วการไหล 1.0 mL/min มี injection volume เท่ากับ 20 uL และตรวจวัดสัญญาณของ
rifampicin ด้วย UV detector ที่ความยาวคลื่น 360 nm โดยการวิเคราะห์ดังกล่าวมีค่า Limits of
Detection (LOD) เท่ากับ 3.00 ng/ml และ Limits of Quantitation (LOQ) เท่ากับ 0.17 ug/ml มีความถูกต้องแม่นยำในการวิเคราะห์โดยมี %recovery อยู่ในช่วง 95-102% และ %RSD อยู๋ในช่วง 0.1-0.7% ซึ่งน้อยกว่า 2% และเทคนิค HPLC ดังกล่าวที่พัฒนาขึ้นได้นำมาประเมินประสิทธิภาพด้วยการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีขายในท้องตลาดสองชนิดได้ จากนั้นเตรียมตัวอย่างยา Rifampin เพื่อเป็นตัวอย่างผลิตภัณ์ในการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ด้วย digital image processing โดยเตรียมในรูปแบบยาเม็ดให้มีความเข้มข้นของตัวยา Rifampinอยู่ในช่วง 30-150 g/เม็ด และตอกด้วยเครื่อง rotary tableting machine ด้วยแรงตอก 5 นิวตัน จากนั้นวิเคราะห์คุณสมบัติเบื้องต้นของยาเม็ดและวิเคราะห์ปริมาณตัวยา rifampin ด้วย HPLC ข้างต้น และนำไปศึกษาด้วยเทคนิค digital image processing โดยใช้ chemometrics method หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลจาก digital image processing กับความเข้มข้นที่แท้จริงของยา rifampin ในยาต้นแบบ โดยแบ่งข้อมูลภาพถ่ายจากแสง visible และแสง UV-A สร้าง model ความสัมพันธ์ได้ 6 ชนิด ผลที่ได้พบว่า PLS model ของข้อมูลภาพถ่ายด้วยรังสี UV-A ให้ผลการวิเคราะห์ที่ดีที่สุดโดยมี linearity ที่ The correlation coefficient (r) 0.9445 โดยมีความถูกต้องแม่นยำสูง การศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่าสามารถใช้เทคนิค digital image processing ร่วมกับ chemometrics มาวิเคราะห์ปริมาณยา Rifampin ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดังผลการวิเคราะห์นี้ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณ
แผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การประมวลผลภาพ -- เทคนิคดิจิตอล |
th_TH |
dc.subject |
ยา |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณยา Rifampin ในเม็ดยาโดยการเทียบด้วยการประมวลภาพดิจิตอล |
th_TH |
dc.title.alternative |
Developing Method to Analyze Dose of Rifampin with Digital Image Processing Techniques |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
watcharaphong@go.buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2563 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This study is the development of an analytical method by using the digital image
processing technique for the content determination of Rifampin in pharmaceutical products.
Since the digital image processing technique is a technique that has not been used to analyze
rifampin, it is necessary to use standard techniques to assist as a reference method to quantify
of rifampin in the samples. According to the United States Pharmacopeia 39 ( USP 39)
requirements of the quantitative method of rifampin is High- Performance Liquid
Chromatography (HPLC) technique. Therefore, HPLC techniques have been used to analyze
the actual concentration of rifampin in samples for the development of digital image
processing techniques. In this study, the HPLC method was developed to a suitable method
for existing instruments and chemicals by developing and comparing the type and ratio of the
mobile phase and flow rate. The best development of the HPLC method was performed by
using is a Hypersil C18 column, 250x4. 6 mm with particle size 5 um. The separations were
carried out isocratic elution with a mobile phase comprised of 0.01 M Monosodium phosphate
(NaH2PO4):Acetonitrile (ACN) ratio 60:40. The flow-rate was maintained at 1.0 mL/min, and a
20 uL sample volume was injected for all experiments. The signal of rifampin was detected
by UV detector at 360 nm. This method has accuracy and precision which are shown
%recovery in the range of 95-102% and %RSD in the range of 0.1-0.7%, which is less than 2%
as the requirement. Moreover, the developed HPLC method is evaluated efficiency by
analyzing two of rifampin pharmaceutical commercial products. Then the rifampin tablets are
prepared as samples for the development of the digital image processing method. The
amount of rifampin in the preparation tablets is between 30- 150 g/ tablet and they are
compressed with the rotary tableting machine with a force of 5 newtons. After that, the
samples of rifampin tablets are analyzed for the basic properties of tablets and quantify
rifampin in dosage form with the HPLC method. All of the rifampin tablets was studied using
digital image processing techniques with chemometrics method to find the relationship
between digital image processing data and the actual concentration of rifampin in the tablets.
Digital image data are divided into data from visible light and UV- A to create a relationship
model with 6 types. The results show that the PLS model of UV-A imaging data provides the
best analysis results, the linearity values at the correlation coefficient ( r) 0. 9445 with high
accuracy and precision. This study can conclude that the digital image processing techniques
combined with chemometrics can quantify Rifampin in the dosage form in a fast and simple
way and be demonstrated with the obtained results. |
th_TH |