dc.contributor.author | พรชัย จูลเมตต์ | |
dc.contributor.author | สมชาย ตรีทิพย์สถิตย์ | |
dc.contributor.author | ฉวีวรรณ ชื่นชอบ | |
dc.contributor.author | จิดาภา จุฑาภูวดล | |
dc.contributor.author | กนิษฐา ภู่พวง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-04-14T10:39:31Z | |
dc.date.available | 2020-04-14T10:39:31Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3885 | |
dc.description.abstract | โรคหลอดเลือดสมองนับเป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 100 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 50 ราย ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวเป็นรายกลุ่มสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย 2) แบบประเมินดัชนีบาร์เธลเอดีแอล 3) แบบคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจากโรคความดันโลหิตสูง 4) แบบวัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจากโรคความดันโลหิตสูงที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย แผนการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว สื่อวีดิทัศน์ โปสเตอร์ และคู่มือการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจากโรคความดันโลหิตสูงซึ่งได้ผ่านการหาความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ภายหลังการได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพที่ให้การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรนำโปรแกรมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวนี้ไปใช้ในการให้การดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มนี้เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนั้น แล้วนักวิจัยควรทำการศึกษาเพื่อลดระยะเวลาของโปรแกรมลงทั้งนี้ยังคงผลการวิจัยเช่นเดิม | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | โรคหลอดเลือดสมอง | th_TH |
dc.subject | โรคความดันโลหิตสูง | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน | th_TH |
dc.title.alternative | The effectiveness of motivation and family participation program on self–care behavior for preventing stroke among community–dwelling hypertensive older adults | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | pornchai@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2562 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Stroke has been a major health problem in Thailand. Hypertension plays as a risk and important factor causing this disease. This two-group pre test and post test quasi*experimental research aimed to study the effectiveness of motivation and family participation program on self-care behavior for stroke prevention among community-dwelling hypertensive older adults. Samples were 100 community-dwelling hypertensive older adults who are at risk of stroke. Simple random technique was used to assign them into experimental and control group equally. The experimental group received four weekly 2-hour sessions of The Motivation and Family Participation Program while the control, group received usual care. Instruments used in this study consisted of 1. Screening tools (Thai MMSE 2002, Bathel ADL Index, The Stroke Rrisk Behavior Assessment, Thai Geriatric Depression Scale), 2. Collecting Data Tools (The Demographic Data Questionairre, Self care Behavior Scale for Stroke Prevention due to Hypertension with its reliability of .89), and 3. Experimental Tools (Plan of Motivation and Family Participation Program on Self-Care Behavior for Stroke Prevention, VDO, Posters, and Self Care Mannual for Stroke Prevention due to Hypertension). Data were computed using SPSS by frequency, percentage, mean, standard deviation, and dependent and independent t test. Findings revealed that after receiving the intervention, mean score of self care behavior of experimental group was significantly higher than that of before receiving intervention (t49 =32.87, p < .01). Moreover, after reciving the intervention, mean score of self care behavior of experimental group was significantly higher than that of the control group (t98 =20.95, p < .01). Nurses and health professionals should launch this program for community-dwelling hypertensive older adults so to prevent them from stroke. Additionally, researchers should conduct research to decrease the duration of the program for better result. | en |