DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการอยู่อาศัยที่เอื้อต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ดนัย บวรเกียรติกุล
dc.contributor.author ทัศวิญา พัดเกาะ
dc.contributor.author รจฤดี โชติกาวินทร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-14T08:20:48Z
dc.date.available 2020-04-14T08:20:48Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3880
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ พัฒนารูปแบบการอยู่อาศัยที่เอื้อต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ทดลองใช้รูปแบบการอยู่อาศัยที่เอื้อต่อสุขภาพของ ผู้สูงอายุพร้อมการประเมินผลการใช้รูปแบบ ทำการศึกษาโดยกำหนดรูปแบบ ของอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ดังที่ James Wentling ได้ให้แนวคิดไว้ใน Time-Saver Standard for Landscape Architecture โดยกำหนดขนาดพื้นที่ การใช้พื้นที่ และการใช้งานอุปกรณ์ การดำเนินชีวิตต่าง ๆ ภายในห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้อง รับประทานอาหาร ห้องครัว และห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ ดำเนินการรับสมัครอาสาสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 3 ครอบครัว (6 ราย) อายุตั้งแต่ 71 – 83 ปี เพื่ออาศัยอยู่ในบ้านของตนเองที่มีการจัดการดัดแปลงปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้เป็นเวลา 2 เดือน ทำการวัดสมรรถภาพทางกาย 3 ครั้งด้วยเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ จากสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา (2548) พร้อมทั้งการทดสอบสุขภาพจิต ด้วยโดยใช้แบบสอบถามสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ (Thai Geriatric Mental Health Assessment: T-GMHA-56) คือ ครั้งที่ 1 ก่อนเข้าสู่ โปรแกรมการวิจัย ครั้งที่ 2 ระหว่างอยู่ในโปรแกรมการวิจัย และครั้งที่ 3 หลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการวิจัยพร้อมทั้งการออกกำลังกายที่กาหนดไว้ในระหว่างโปรแกรมการวิจัยด้วยผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ของอาสาสมัครผู้สูงอายุทั้ง 3 ครอบครัวผ่านการทดสอบสมรรถนะทางกายในครั้งที่ 1 สำหรับสมรรถนะในด้านกำลังกายโดยงอแขนยกน้ำหนัก 30 วินาที, เดินเร็วอ้อมหลัก และยืนยกเข่าขึ้น-ลง 2 นาทีในระดับดีมากจนถึงปานกลาง ในขณะที่สมรรถนะทางกาย ในด้านความแข็งแรงของของกล้ามเนื้อโดยการยืน-นั่ง บนเก้าอี้ 30 วินาที ผลการทดสอบอยู่ในระดับต่ำมากจนถึงปานกลาง ส่วนสมรรถนะทางกายในด้านความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อโดยการนั่งงอตัวไปข้างหน้า และแตะมือด้านหลัง ผลการทดสอบอยู่ในระดับต่ำมากจนถึงดีมาก อย่างไรก็ตาม ในการทดสอบครั้งที่ 2 ผลการทดสอบจากทุกสถานีของอาสาสมัครผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการพัฒนาที่ดีขึ้นกว่าการทดสอบครั้งที่ 1 และผลการทดสอบครั้งที่ 3 กลับลดลงต่ำกว่าผลการทดสอบครั้งที่ 2 แต่ยังสูงกว่าผลการทดสอบครั้งที่ 1 เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม อาสาสมัครผู้สูงอายุ มีความรู้สึกพึงพอใจและคิดว่าตนเองมีสุขภาพที่ดีขึ้นภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการวิจัยในครั้งนี้ นอกจากนี้ ผลการทดสอบ สุขภาพจิตทั้ง 3 ครั้ง พบว่า อาสาสมัครผู้สูงอายุเกือบทุกท่านมีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไปและเป็นปกติเท่ากับคนทั่วไป th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การพัฒนารูปแบบการอยู่อาศัยที่เอื้อต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Developing of Habitat supporting elderly peoples Saensuk sub-district Muang district Chonburi province en
dc.type Research th_TH
dc.author.email mjz_tad@yahoo.com th_TH
dc.author.email rotruedee@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative This research has two important objectives, which are to develop living patterns that are conducive to the health of the elderly. Try to use the model of living that is conducive to the health of the elderly with evaluation of the use of the model. To conduct the study by determining the types of residential buildings for the elderly, as James Wentling gave the idea in Time-Saver Standard for Landscape Architecture, by specifying the size of the space using space and the using of various equipment for lifestyle in the bedroom, living room, dining room, kitchen and bathroom for the elderly. Recruitment of elderly volunteers to participate in the research project, consisting of 3 families (6 peoples) aged during 71 - 83 years, for living in their own homes that are managed and modified to improve the internal environment in according to the model of this research for 2 months. Performing of 3 physical measurements with the standard of physical fitness for the elderly by the Sports Science Bureau (2005) along with mental health testing by questionnaire of Thai Geriatric Mental Health Assessment:T-GMHA-56. These were, the 1st before research program, the 2nd while being in the research program and the 3rd after the research program as well as the exercise program during the research program. The results found that the majority of the elderly volunteers in all 3 families. passed the 1st physical fitness test for power fitness by 30 Seconds Arm Curl, Agility Course, and 2 Minutes Step Test, in very good to moderate. While the physical strength of the muscles by 30 Seconds Chair Stand, the test results are very low to moderate. For physical performance in the flexibility of the muscles by Sit and Reach and Back Scratch Test. The test results were very low to very good. However, in the 2nd test, the results from all stations of the elderly volunteers were better than the 1st test. And the 3rd test results were lower than the 2nd test result but still higher than the 1st test result mostly. Anyway, the elderly volunteers satisfied and thought that they had better health after participating in this research program. Moreover, the result of 3 mental health tests showed that almost elderly volunteers had better mental health than normal people and were as normal as normal people. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account