Abstract:
ไพลินนั้นเป็นชื่อทางอัญมณีของแร่คอรันดัมที่มีสีน้ำเงินมีแหล่งกำเนิดได้หลายแบบ ชนิดของหินต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน แสดงความสัมพันธ์กับองค์ประกอบทางเคมีของไพลินที่เป็นธาตุร่องรอยรวมถึงมลทินภายในที่เป็นแร่มลทินด้วย ดังนั้นการหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วน Fe/Ti กับ Cr/Ga จึงถูกนำมาใช้ในการจำแนกแหล่งพลอย ดังนั้นการใช้ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนดังกล่าว
ประกอบกับมลทินแร่ที่พบในไพลินจึงน่าจะสามารถใช้จำแนกไพลินจากไทย
ศรีลังกา ไนจีเรีย และมาดากัสการ์ได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีในการจำแนกไพลินจากประเทศไทย ศรีลังกา มาดากัสการ์ และไนจีเรียเนื่องจากในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีทั่วไปในประเทศไทยไม่มีเครื่องมือที่ผลงาน
ศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารเชิงวิชาการใช้ในการจ้าแนกแหล่งอัญมณี
มลทินภายใน (inclusion) ที่สามารถใช้เป็นข้อบ่งชี้ในการจำแนกแหล่งได้ ได้แก่ มลทินเส้น
ไหมสีน้ำตาลแดงที่มักพบเป็นลักษณะแผ่นแบนพบในตัวอย่างไพลินจากบางกะจะ มลทินลักษณะ
แกนกลางสีเหลืองพบได้ในตัวอย่างจากดิเอโก การวัดองค์ประกอบทางเคมีด้วย EDXRF พบว่าปริมาณ Cr2O3 วัดได้ค่าต่ำกว่าขอบเขตของเครื่องมือ เมื่อนำมาหาค่าความสัมพันธ์ในสัดส่วน Cr/Ga จึงมีค่าเป็น 0 จึงหาค่าความสัมพันธ์ Fe2O3/TiO2 พบว่าไพลินจากบางกะจะมีค่าสูงกว่าไพลินจากแหล่งอื่นที่ศึกษา และไพลินจากแหล่งศรีลังกามีค่าสัดส่วน Fe2O3/TiO2 น้อยที่สุดสอดคล้องกับลักษณะของแหล่งกำเนิด