DSpace Repository

การพัฒนาวัคซีนและชุดตรวจในกลุ่มเอนไซม์ย่อยสลายโปรตีนสำหรับโรคพยาธิใบไม้ตับ opisthorchiasis viverrini ในหนทูดลอง

Show simple item record

dc.contributor.author พรอนันต์ เกื้อไข่
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-11T09:18:37Z
dc.date.available 2020-04-11T09:18:37Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3862
dc.description.abstract พยาธิใบไม้ตับ Fasciola gigantica และ Opisthorchis viverrini มีการระบาดมากในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยพยาธิใบไม้ตับทั้ง 2 ชนิดนี้ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินน้ำดีและ ตับ สามารถพบได้ทั้งในสัตว์และมนุษย์ เช่น ถุงน้ำดีอักเสบ นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิกิริยาข้ามของซีรั่มกระต่ายที่ติดเชื้อ F. gigantica กับ O. viverrini ด้วยวิธี ELISA พบว่ามีค่า OD = 0.805 วิธี Western blotting พบการแสดงออกของโปรตีนขนาด 72-95 kDa และ Immunohistochemistry staining พบว่า antibody ของกระต่ายที่ติดเชื้อ F. gigantica มีการย้อมติด บริเวณเยื่อบุทางเดินอาหาร ไข่ และอัณฑะของ O. viverrini ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ามีการเกิด cross reaction ระหว่าง antibody ของกระต่ายที่ติดเชื้อ F. gigantica ต่อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini นอกจากนี้พบว่า แอนติบอดีต่อ FgES สามารถทำปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันกับเนื้อเยื่อของ O. viverrini อย่างจำเพาะที่บริเวณ gut, eggs, ovum และ uterus ของพยาธิซึ่งสามารถสรุปใน เบื้องต้นได้ว่า โปรตีน excretory secretory จาก F. Gigantica นอกจากนี้ได้ศึกษาการแสดงออกของโปรตีน SOD ในพยาธิ O. viverrini ระยะตัวเต็มวัย ด้วยแอนติบอดีต่อ Fasciola gigantica cytosolic SOD (FgSOD) โดยวิธี Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA), Western blotting และ Immunohistochemistry พบว่า มีค่า O.D. เท่ากับ 0.733 และแอนติบอดีมีความจำเพาะต่อโปรตีนที่น้ำหนักโมเลกุลประมาณ 17.5 กิโลดาลตัน ซึ่ง สอดคล้องกับขนาดของโปรตีน SOD นอกจากนี้มีการแสดงออกในเนื้อเยื้อพยาธิที่บริเวณออวุล และอัณฑะ จึง สรุปได้ว่าแอนติบอดีต่อ FgSOD สามารถเกิดปฏิกิริยากับโปรตีน SOD ในพยาธิ O. viverrini จากการศึกษานี้ พบว่ามีโอกาสพัฒนาเป็นวัคซีนหรือชุดตรวจโรคเพื่อใช้ในการวินิจฉัยได้ในอนาคต และจากการสังเคราะห์และ ศึกษาคุณลักษณะของ OvCatF และ OvLAP ด้วยวิธี PCR พบว่ายีน OvCatF และ OvLAP มีความใกล้เคียง กับพยาธิใบได้ตับ Clonorchis sinensis หลังจากนั้นได้ทำการสังเคราะห์โปรตีนในแบคทีเรีย (Escherichia coli) BL21 (DE3) พบว่าจากการวิเคราะห์ด้วย SDS-PAGE รีคอมบิแนนท์โปรตีน OvCatF และ OvLAP มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 35 และ 61 กิโลดาลตัล ตามลำดับ และได้นำโปรตีนที่ได้ไปทำให้บริสุทธิ์ด้วย NiNTA affinity และในงานวิจัยนี้จะนำไปศึกษาคุณลักษณะและพัฒนาเป็นวัคซีนและการวินิจฉัยการติดเชื้อ พยาธิใบไม้ตับ O. viverrini ต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject พยาธิใบไม้ในตับ th_TH
dc.subject วัคซีน th_TH
dc.subject วัคซีนโรคพยาธิใบไม้ตับ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การพัฒนาวัคซีนและชุดตรวจในกลุ่มเอนไซม์ย่อยสลายโปรตีนสำหรับโรคพยาธิใบไม้ตับ opisthorchiasis viverrini ในหนทูดลอง th_TH
dc.title.alternative Developments of the vaccines and diagnosis using protease enzymes for opisthorchiasis viverrini in mice model en
dc.type Research th_TH
dc.author.email pornanan@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Liver fluke Fasciola gigantica and Opisthorchis viverrini are one of the most commom parasitic infections in the northeast region of Thailand. Both types of liver fluke cause diseases in the biliary tract and liver in both animals and humans. There are also relationship with bile duct cancer (colangiocarcinoma). There are currently no vaccine used to prevent liver fluke infections. Therefore, the objective of this research is to study the cross reaction of serum rabbits infected with F. gigantica and O. viverrini by enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) method; OD = 0.805. Western blotting method showed 72-95 kDa protein expression. Immunohistochemistry staining found that the antibodies of rabbits infected with F. gigantica were stained on the lining of the digestive tract, eggs and testes of O. viverrini. Therefore, it was concluded that this result showed a cross reaction between the antibodies of rabbits infected F. gigantica and O. viverrini. In addition, it was found that antibodies against FgES were able to interact with the specific tissues of O. viverrini at the gut, eggs, ovum and uterus of the parasite. The expression of SOD protein in adult O. viverrini with antibodies against F. gigantica cytosolic SOD (FgSOD) by ELISA, western blotting and immunohistochemistry were found to have an OD value of 0.733 and the antibodies were specific to proteins with a molecular weight of approximately 17.5 kDa which corresponds to the size of the SOD protein. Therefore, it can be concluded that antibodies against rFgSOD can interact with the SOD protein in O. viverrini. From this study, it is possible to develop a vaccine or diagnostic kit for opisthorchiasis and fasciolosis diagnosis. On the other hand, OvCatF and OvLAP were cloned and characterized by using PCR, the OvCatF and OvLAP genes are similar to the liver fluke Clonorchis sinensis. After that, the protein (rOvCatF and rOvLAP) were expressed in bacteria (Escherichia coli) BL21 (DE3), found that after analysis by using SDS-PAGE, recombinant proteins OvCatF and OvLAP have molecular weight of 35 and 61 kDa, respectively. rOvLAP and rOvCatF were purified by Ni-NTA affinity, the results showed purified rOvCatF and rOvLAP at 35 and 61 kDa, respectively. In this research, rOvCatF and rOVLAP will be characterized for vaccines and diagnosis development for O. viverrini infection en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account