Abstract:
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการระบายน้ำในเขตพื้นที่เมืองที่ได้รับอิทธิพลน้ำท่วมซ้ำซาก 2) วิเคราะห์เชิงพื้นที่ในการระบายน้ำในเขตพื้นที่เมืองโดยประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ 3) แนวทางแก้ไขปัญหาการระบายน้ำโดยใช้หลักการทางภูมิสารสนเทศ วิธีการศึกษา
ครั้งนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากและระบบระบายน้ำในชุมชนเมือง เช่น
ท่อระบายน้ำ แนวท่อระบายน้ำ ความลึกของท่อ ลักษณะพื้นผิวของท่อ และพื้นที่รับน้ำ สำรวจจัดเก็บ
เป็นฐานข้อมูลโดยใช้แบบจำลอง SWMM 5 ใช้วิเคราะห์การระบายน้ำในชุมชนเมืองร่วมกับข้อมูล
ปริมาณน้ำฝน ข้อมูลความสูงเชิงเลข และค่าสัมประสิทธิ์ของการไหลบนพื้นผิว เพื่อสร้างแบบจำลอง
บริเวณน้ำท่วมขังบริเวณชุมชนเมืองที่กำลังพัฒนาสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงและหาแนวทางแก้ไข
ปัญหาการระบายน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการระบายน้ำในพื้นที่เขตเมืองที่มีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก โดยส่วนมาก
มีลักษณะทางภูมิประเทศเป็นตัวกำหนดการเกิดและระยะเวลาในการเกิดน้ำท่วมขัง เช่น พื้นที่ราบลุ่ม
น้ำท่วมถึง หรือบริเวณที่เป็นแอ่งกระทะจะมีระยะเวลาในการท่วมขังมากกว่าพื้นที่รูปแบบอื่น ซึ่งใน
พื้นที่ศึกษาพบว่าชุมชนเมืองฉะเชิงเทรา มีลักษณะภูมิประเทศที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนปัญหาด้านพื้นที่
ของชุมชนเมืองบริเวณที่มีความหนาแน่นของอาคาร สิ่งปลูกสร้างมากจะทำให้ระดับน้ำท่วมขังเพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว คือ พื้นที่ชุมชนเมืองพัทยา เนื่องจากเมืองพัทยามีลักษณะภูมิประเทศที่ราบลุ่มชายฝั่ง
ทะเล และรูปแบบชุมชนเมืองตั้งอยู่ในพื้นที่เส้นทางการระบายน้ำและมีความหนาแน่นมากทำให้เมื่อ
เกิดฝนตกในพื้นที่เพียงไม่นานการระบายน้ำไม่สามารถระบายได้ทันและเกิดการไหลสะสมมากขึ้น
อย่างรวดเร็ว ทำให้มีระดับน้ำสูงมากขึ้น และปัญหาด้านลักษณะท่อระบายน้ำส่วนใหญ่ในพื้นที่สำรวจ
อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งานเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลักษณะท่อมีความตื่นจาก
ตะกอนโคลน ทราย เศษขยะ และคราบไขมันจากครัวเรือน ท้าให้เกิดการอุดตันการระบายน้ำไม่
สามารถระบายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่วนการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในการระบายน้าในเขตพื้นที่เมือง
กับปริมาณน้ำฝนช่วงที่ตกมากไม่สามารถระบายน้ำได้ทันทำให้เกิดที่เกิดน้ำท่วมขังระดับความสูง
ประมาณ 0.30 – 0.75 เมตร และแนวทางแก้ไขน้ำท่วมขังในชุมชนเมืองให้เพิ่มพื้นที่สีเขียวและใช้
นวัตกรรมพื้นที่รอบ ๆ สิ่งปลูกสร้าง เช่น โครงสร้างคอนกรีต หรือยางมะตอย ให้สามารถระบายน้ำได้
เพื่อให้น้ำที่ไหลอยู่บนพื้นผิวสามารถซึมผ่านลงสู่ชั้นใต้ดินได้สามารถช่วยลดปริมาณน้ำที่ไหลสะสมได้
เป็นอย่างดี