DSpace Repository

ผลของการให้สารประกอบฟีนอลิกที่สกัดจากสมุนไพรไทยต่อสมดุลแมกนีเซียม และการทำงานของลำไส้ในหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-Dawley: เพื่อพัฒนาการรักษาทางเลือกในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

Show simple item record

dc.contributor.author ณรงค์ฤทธิ์ ทองอุ่น
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-08T04:49:07Z
dc.date.available 2020-04-08T04:49:07Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3858
dc.description.abstract Acid peptic disorders คือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอันเนื่องมาจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารที่มากเกินไป รายงานทางการแพทย์บ่งชี้ว่าประชาการหลายล้านคนทั่วโลก การรักษาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือยากลุ่มโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ (proton pump inhibitors; PPIs) จึงทำให้ยากลุ่ม PPIs นี้เป็นหนึ่งในยาที่ขายดีที่สุดทั่วโลก และมีผู้ใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายล้านคนทั่วโลกเช่นกัน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 จนปัจจุบันมีรายงานทางการแพทย์หลายฉบับบ่งชี้ผลข้างเคียงของการใช้ omeprazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม PPIs ติดต่อกันมากกว่า 1 ปี ทาให้ระดับ Mg2+ ในกระแสเลือดต่าอย่างรุนแรง โดยสันนิฐานว่าน่าจะเกิดจากการดูดซึม Mg2+ ผิดปกติ จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าสารประกอบฟีนอลิกที่สกัดจากขิง (Zingiber officinale) มีฤทธิ์กดการทางานของ H+/K+ ATPase ในกระเพราะอาหาร และมีประสิทธิภาพเทียบเท่า PPIs ทั้งนี้เบื้องต้นจากการศึกษาข้อมูลงานวิจัยก่อนหน้าผู้วิจัยพบว่ากลไกการยับยั้ง H+/K+ ATPase ของ PPIs และ สารประกอบฟีนอลิก นั้นแตกต่างกัน ดังนั้นการได้รับสารประกอบฟีนอลิกในระยะเวลานานอาจจะไม่มีผลข้างเคียงเช่นเดียวกับที่พบใน PPIs ผลการทดลองพบว่าการให้ยา omeprazole ซึ่งเป็น PPIs และสารสกัด phenolic มีฤทธ์กดการหลั่งกรดในกระเพราะอาหารได้ทัดเทียมกัน และสารทั้งสองไม่มีผลต่อการบริโภคอาหาร และเติบโตของสัตว์ทดลอง omeprazole เพิ่มการดื่มน้ำและการขับปัสสาวะ แต่การได้รับ omeprazole ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมีผลทำให้ปริมาณ Mg2+ ในกระแสเลือดของหนูลดต่ำลงกว่าปกติจริง คล้ายคลึงกับที่พบเจอในมนุษย์ เมื่อศึกษาระดับ Mg2+ ในปัสสาวะก็พบว่ามีระดับต่ำเช่นเดียวกัน บ่งชี้ว่าไม่มีการสูญเสีย Mg2+ ในปัสสาวะ ทั้งนี้สารสกัด phenolic ไม่มีผลต่อสมดุล Mg2+ ในสัตว์ทดลอง สัตว์กลุ่มที่มีระดับ Mg2+ ต่ำยังมีระดับ Vitamin D และ FGF-23 ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น แต่มีระดับ EGF ในกระแสเลือดลดลง ทั้งนี้สารสกัด phenolic ไม่มีผลต่อระดับฮอร์โมนในกระแสเลือด เมื่อศึกษาการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้พบว่า omeprazole กดการดูดซึมMg2+ ในลาไส้ทุกส่วน แต่สารสกัด phenolic ไม่มีผลต่อการดูดซึมMg2+ ในลำไส้ เป็นการยืนยันสมมุติฐานงานวิจัยคือ สารสกัด phenolic ไม่มีผลต่อการทางานของลำไส้ แตกต่างจาก omeprazole ที่มีฤทธิ์กดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ เป็นข้อมูลสำคัญเพื่อการศึกษาต่อเนื่อง ผลการวิจัยของโครงการวิจัยนี้นำเสนอผลของ สารสกัด phenolic ที่มีฤทธ์กดการหลังกรดในกระเพราะอาหารได้ทัดเทียมกับ omeprazole แต่ไม่มีผลรบกวนสมดุล Mg2+ และการทำงานของลำไส้ต่อการดูดซึม Mg2+ เป็นข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยต่อยอด และพัฒนาสารสกัดธรรมชาติเพื่อใช้เป็นการรักษาทางเลือกในผู้ป่วยกลุ่ม chronic acid peptic disorders th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สารประกอบ th_TH
dc.subject สมุนไพรไทย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ผลของการให้สารประกอบฟีนอลิกที่สกัดจากสมุนไพรไทยต่อสมดุลแมกนีเซียม และการทำงานของลำไส้ในหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-Dawley: เพื่อพัฒนาการรักษาทางเลือกในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน th_TH
dc.title.alternative The effect of Thai herb-derived phenolic compound administration on magnesium metabolism and intestinal function in male Sprague-Dawley rats: The development of alternative treatment in long-term proton pump inhibitor administration en
dc.type Research th_TH
dc.author.email Narongritt@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Acid peptic disorders are the result from either excessive gastric acid secretion or diminished mucosal defense that affects millions people worldwide. The most effective therapeutic agents for these disorders is proton pump inhibitors (PPIs), which are the fifth best-selling drug that has been taken by millions of chronic users worldwide. However, since 2006, there is a growing body of evidence indicating that omeprazole, a PPIs, induced hypomagnesemia is a serious side effect of PPIs in chronic users. Previous study proposed that PPIs suppressed intestinal Mg2+ absorption. Previous study reported that plant-extracted phenolic compound effectively suppressed gastric acid secretion with different mechanism of PPIs action. Therefore, it is possible that phenolic compound may has no adverse on intestinal function and body Mg2+ homeostasis. Our result showed that prolong omeprazole omeprazole and phenolic compound treatment had no effect on metabolic characteristics and growth of male rats. Omeprazole significantly suppressed plasma Mg2+ level and urinary Mg2+ excretion. Thus, omeprazole induced hypomagnesemia in rats. By using Ussing chamber techniques, it was shown that omeprazole markedly suppressed duodenal, jejunal, ileal, and colon Mg2+ absorptions. On the other hand, phenolic compound had no effect of intestinal Mg2+ absorption and Mg2+ homeostasis. Omeprazole, but not phenolic compound, increased vitamin-D and FGF-23, but decreased EGF, in plasma of rats. Our finding showed the antacid effect of plant-extracted phenolic compound. Prolong phenolic compound treatment has no adverse on intestinal function and body Mg2+ homeostasis, differed from those found in prolong PPIs treatment. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account