Abstract:
ชานอ้อยเป็นเศษเหลือจากอุตสาหกรรมโรงงานน้ำตาลชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์
เป็นอาหารสัตว์ได้ อย่างไรก็ตามก่อนการนำชานอ้อยมาใช้เป็นอาหารสัตว์นั้นชานอ้อยจำเป็นต้อง
ได้รับการปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนะเสียก่อน วัตถุประสงค์ของการทดลองในครั้งนี้คือ
1) ศึกษาคุณค่าทางโภชนะของชานอ้อย 2) ศึกษาการเจริญเติบโตของเชื้อ Saccharomyces
cerevisae ในอาหารเลี้ยงเชื้อ YPD และน้ำสับปะรด และ 3) ศึกษาวิธีการปรับปรุงคุณภาพของชาน
อ้อย โดยสุ่มเก็บตัวอย่างชานอ้อยในจังหวัดสระแก้ว 10 ตัวอย่าง แล้วนำมาวิเคราะห์ค่าโภชนะและ
ศึกษาปัจจัย 2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวิธีการปรับปรุงคุณภาพของชานอ้อยต่อคุณค่าทางโภชนะ โดยวาง
แผนการทดลองแบบ 2 x 5 Factorial บนการสุ่มแบบสมบูรณ์ โดยเก็บชานอ้อยหมัก 2 ซ้ำต่อครั้ง ผล
การทดลองพบว่าค่าร้อยละเฉลี่ยของค่าโภชนะวัตถุแห้ง ความชื้น โปรตีนหยาบ ไขมัน เถ้า เยื่อใย
หยาบ คาร์โบไฮเดรตที่ย่อยได้ง่าย ผนังเซลล์ ลิกโนเซลลูโลส ลิกนิน เฮมิเซลลูโลส เซลลูโลส แคลเซียม ฟอสฟอรัส และค่าพลังงานทั้งหมด (GE; kcal/kg) ของตัวอย่างชานอ้อย มีค่าเท่ากับ 92.80 7.20 1.18 0.35 2.95 42.02 46.30 84.27 59.53 11.29 24.74 48.25 0.216 0.030 และ 4026.24
ตามลำดับ และค่าโภชนะของชานอ้อยจากการสุ่มเก็บตัวอย่างในจังหวัดสระแก้ว 10 ตัวอย่าง ไม่มี
ความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) สำหรับการทดสอบเชื้อ Saccharomyces cerevisae ใน
อาหารเลี้ยงเชื้อ YPD และน้ำสับปะรด พบว่าเชื้อ S. cerevisae สามารถเจริญเติบโตในน้ำสับปะรด
ได้ดีกว่าใช้อาหารเลี้ยงเชื้อที่เป็น YPD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และปัจจัยด้านการใช้น้ำ
และกากน้ำตาลในการหมักชานอ้อยด้วยยีสต์ (การใช้น้ำอย่างเดียว และการใช้น้ำร่วมกับกากน้ำตาล
5%) และปัจจัยด้านระยะเวลาในการหมัก (1 7 14 21 และ 28 วัน) ซึ่งพบว่ากลุ่มที่ใช้น้ำร่วมกับ
กากน้ำตาล 5% ให้ผลค่าโภชนะที่ดีกว่ากลุ่มที่ใช้เพียงน้ำอย่างเดียวในการหมักชานอ้อยอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และระยะเวลาที่เริ่มพบค่าโภชนะที่แตกต่างกันคือในวันที่ 7 โดยเฉพาะ
ค่าโปรตีนหยาบที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) นอกจากนี้ยังพบว่าปฏิสัมพันธ์ร่วม
ของทั้งสองปัจจัยมีผลต่อค่าโภชนะโปรตีนหยาบ เถ้า เยื่อใยหยาบ ผนังเซลล์ทั้งหมด ลิกโนเซลลูโลส
และพลังงานทั้งหมด เช่นกัน ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะใช้ชานอ้อยหมักเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อ
ทดแทนอาหารสำเร็จรูปในสัดส่วนที่เหมาะสมในการผลิตสัตว์ปีกหรือสัตว์เคี้ยวเอื้องต่อไป