DSpace Repository

การวิเคราะห์ปริมาณอินนูลินในกล้วยกลุ่ม diploid triploid และ tetraploid เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ

Show simple item record

dc.contributor.author รัชนี พุทธา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
dc.date.accessioned 2020-04-06T11:58:58Z
dc.date.available 2020-04-06T11:58:58Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3853
dc.description.abstract กล้วยเป็นแหล่งอินนูลินราคาถูกและรับประทานง่าย การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษา ปริมาณอินนูลินของเนื้อและเปลือกของผลกล้วย 6 พันธุ์ ที่มีโครโมโซม diploid triploid และ tetraploid ได้แก่ กล้วยน้ำไท (AA) กล้วยหอมทอง (AAA) กล้วยสามเดือน (AAB) กล้วยน้ำว้า (ABB) กล้วยหิน (BBB) และกล้วยเทพรส (ABBB) ในแปลงทดลองกล้วยคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design, RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ เก็บข้อมูลจำนวนผลต่อหวี น้ำหนักสดผล (เนื้อ และเปลือก) ต่อหวี น้ำหนักเนื้อสดต่อหวี น้ำหนักเปลือกสดต่อหวี น้ำหนักสดผล (เนื้อและเปลือก) น้ำหนักเนื้อสดต่อผล น้ำหนักเปลือกสดต่อผล เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อสดต่อผล เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเปลือกสดต่อผล น้ำหนักเนื้อแห้งต่อผล น้ำหนักเปลือกแห้งต่อผล น้ำหนักเนื้อแห้งต่อน้ำหนักสด 100 กรัม น้ำหนักเปลือกแห้งต่อน้ำหนักสด 100 กรัม ปริมาณอินนูลินในเนื้อ และปริมาณอินนูลินเปลือก จากการทดลองพบว่าพันธุ์กล้วยมีผลทำให้ทุกลักษณะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) และลักษณะจำนวนผลต่อหวีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) กล้วยหินมีจำนวนผลต่อหวี (10.0 ผล) น้ำหนักสดผล (เนื้อและเปลือก) ต่อหวี (1,952.3 กรัม) น้ำหนักเนื้อสดต่อหวี (1,034.0 กรัม) น้ำหนักเปลือกสดต่อหวี (901.3 กรัม) น้ำหนักสดผล (เนื้อและเปลือก) (188.5 กรัม) น้ำหนักเนื้อสดต่อผล (99.8 กรัม) น้ำหนักเปลือกสดต่อผล (87.0 กรัม) น้ำหนักเนื้อแห้งต่อผล (38.9 กรัม) น้ำหนักเปลือกแห้งต่อผล (13.1 กรัม) น้าหนักเนื้อแห้งต่อน้ำหนักสด 100 กรัม (39.0 กรัม) สูงที่สุด ส่วนกล้วยสามเดือนมีจำนวนผลต่อหวี (11.7 ผล) เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อสดต่อผล (62.5 เปอร์เซ็นต์) น้ำหนักเนื้อแห้งต่อน้าหนักสด 100 กรัม (35.4 กรัม) ปริมาณอินนูลินในเนื้อ (0.52เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง) และปริมาณอินนูลินเปลือก (0.75 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง) สูงที่สุด กล้วยทั้ง 6 พันธุ์มีปริมาณอินนูลินในเนื้อกล้วยอยู่ในช่วง 0.14-0.52 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง และปริมาณอินนูลินในเปลือกผลอยู่ในช่วง 0.26-0.49 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง ปริมาณอินนูลินในเนื้อมีความสัมพันธ์ทางบวกปริมาณอินนูลินในเปลือกผลกล้วย (r = 0.64) ข้อมูลจากงานวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ากล้วยเป็นวัตถุดิบทางเลือกในการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารสัตว์ได้ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณ แผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว th_TH
dc.subject อาหารเพื่อสุขภาพ th_TH
dc.subject กล้วย th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.subject พรีไบโอติก th_TH
dc.title การวิเคราะห์ปริมาณอินนูลินในกล้วยกลุ่ม diploid triploid และ tetraploid เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ th_TH
dc.title.alternative Determination of inulin content in diploid, triploid and tetraploid bananas for development of functional foods en
dc.type Research th_TH
dc.author.email ratchaneep@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Banana is an inexpensive source of inulin and easy to eat. The objective of the present study was to determine inulin content of banana pulp and peel of six banana cultivars. Pulps and Peels of six banana cultivars (diploid, triploid and tetraploid): Nam Thai (AA), Hom Thong (AAA), Sam Doen (AAB), Nam Wa (ABB), Hin (BBB) and Kluai Teparod (ABBB) were used in this experiment. The experiment was conducted at the banana experimental field of the Faculty of Agricultural Technology, Burapha University, Sakaeo Campus. The experiment was arranged in a Randomized Complete Block Design, RCBD with three replications. Data were recorded number of fruits/finger, total fruit (pulp and peel) fresh weight/finger, pulp fresh weight/finger, peel fresh weight/finger, total fruit (pulp and peel) fresh weight, pulp fresh weight/fruit, peel fresh weight/fruit, percentage of pulp fresh weight/ fruit, percentage of peel fresh weight/ fruit, pulp dry weight/ fruit, peel dry weight/ fruit, pulp dry weight/ 100 grams fresh weight, peel dry weight/ 100 grams fresh weight, inulin content of pulp and inulin content of peel. Banana cultivars were highly significantly different (P < 0.01) for all characters and significantly different (P < 0.05) for number of fruits/finger. Hin had the highest number of fruits/ finger ( 10. 0 fruits) , total fruit ( pulp and peel) fresh weight/finger (1,952.3 g), pulp fresh weight/finger (1,034.0 g), peel fresh weight/finger (901.3 g), total fruit ( pulp and peel) fresh weight ( 188. 5 g) , pulp fresh weight/ fruit ( 99. 8 g) , peel fresh weight/fruit (87.0 g), pulp dry weight/fruit (38.9 g), peel dry weight/fruit (13.1 g) and pulp dry weight/100 grams fresh weight (39.0 g). Sam Doen had the highest number of fruits/finger (11.7 friuts) , percentage of pulp fresh weight/ fruit ( 62. 5 % ) , pulp dry weight/ 100 grams fresh weight (35.4 g), Inulin content of pulp (0.52 % dry weight) and Inulin content of peel (0.75 % dry weight). Six banana cultivars had Inulin content of pulp ( 0. 14- 0. 52 % dry weight) and inulin content of peel ( 0. 26- 0. 49 % dry weight) . Inulin content of pulp showed positive correlation with inulin content of peel (r = 0. 64). The results indicated that banana had a significant amount of inulin for use as an alternative source of a raw material for functional food producers and animal feed. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account