Abstract:
การศึกษากิจกรรมการยับยั้งเชื้อรา Alternaria alternata ของสารสกัดหยาบของส่วนหัวของต้น S. pierrei โดยสกัดด้วยตัวทำละลายที่แตกต่างกัน 4 ชนิด ได้แก่ คลอโรฟอร์ม เอทานอล เอทิลอะซิเตตและน้ำ ด้วยวิธี agar plate พบว่า สารสกัดด้วยคลอโรฟอร์มสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา ได้ดีกว่าสารสกัดที่สกัดด้วยตัวทำละลายชนิดอื่น ๆ เมื่อนำสารสกัดด้วยคลอโรฟอร์มไปศึกษากิจกรรมการยับยั้งและฆ่าเชื้อรา พบว่า ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อราได้ (MFC) เท่ากับ 2.5 และ 4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร การศึกษาครั้งนี้ประเมินประสิทธิภาพของสารสกัดจากหัวบัวบกป่าเพื่อควบคุมโรคใบจุดในมะเขือเทศและพริกสองพันธุ์ภายใต้สภาพโรงเรือนและสภาพแปลง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD)
ทำ 3 ซ้ำ ทั้งสองการทดลอง ทรีตเมนต์ประกอบด้วย 1) ชุดควบคุม 2) ปลูกเชื้อราสาเหตุโรค 3) ฉีดพ่นสารสกัดจากหัวบัวบกป่า 4) ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันการจัดเชื้อรา (mancozeb) 5) ปลูกเชื้อราและฉีดพ่นสารสกัดจากหัวบัวบกป่า และ 6) ปลูกเชื้อราและฉีดพ่นสารเคมีป้องกันการจัดเชื้อรา (mancozeb) ผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่า ทรีตเมนต์ที่ป้ายสารสกัดจากบัวบกป่าหลังจากป้ายเชื้อก่อโรคทำให้ระดับของการเกิดโรคมีค่าลดลงหลังป้ายสารสกัดเท่ากับ 8.0% และ 3.8% ในมะเขือเทศพันธุ์พวงชมพูและพันธุ์สีดา ตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างจากทรีตเมนต์ที่ป้ายสารเคมีป้องกันการจัดเชื้อราหลังจากป้ายเชื้อก่อโรคในสภาพ
โรงเรือนและแปลง ประสิทธิภาพของสารสกัดขึ้นอยู่กับพันธุกรรมพืช ชนิดของ
พืช และสภาพแวดล้อม ในขั้นต่อไปควรมีการศึกษาวิธีการใช้ภายใต้สภาพแปลงเกษตรกร