Abstract:
กล้วยไม้รองเท้านารี อยู่ในอนุสัญญาการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (CITES) บัญชีที่ 1 ระบุว่ารองเท้านารีอยู่ในบัญชีพืชใกล้สูญพันธุ์ ห้ามซื้อขาย ยกเว้นเพื่อการศึกษา หรือขยายพันธุ์เทียมเท่านั้น เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง DNA barcode ของกล้วยไม้รองเท้านารีของไทย จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ รองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor), รองเท้านารีเหลืองกาญจน์ (Paphiopedilum concolorvar.striatum), รองเท้านารีดอยตุงกาญจน์ (Paphiopedilum barbigerum var.vejvarutianum), รองเท้านารีเกาะช้าง (Paphiopedilum simensis), รองเท้านารีคางกอบคอแดง (Paphiopedilum appletonianum) ผลการศึกษาพบว่า ยีนมาตราฐาน rbcL, matK, rpoB และ rpoC1 มีขนาดประมาณ 700 750 650 และ 550 คู่เบส ตามลำดับ โดยพบว่ายีน มาตราฐาน rbcL และ matK, ดังกล่าวสามารถใช้นำมาพัฒนาเป็น barcoding เพื่อจำแนกชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารีได้เป็นอย่างดี นอกจากนี เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้รองเท้า นารีทั้ง 5 ชนิด ด้วยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุล SCoT พบว่า สามารถแบ่งกลุ่มได้ 2 กลุ่ม มีค่า cophenetic correlation (r) 0.99 และกล้วยไม้ร้องเท้ารีเกาะช้างแสดงการมีพันธุกรรมเดียวกับกล้วยไม้รองเท้านารีคางคบคอแดงได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการช่วยจำแนกชนิดและการอนุรักษ์ของกล้วยไม้รองเท้านารีได้เป็นอย่างดี