DSpace Repository

การสังเคราะห์เมมเบรนคอมโพสิทของเหล็กบนตัวรองรับซีโอไลต์ฟูจาไซต์กับโพลีเอไมด์แผ่นบางสำหรับการดูดซับสารไกลโฟเซต

Show simple item record

dc.contributor.author อรสุรางค์ โสภิพันธ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
dc.date.accessioned 2020-03-28T11:32:00Z
dc.date.available 2020-03-28T11:32:00Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3813
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ศึกษาผลของวัสดุเหล็กบนตัวรองรับซีโอไลต์ฟูจาไซต์ต่อประสิทธิภาพการดูดซับสารละลายไกลโฟเซต โดยซีโอไลต์ฟูจาไซต์ 2 ชนิด ได้แก่ ซีโอไลต์โซเดียมเอกซ์ (NaX) และซีโอไลต์โซเดียมวาย (NaY) ซึ่งทำการสังเคราะห์ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มัลโดยใช้ซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยเป็นสารตั้งต้น จากนั้นทำการเติมเหล็ก (Fe) ลงบนซีโอไลต์ทั้งสองชนิดปริมาณ 1 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์โดยมวลด้วยวิธีการเอิบชุ่ม เอกลักษณ์ทางโครงสร้างและธาตุองค์ประกอบของวัสดุดูดซับที่เตรียมได้วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์และเทคนิคฟลูออเรสเซนต์ พื้นที่ผิวของวัสดุดูดซับวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวัดไอโซเทอร์มการดูดซับไนโตรเจน โครงสร้างอสัณฐานของวัสดุดูดซับตรวจวัดด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดชนิดฟิลด์อิมิสชันและค่าพีเอชที่ประจุพื้นผิววัสดุดูดซับเป็นศูนย์วิเคราะห์ด้วยวิธี pH Drift method โดยวัสดุเหล็กบนซีโอไลต์โซเดียมเอกซ์ (xFe/NaX) และวัสดุเหล็กบนซีโอไลต์โซเดียมวาย (xFe/NaY) ใช้เป็นวัสดุดูดซับสารละลายไกลโฟ โดยทำการวิเคราะห์ ปริมาณไกลโฟเซตด้วยวิธีคัลเลอรีเมตรีและวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโตรสโคปี จากการทดลองพบว่า ซีโอไลต์ NaX มีประสิทธิภาพการดูดซับไกลโฟเซตสูงกว่าซีโอไลต์ NaY เนื่องจากประจุบวกบนพื้นผิวหน้า NaX ที่สามารถดึงดูดกับประจุลบของโมเลกุลไกลโฟเซต เมื่อทำการเติมเหล็กลงบนซีโอไลต์ทั้งสองชนิดพบว่าพื้นที่ผิวหน้า ปริมาตรรูพรุน และค่าพีเอชที่ประจุพื้นผิววัสดุดูดซับเป็นศูนย์มีค่าลดลง โดย xFe/NaX มีประสิทธิภาพในการดูดซับสารละลายไกลโฟเซตไม่แตกต่างกันเมื่อปริมาณโลหะเหล็กเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามกันสำหรับ xFe/NaY ประสิทธิภาพในการดูดซับสารละลายไกลโฟเซตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อปริมาณโลหะเหล็กเพิ่มขึ้น จากการศึกษาไอโซเทอร์มการดูดซับของเหล็กลงบนซีโอไลต์ทั้งสองพบว่าเป็นแบบฟรอยลิช โดย 5Fe/NaY มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด มีค่าขีดความสามารถในการดูดซับไกลโฟเซต (KF =) สูงที่สุด เกิดการดูดซับเป็นแบบหลายชั้น th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.subject ชานอ้อย th_TH
dc.subject ชีวมวล th_TH
dc.subject ซิลิกา th_TH
dc.title การสังเคราะห์เมมเบรนคอมโพสิทของเหล็กบนตัวรองรับซีโอไลต์ฟูจาไซต์กับโพลีเอไมด์แผ่นบางสำหรับการดูดซับสารไกลโฟเซต th_TH
dc.title.alternative Synthesis of iron loaded zeolite Faujasite – polyamide thin film composite membrane for glyphosate adsorption en
dc.type Research th_TH
dc.author.email onsulang_111@hotmail.com th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative This research studied the influence of Fe loaded zeolite faujasite on glyphosate adsorption efficiency. Zeolite Faujasite including zeolite NaX and zeolite NaY were synthesized through a hydrothermal method using silica from bagasse ash as substance. Then Fe was loaded onto the zeolites with 1, 3 and 5 %w/w by incipient wetness impregnation. The structural identification and chemical compositions of adsorbents were analyzed by X-ray diffraction techniques and X-ray fluorescence techniques. The surface area of adsorbents was analyzed by N2 adsorption-desorption isotherm. The morphology of adsorbents was measured by field emission scanning electron microscope. pHpzc of adsorbents was analyzed by pH Drift method. The xFe/NaX and xFe/NaY were used as glyphosate adsorbents. The glyphosate analysis was performed by colorimetric method and detected by UV-Visible spectroscopy. From the results, NaX had higher adsorption efficiency than NaY. It was probably due to a higher positive charge of NaX which could interact with glyphosate anion. Addition of Fe onto both zeolites could decrease surface area, pore volume and pHpzc. For xFe/NaX series, the glyphosate adsorption efficiency was not significantly different with increasing Fe loading. In contrast with xFe/NaY series, the glyphosate adsorption efficiency was increased with increasing Fe loading. From the absorption isotherm study, the adsorption process was followed Freundlich isotherm for all absorbents. 5Fe/NaY had highest adsorption capacity (KF). The multilayer adsorption was found. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account