DSpace Repository

การพัฒนาตราสินค้าการท่องเที่ยวเกาะสีชังตามแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทย

Show simple item record

dc.contributor.author รชฏ จันทร์น้อย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-05T14:30:58Z
dc.date.available 2020-03-05T14:30:58Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3796
dc.description.abstract เกาะสีชัง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี ด้วยความโดดเด่นด้านทัศนียภาพ ประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ กิจกรรม แหล่งท่องเที่ยว ที่สําคัญ อาทิ พระจุฑา-ธุชราชฐาน (ท่าวัง) ที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์ เกาะสีชังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถพัฒนาให้มีความโดดเด่น มีชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี หากมีการสร้างตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเครื่องมือสําคัญในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู ้และดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยจะทําการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ความคาดหวัง ความต้องการ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวรวมทั้งข้อมูลด้านการท่องเที่ยวของเกาะสีชัง เพื่อพัฒนาตราสินค้าการท่องเที่ยวของเกาะสีชังตลอดจนจัดทําแผนปฏิบัติการในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทยของเกาะสีชัง การวิจัยครั้งนี้ ผสานระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต (Observe) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เพื่อสกัดองค์ประกอบตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยวของเกาะสีชัง แล้วจัดทําแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทย จํานวน 450 คน และประชาชนในพื้นที่ จํานวน 420 คน ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่าน การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) และตรวจสอบความเชื่อมั่นที่มีค่าครอนบาคแอลฟ่า เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจและองค์ประกอบเชิงยืนยันผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยว ชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวเกาะสีชัง ส่วนใหญ่ มีอายุ 20-30 ปี มีรายได้ เฉลี่ย 10,000 บาทต่อเดือน มาเที่ยวช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ มากับญาติ ดําเนินการจองที่พักและสถานที่ท่องเที่ยวด้วยตนเอง อัตราค่าเฉลี่ยในการในการท่องเที่ยว 2,000-2,999 บาท สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้ รับความนิยมสูงสุดของเกาะสีชัง คือ สักการระเจ้าพ่อเขาใหญ่ รูปแบบการท่องเที่ยวที่นิยม คือ การนั่งรถสกายแลปเที่ยวรอบเกาะ ระยะเวลา 1-2 วัน นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวเกาะสีชัง ส่วนใหญ มีอายุ 31-40 ปี มีรายได เฉลี่ย 30,000 บาทต่อเดือน มาเที่ยวช่วงลาหยุดยาว มากับเพื่อน ดําเนินการจองที่พักและสถานที่ท่องเที่ยวด้วยตนเอง อัตราค่าเฉลี่ยในการในการท่องเที่ยว 3,000 บาท สถานที่ท่องเที่ยว ที่ได้ รับความนิยมสูงสุด คือ พระจุฑาธุชราชฐาน รูปแบบการท่องเที่ยวที่นิยม คือ การนั่งรถสกายแลปเที่ยวรอบเกาะระยะเวลา 1-2 วัน ผลการทดสอบองค์ประกอบเชิงสํารวจ พบว่า มีตัวแปรทั้งสิ้น 14 ตัวแปร อธิบายตราสินค้าท่องเที่ยวเกาะสีชัง ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบหลัก สามารถสังเคราะห์เป็นชื่อตราสินค้า การท่องเที่ยวเกาะสีชังได้ว่า แหล่งท่องเที่ยวแห่ง การเสริมสร้างเติมเต็มพลังแห่งจิตวิญญาณ (Spiritual recharge destination) ซึ่งตราสินค้าจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1. การเติมเต็มคุณค่าและพลังงานทางจิตใจ ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวที่เสริม สร้างเติมเต็มความสุขทางใจ ผ่านทิวทัศน์และบรรยากาศที่สวยงามสงบ อธิบายด้วย 4 ตัวแปรวัด คือ ทัศนียภาพทางธรรมชาติที่สวยงาม วิวทิวทัศน์สวยงาม สร้างความสดชื่น บรรยากาศที่สงบ ทําให้ผ่อนคลายอัธยาศัยที่เป็นมิตรเป็นกันเอง จึงตั้งชื่อองค์ประกอบว่า ความรื่นรมย์แห่งทิวทัศน์และบรรยากาศ (Scenic and calm environment) 2. การเติมเต็มคุณค่าและพลังงานทางจิตใจ ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมความเชื่อ ความศรัทธาทางจิตวิญญาณและศาสนา อธิบายด้วย 3 ตัวแปรวัด มีกําลังใจดี เมื่อมาสักการะเจ้าพ่อเขาใหญ่ สบายใจที่ได้ มาทําบุญไหว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างขวัญกําลังใจในการทําบุญจึงตั้งชื่อองค์ประกอบว่า การเติมเต็มแห่งกําลังใจ (Spiritual fulfilled) 3. การเติมเต็มคุณค่าและพลังงานทางจิตใจ ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวการเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์ อธิยายด้วย 3 ตัวแปรวัด คือ ตื่นเต้น เมื่อได้เรียนรู้ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเกาะสีชัง ชื่นชมวิถีชีวิตและเรื่องราวของชุมชน ตื่นเต้น เมื่อได้รับรู้ เรื่องราวของสถานที่ต่าง ๆ บนเกาะ จึงตั้งชื่อองค์ประกอบว่า ความตราตรึงแห่งประวัติศาสตร์ (Historical impression) 4. การเติมเต็มคุณค่าและพลังงานทางจิตใจ ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม อธิบายด้วย 3 ตัวแปรวัด คือ สนุกสนาน ตื่นเต้นกับการท่องเที่ยวสกายแลปที่เป็นเอกลักษณ์ เพลิดเพลินกับกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย ประทับใจกับรสชาติและความหลากหลายของอาหารท้องถิ่น จึงตั้งชื่อ องค์ประกอบว่า การเติมเต็มพลังงานแห่งชีวิต (Reenergizing activities) แนวทางในการพัฒนาแผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยว คือ การออกแบบตราสัญลักษณ์การท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรม แล้วนําเสนอผ่านตราสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ดําเนินการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์และสื่อหลัก เช่น การจัดกิจกรรมมินิมาราธอนที่ใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าการท่องเที่ยวเกาะสีชังเป็นเหรียญรางวัล ตราสัญลักษณ์การแข่งขันการผสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายในเกาะ ให้ใช้ของที่ระลึกที่สื่อถึงตราสินค้า แหล่งท่องเที่ยวเกาะสีชังสําหรับนักท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อด้วยการสร้างเรื่องราวและนําเสนอผ่านบลอคเกอร์ หรือผู้มีชื่อเสียงบนสื่อสังคมออนไลน์ (Influencer) ที่เสริมสร้างความชัดเจนขององค์ประกอบตราสินค้าทั้ง 4 ด้าน th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ผ่านสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.title การพัฒนาตราสินค้าการท่องเที่ยวเกาะสีชังตามแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทย th_TH
dc.title.alternative Sichang Island’s Destination Brand Development Regarding the Concepts of Thinness Tourism Promotion en
dc.type Research th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative Koh Sichang is an important tourist destination in Chonburi province. This island has nice scenic views, attractive customs cultures, rememberable histories and variety famous tourist destinations such as King Chulalongkorn’s Summer Palace which is important historical place. Sichang island is potential to differentiate and promote to be a strong international and national recognition. Therefore, this study aims to analyze behavior, need and expectation of tourists together with tourist information to develop a destination brand regarding the concepts of Thainess tourism promotion also to conduct an action plan to promote tourism industry for Koh Sichang. This study has applied mixed method research methodology to collect data by several tools such as observation, in-depth interview to extract the components of Koh Sichang destination brand. Then the quantitative data was collected with 450 domestic tourists, 420 foreigner visitors and local citizens using questionnaires that had been approved face validity and reliability (Cronbach alfa 0.92). The data analysis applied descriptive statistic also exploratory and confirm factor analysis. The result indicates that domestic visitors traveled in Sichang island are aged 20-30 years old with average income 10,000 Thai baht per month. Most of them prefer weekend visiting with his family for 1-2 days. Self-booking is a preference channel accommodation and tourist activity reservations. The average spending is 2,000 - 2,999 Thai baht and the most favorite place and activity is Saan Chao Pho Khao Yai and sightseeing around the island by Tuk Tuk. Bike. On the other hand, the foreigner tourists traveled in Koh Sichang island are aged 31-40 years old with average income 30,000 Thai baht per month. Foreign visitors visit Koh Sichang island for their long holiday and 1-2 day for Koh Sichang trip with approximately 3,000 Thai baht spending for the trip. The most favorite activity is also sightseeing around the island by Tuk Tuk. Bike while the favorite place is King Chulalongkorn’s Summer Palace. In addition, the result of the qualitative analysis, exploratory and confirmatory factor analysis from three group responses indicate that destination brand of Koh Sichang is a spiritually recharge destination with 4 components consist of 1. the Scenic and Calm Environment component that refers to beautiful scenic and calm environment, 2. the Spiritual Fulfilled related with cultural believe, spiritual and religion faith, 3 the Historical Impression historical component refers to historical,ซ local story, cultural and 4 the Reenergizing Activities component which is energy activity tourism. The recommendation for action plan conduction is bringing spiritually recharge destination brand to design a brand logo and decorate through local products and souvenir. Another suggestion is presenting and promoting the brand in public relation and integrated marketing communication activities applied online and offline media. For instance, using this brand logo to decorate medal, clothes for the local mini marathon. Lastly, the public and private organizations in Koh Sichang island should collaborate to promote spiritually recharge destination brand by applied the brand logo for their organization souvenir and promote the island’ story through blogger and social media influencer en
dc.keyword ตราสินค้าการท่องเที่ยว th_TH
dc.keyword ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว th_TH
dc.keyword เกาะสีชัง th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account