DSpace Repository

การศึกษาเชิงจิตประสาทวิทยาและการพัฒนาแบบคัดกรองเน้นกระบวนการทางปัญญาในเด็กที่มีความเสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

Show simple item record

dc.contributor.author พีร วงศ์อุปราช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2020-03-01T08:47:21Z
dc.date.available 2020-03-01T08:47:21Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3792
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบคัดกรองเน้นกระบวนการทางปัญญาเพื่อประเมินนักเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษาตอนต้นที่มีความเสี่ยงภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากแต่ละตัวแปรของแบบคัดกรองฯ ที่พัฒนาขึ้นระหว่างกลุ่มนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 เทียบกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากแต่ละตัวของแบบคัดกรองฯ ที่พัฒนาขึ้นระหว่างนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มเสี่ยงฯ กับปกติ และเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากแต่ละตัวของแบบคัดกรองฯ ที่พัฒนาขึ้นระหว่างนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเสี่ยงฯ กับปกติการวิจัยนี้ประกอบไปด้วยช่วงศึกษานำร่องและทดสอบเครื่องมือจำนวน 2 ครั้ง และสุดท้ายได้ชุดแบบคัดกรองฯ ที่ประกอบไปด้วยแบบคัดกรองย่อยจำนวน 6 แบบ แบ่งเป็น 9 แบบย่อย ดังต่อไปนี้ เปรียบเทียบจำนวนจุดและตัวเลข เปรียบเทียบตัวเลขหนึ่งและสองหลัก เส้นจำนวน เปรียบเทียบค่าและขนาดตัวเลขหนึ่งและสองหลัก ตัวเลขสลับสี และบวกลบตัวเลขในใจ โดยห้าแบบคัดกรองย่อยแรกสะท้อนระบบตัวเลขโดยตรง ส่วนอีกสี่แบบคัดกรองย่อยที่เหลือสะท้อนระบบช่วยเหลือ นอกจากนี้แบบคัดกรองมาตรฐานผลรวมชุดตัวเลข ถูกนำมาใช้ทดสอบความตรงของแบบคัดกรองฯ ที่พัฒนาขึ้นและใช้จำแนกเด็กที่มีความเสี่ยงฯ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 500 คน (238 คนจากชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 267 คนจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1) มาจาก โรงเรียนของรัฐจำนวน 12 แห่งในจังหวัดชลบุรี ความเที่ยงของแบบคัดกรองฯ ที่พัฒนาขึ้นวิเคราะห์ด้วยความสอดคล้องภายใน ส่วนความตรงของแบบคัดกรองฯ วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและโมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ และ MANOVA ใช้วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่าแบบคัดกรองที่พัฒนาขึ้นมีค่าความเที่ยงอยู่ในระดับดีมากจนถึงดีเยี่ยม และความตรงอยู่ในระดับยอมรับได้ นอกจากนี้ผลการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบคัดกรองระหว่างนักเรียนสองระดับชั้นครอบคลุมทั้งระบบตัวเลขโดยตรงและระบบช่วยเหลือ พบว่านักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ได้คะแนนต่ำกว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกแบบคัดกรองย่อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มเสี่ยงฯ และปกติ พบว่านักเรียนกลุ่มเสี่ยงได้คะแนนต่ำกว่านักเรียนปกติแทบทุกแบบคัดกรองย่อย ยกเว้นเส้นจำนวน ซึ่งสามารถตีความถึงพัฒนาการล่าช้าของทั้งสองระบบในนักเรียนกลุ่มเสี่ยงนี้ เช่นเดียวกัน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเสี่ยงมีคะแนนต่ำกว่าการเรียนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกด้านของแบบคัดกรองย่อยของระบบตัวเลขโดยตรง และเพียงแบบคัดกรองย่อยเปรียบเทียบค่าและขนาดตัวเลขหนึ่งและสองหลักของระบบช่วยเหลือ สะท้อนถึงพัฒนาการล่าช้าในระบบตัวเลขโดยตรงเป็นหลัก และบางส่วนของระบบช่วยเหลือ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การศึกษาเชิงจิตประสาทวิทยาและการพัฒนาแบบคัดกรองเน้นกระบวนการทางปัญญาในเด็กที่มีความเสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ th_TH
dc.title.alternative This work was financially supported by the Research Grant of Burapha University through National Research Council of Thailand (Grant no. 54/2560) en
dc.type Research th_TH
dc.author.email peera.wo@go.buu.ac.th
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative The current study aimed to (i) develop a cognitive-based screening tool for detecting MLD in kindergarten and elementary school students, (ii) compare the scores derived from the developed screening tool for both numerical core and auxiliary systems between Anuban 3 and Prathom 1 students, (iii) compare the score derived from the developed screening tool for both systems between Anuban 3 students at risk of MLD and a comparable group of healthy students, and (iv) compare the score derived from the developed screening tool for both system between Prathom 1 student at risk of MLC and a comparable group of healthy students. The two phases of pilot studies were conducted in order to test the developed screening tool and finally the six cognitive-based screening tools were devised. These tools were divided into nine subscales, that is, Dot/Dot comparison, Dot/Number comparison, Number comparison: Single digit, Number comparison: Double digit, Mental number line, Inhibition Stroop: Single digit, Inhibition Stroop: Double digit, Numerical shifting, and Numerical updating. The first five subscales indexed the numerical core system and the last four subscales represented the auxiliary system. In addition, the number sets test was used to validate the developed screening tool and to detect children at risk of MLD. A sample consisted of 500 students in total (238 for Anuban 3 and 267 for Prathom 1) from 12 public schools in Chonburi province. Internal consistency was examined for the subscales’ reliability. Confirmatory factor analysis and multi-group structural equation modeling were used to test the construct and concurrent validity of the scales. MANOVA was used to test the score differences between- and within-group comparisons. The main results revealed that the developed screening tool had very good to excellent levels of subscales’ reliability and had acceptable levels of subscales’ validity. The Anuban 3 students had significantly low scores than those of the Prathom 1 students on all subscales covering both cognitive systems. The Anuban 3 students at risk of MLD clearly showed the significant lower scores than those of healthy students on most subscales suggesting the delay for the cognitive systems, except the mental number line. Likewise, The Prathom 1 students had the significant lower scores than those of healthy students on all subscales of the numerical core system and only inhibition Stroop subscales of the auxiliary system signaling the delay for the numerical core system and a part of the auxiliary system en
dc.keyword กระบวนการทางปัญญา th_TH
dc.keyword การเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account