DSpace Repository

สารฟลูโคแซนทีนเพิ่มฤทธิ์ต้านมะเร็งของยา 5-ฟลูออโรยูราซิลต่อเซลล์มะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักของมนุษย์ผ่านทางการลดระดับเอนไซม์แมทริกซ์เมทาโลโปรติเอส

Show simple item record

dc.contributor.author สุวิศิษฎิ์ แม้นเหมือน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-02-16T03:04:20Z
dc.date.available 2020-02-16T03:04:20Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3774
dc.description.abstract ปัญหาการดื้อต่อยาจัดเป็นปัญหาที่สําคัญ ซึ่งมีผลลดประสิทธิภาพของยาเคมีบําบัดและทําให้เกิดปัญหาหรือรักษาไม่ประสบผลสําเร็จ ซึ่งต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนในมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก สาร fucoxanthin เป็นสารธรรมชาติ จัดเป็นสารในกลุ่ม carotenoid มีสีส้ม และสามารถพบได้เป็นอย่างมากในสาหร่ายสีน้ำตาล ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของยาเคมีบําบัด จากการศึกษาก่อนหน้าแสดงให้เห็นว่า fucoxanthin มีฤทธิ์ต้านมะเร็งดีมากและมีฤทธิ์ทางชีวภาพอื่น ๆ มากมาย จึงทําให้มีการศึกษาวิจัยมากขึ้น เพื่อให้เข้าใจถึงกลไกการออกฤทธิ์ในระดับโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งวัตถุประสงค์ของการศึกษา : เพื่อประเมินฤทธิ์ต้านมะเร็งและแสดงกลไกการออกฤทธิ์ในระดับโมเลกุลของสาร fucoxanthin ต่อการยับยั้งการเพิ่มจํานวนและการลุกลาม วิธีการศึกษา : เซลล์ที่ใช้ในการศึกษา คือ SW-620 cells ถูกบ่มด้วยสาร fucoxanthin ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ เป็นระยะเวลา 24, 48, 72, 96 ชั่วโมง และบ่มเซลล์ร่วมกับยา 5-FU เพื่อประเมินผลเสริมฤทธิ์กันในการยับยั้งมะเร็ง การรอดชีวิตของเซลลืมะเร็งถูกตรวจสอบด้วยเทคนิค MTT colorimetric assay ฤทธิ์ยับยั้งการลุกลามและการยึดเกาะถูกวัดในสภาวะภายหลังบ่มเซลล์ด้วยสาร fucoxanthin ร่วมกับยา 5-FU ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ และประเมินระดับการแสดงออกของยีนและโปรตีน MMP-9 ภายหลังการทดสอบเซลล์ด วยเทคนิค RT-PCR และ ELISA assay ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่าสาร fucoxanthin สามารถยับยั้งการเพิ่มจํานวนของเซลล์มะเร็งชนิด SW-620 ได้เป็นอย่างมาก ผ่านทางการยับยั้งการเจริญเติบโตและลดความสามารถในการลุกลาม ซึ่งผ่านทางการลดการแสดงออกของยีน MMP-9 และระดับโปรตีนที่พบในน้ําเพาะเลี้ยงเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สาร fucoxanthin สามารถเพิ่มฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งมากขึ้นของยา 5-FU โดยเปลี่ยนแปลงลักษณะจําเพาะซึ่งเป็นจุดเด่นของเซลล์มะเร็ง ข้อสรุป : จากผลการทดลองนี้ เป็นการทดสอบเพื่อเพิ่มความสามารถของสาร fucoxanthin ในการฆ่าเซลล์มะเร็งและความเป็นไปได้ที่สาร fucoxanthin ที่เป็นสารธรรมชาติที่ได้จากสาหร่ายที่พบในทะเล จากผลการศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นสําหรับการศึกษายาที่ได้จากทะเลหรือธรรมชาติในการออกแบบการทดลองและการศึกษาต่อยอดในทางคลินิก th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title สารฟลูโคแซนทีนเพิ่มฤทธิ์ต้านมะเร็งของยา 5-ฟลูออโรยูราซิลต่อเซลล์มะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักของมนุษย์ผ่านทางการลดระดับเอนไซม์แมทริกซ์เมทาโลโปรติเอส th_TH
dc.title.alternative Fucoxanthin enhances the anticancer effect of 5-fluorouracil on human colorectal cancer cells via decreasing the levels of matrix metalloproteinase enzymes en
dc.type Research th_TH
dc.author.email suwisit@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Drug resistance is a major inconvenient lowering the traditional chemotherapeutic efficacy and highly undesirable therapeutic problem which crucially editing faster in colorectal cancer. Fucoxanthin is a naturally orange-carotenoid, predominantly found in edible brown algae and justify considered as nutritional ingredient possess with powerfully new strategy to enhance concurrent drug chemotherapy. Obviously studied exhibited that fucoxanthin is very good well documented as potential anti-cancer activity, remarkable numerous biological activities. Accordingly, it has prominently gain research to enhancing the understand in molecular mechanism details associating cancer therapy. Objectives : This study was undertaken to assess the anti-cancer activity and explored the molecular mechanism of fucoxanthin on the inhibition of cell proliferation and cell invasion. Methods : SW-620 cells were cultivated with fucoxanthin with for 24, 48, 72, 96 hr and cotreatment with 5-FU to evaluate synergistic potential. The cell viability of cancerous cells were determined by MTT colorimetric assay. The inhibitory effect of cell invasion and adhesion was measured in the presence of fucoxanthin with 5-FU in various concentrations. To determine MMP-9 gene and protein expression after treated cells by RT-PCR and ELISA assay. Results : The results illustrated that fucoxanthin profoundly inhibited cell proliferation of SW- 620 cells accompanied by growth arrest and diminished invasive ability, which mediated at one least part by the down-regulation of MMP-9 mRNA and protein expression. Especially, fucoxanthin extremely attenuated the anti-proliferative effect of established 5-FU by modulating the habitually hallmark of cancerous cells. Conclusions : This results are raising up the capacity of fucoxanthin to eradicate cancer cells and the possibility that fucoxanthin could become a promising marine natural active constituents from seaweeds. Critical outcome of data in our studies will be serving as preliminary results for further studies marine drug in experimental model and well-controlled clinical trials. en
dc.keyword ฟลูโคแซนทีน th_TH
dc.keyword การลุกลามของมะเร็ง th_TH
dc.keyword การยึดเกาะของเซลล์ th_TH
dc.keyword มะเร็งลําไส้ใหญ่ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account