DSpace Repository

การศึกษาบทบาทของคาร์บอนสีน้ำเงินในหญ้าทะเลบริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author ปัทมา ศรีน้ำเงิน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-02-05T03:04:47Z
dc.date.available 2020-02-05T03:04:47Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3761
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในหญ้าทะเลทั้งหมด 7 ชนิด คือ Enhalus acoroides, Cymodocea serrulata, Halophila ovalis, Halophila minor, Halodule uninervis, Halodule pinifolia และ Thalasia hemprichii โดยทำการเก็บสำรวจใน 3 พื้นที่ กล่าวคืออ่าวสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หาดร็อคกาเดนท์-เนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยองและ เกาะกระดาด จังหวัดตราด พื้นที่ทำการสำรวจประมาณ 675, 1,250 และ 900 ไร่ ตามลำดับ โดยผลการศึกษาพบว่าหญ้าทะเลชนิด Cymodocea serrulata ที่พบบริเวณเกาะกระดาด มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสูงสุดแต่ไม่แตกต่างกับหญ้าทะเลพันธุ์ Enhalus acoroides ที่มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนรวมที่ 108.228 เปอร์เซ็นต์ และ 103.46 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่หญ้าทะเลชนิด Halophila minor มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนรวมน้อยที่สุด โดยพบบริเวณ เหง้า เป็นส่วนที่มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนมากที่สุด และเมื่อพิจารณาด้านความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนหรือ carbon storage ของหญ้าทะเล พบว่า Enhalus acoroides หรือหญ้าคาทะเล มีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนได้มากที่สุด ประมาณ 3,795.67 - 4,100.12 gCm2 รองมาคือหญ้าทะเลชนิด Halodule uninervis สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ 2,883.10 gCm2 ในขณะที่หญ้าทะเลชนิด Halophila minor มีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนได้น้อยที่สุด ดังนั้นข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการอนุรักษ์ปลูกหญ้าทะเลพร้อมทั้งยังก่อประโยชน์ด้วยการลดปริมาณคาร์บอนในบรรยากาศได้อีกทางหนึ่งด้วย th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายเงินได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การศึกษาบทบาทของคาร์บอนสีน้ำเงินในหญ้าทะเลบริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย th_TH
dc.title.alternative The Role of Blue Carbon in Seagrass at the East Coast of Thailand en
dc.type Research th_TH
dc.author.email pattama@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative This study aimed to determine the total organic carbon in the 7 seagrass species; Enhalus acoroides, Cymodocea serrulata, Halophila ovalis, Halophila minor, Halodule uninervis, Halodule pinifolia and Thalasia hemprichii. The 3 study area were survey namely, Sattahip Bay, ChonBuri province, Rock Garden-Nurn Khoa Beach, Rayong province and Koh Kradad, Trat province for 675 rai, 1250 and 900 rai in coverage, respectively. The highest organic carbon was found in Cymodocea serrulata, but not significantly different from Enhalus acoroides which 108.228% and 103.46%, respectively. Whereas the lowest in a total organic carbon was Halophila minor . The highest organic carbon was accumulated at the rhizome in common. For the carbon storage in seagrass, Enhalus acoroides showed the highest ability to absorb carbon, its about 3,795.67 - 4,100.12 gCm2 and 2,883.10 gCm2 belong to Halodule uninervis. While the lowest in a carbon storage was Halophila minor as well. So, this data can be used for carbondioxide environmental management in the term of seagrass area plantation en
dc.keyword หญ้าทะเล th_TH
dc.keyword คาร์บอนสีน้าเงิน th_TH
dc.keyword ชีวมวล th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account