DSpace Repository

การอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าข้าวพื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดที่ติดกับประเทศกัมพูชา

Show simple item record

dc.contributor.author ประทีป อูปแก้ว
dc.contributor.author วิชุดา จันทร์ข้างแรม
dc.contributor.author รังสรรค์ เจริญสุข
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยนเรศวร. คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
dc.date.accessioned 2020-01-27T02:06:27Z
dc.date.available 2020-01-27T02:06:27Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3744
dc.description.abstract ข้าวพื้นเมืองเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความแปรปรวนทางพันธุกรรมสูง แต่ละสายพันธุ์มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น ทนแล้ง ทนต่อโรคและแมลง เป็นต้น การปลูกข้าวพื้นเมืองพบในพื้นที่ของจังหวัดที่มีติดกับประเทศกัมพูชา แต่ปัจจุบันข้าวพื้นเมืองมีการปลูกน้อยลงและมีการนำข้าวพันธุ์ปรับปรุงมาปลูกแทน ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ไม่ให้สูญหายและเพิ่มมูลค่าทางการตลาด โดยการวิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจำนวน 101 ตัวอย่าง มาจากเกษตรกรในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สุรินทร์ และอานาจเจริญ โดยได้ทำการประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตเบื้องต้นได้ข้าวพื้นเมืองจำนวน 19 ตัวอย่าง การทดลองที่ 1 ได้ประเมินองค์ประกอบผลผลิต ผลผลิต การเข้าทำลายแมลงและโรคศัตรูข้าวใน 5 พื้นที่คือมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี โดยทดสอบข้าวพื้นเมืองจำนวน 19 ตัวอย่างและพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐาน จำนวน 2 พันธุ์คือขาวดอกมะลิ 105 และ กข6 การทดลองที่ 2 ประเมินคุณค่าทางโภชนะในเมล็ดข้าวกล้องจากผลผลิตเมล็ดข้าวของตัวอย่างข้าวพื้นเมืองและพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐานที่ทดสอบในพื้นที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว มาวิเคราะห์ค่าความชื้น เถ้า เยื่อใย ไขมัน และโปรตีน การทดลองที่ 3 ประเมินปริมาณสารประกอบฟีนอล สารแอนตีออกซิแดนซ์ และสารแอนโทไซยานิน ในเมล็ดข้าวกล้องพื้นเมือง ผลการทดลองพบว่าข้าวพื้นเมืองจานวน 19 ตัวอย่างและพันธุ์เปรียบเทียบมาตฐาน 2 พันธุ์มีความแปรปรวนของลักษณะของความสูง จานวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ และผลผลิตต่อไร่ใน 5 พื้นที่ทดสอบ ส่วนการเข้าทำลายของแมลงและโรคศัตรูข้าวในข้าวพื้นเมืองไม่มีผลต่อผลผลิต แมลงศัตรูข้าวพบ 3 ชนิด คือตั๊กแตน หนอนกอ และหนอนห่อใบข้าว ส่วนโรคศัตรูพบ 2 ชนิดคือโรคใบจุดสีน้ำตาลและใบไหม้ ข้าวพื้นเมืองพบความแตกต่างของคุณค่าทางโภชนะของค่าเถ้า เยื่อใย ไขมัน โปรตีน โดยตัวอย่างข้าวที่มีค่าเถ้ามากสุดคือ BUUUB2 ค่าเยื่อใยมากสุดคือ BUUSK47 ค่าไขมันสูงสุดคือ BUUSK48 ค่าโปรตีนสูงสุดคือ BUUSK28 นอกจากนี้ข้าวพื้นเมืองมีความแตกต่างของสารประกอบฟีนอล สารแอนตีออกซิแดนซ์ และสารแอนโทไซยานิน ค่าสารประกอบฟีนอลสูงสุดคือ BUUSK33 และ BUUUB8 ค่าสารแอนตีออกซิแดนซ์สูงสุดคือ BUUSK33 และค่าสารแอนโทไซยานินสูงสุดคือ BUUSK48 และ BUUBR8 จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าตัวอย่างข้าวพื้นเมือง 19 ตัวอย่างของเกษตรกร ในพื้นที่ 6 จังหวัด มีความแปรปรวนของพันธุกรรมทำให้องค์ประกอบผลผลิต ผลผลิต คุณค่าทางโภชนะ และสารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกัน ดังนั้นการอนุรักษ์ข้าวพื้นเมืองต้องมีการเพิ่มมูลค่าด้านการตลาด th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทเงินงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
dc.subject ข้าวพื้นเมือง
dc.subject สารต้านอนุมูลอิสระ
dc.title การอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าข้าวพื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดที่ติดกับประเทศกัมพูชา th_TH
dc.title.alternative The conservation and Increase Value of local Rice in Provinces regions border with Cambodia en
dc.type Research th_TH
dc.author.email Prateep_o@buu.ac.th th_TH
dc.author.email wichudajan@buu.ac.th th_TH
dc.author.email rangsun@nu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Local rice varieties had high genetic variations. Each accession has special properties such as tolerance to drought stress, diseases and insects and etc. The local rice varieties were widely distributed in provinces regions border with Cambodia. Recently, the local rice varieties decreased area planting and replaced by improved varieties. So, the conservation of local rice varieties were saved the genetic lose and increase marketing value. This research was conducted to collect the 101 accessions of local rice varieties were collected from farmers in six provinces: Sakeao, Burirum, Surin, Sisaket, Ubon Ratchathanee and Amnat Charoen. Thus, the basic research project to evaluate the productivity potential was the nineteen local rice accessions. The First experiment were tested the yield component, yield and the infestation of insect and diseases rice in five areas: Burapha Univesity Sakeao campus, Sakeao Province, Surin Province, Sisaket Province and Ubon Ratchathanee Province. Thus, the nineteen local rice accessions and two standard rice varieties: KDML105 and RD6 were tested. The second experiment, the evaluation of nutritive value in brown local rice accessions and standard rice varieties from grain rice at Burapha Univesity Sakeao campus field test. The moisture content, ash, crude fiber, fat and protein were analyzed. The third experiment was evaluation of phenolic content, antioxidant content and anthocyanin in local brown rice accessions. The results showed the genetic variation of plant height, number of tillers per hill, number of panicle per hill and yield per rai in nineteen local rice and two standard varieties in five areas test. Thus, the infestation of insect and disease rice pest in local rice varieties weren’t effect the rice yield. The insect rice pest were found in tree types: grasshopper, stem borer and rice leaffolder. Then, the diseases rice pest were found in two types: brown spot disease and rice blast disease. The local rice varieties were found the variation of nutritive value in ash, crude fiber, fat and protein. Thus, the local rice accession was highest ash in BUUUB2, crude fiber in BUUSK47, fat in BUUSK48 and protein in BUUSK48. Moreover, the local rice accessions were differed in phenolic compound, antioxidant and anthocyanin content. The local rice accession was highest phenolic compound in BUUSK33 and BUUUB8, antioxidant in BUUSK33 and anthocyanin in BUUSK48 และ BUUBR8. These studies was concluded that the eighteen the local rice accessions were varied the yield component, yield, nutritive value and antioxidants. In addition, the future works will be conserved genetic resource by improve the marketing value. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account